A. Lange & Söhne

ความงามของพระจันทร์ พระจันทร์ มักเป็นที่หลงใหลของคนทั่วโลกอย่างไม่อาจต้านทานได้ เช่นกันกับที่พระจันทร์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการอ้างอิงถึงการเดินทางของเวลา และเป็นจุดสนใจในการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์อยู่เสมอ

ในศตวรรษที่ 18 เดรสเดน ไม่เพียงเป็นศูนย์กลางของการประดิษฐ์นาฬิกาอันเที่ยงตรง แต่เมืองแห่งนี้ยังเป็นศูนย์รวมของการสังเกตการณ์บนท้องฟ้า และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพระจันทร์ เพื่อประมวลข้อมูลนำมาสร้างเป็นแผนที่ของพื้นผิวบนดวงจันทร์ ณ ศูนย์วิจัยทางคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ หรือแมธิแมทิคส แอนด์ ฟิสิกส์ ซาลอน (Mathematics and Physics Salon) ที่ตั้งอยู่ในลานพระราชวัง สวิงเกอร์ (Zwinger) แห่งเดรสเดน เหล่านักดาราศาสตร์ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ในการสร้างรายละเอียดบนแผนที่ภูมิศาสตร์ที่สามารถมองเห็นได้ และในวันนี้ ก้าวสำคัญๆ ของการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพระจันทร์ที่เกิดขึ้นใน แซกโซนี (Saxony) ได้นำออกจัดแสดงภายในคอลเลคชั่นประวัติศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ของพิพิธภัณฑ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของคอลเลคชั่นอันทรงเกียรติ

เดรสเดส สเตท อาร์ต คอลเลคชั่น (Dresden State Art Collections) ซึ่งเปิดตัวขึ้นใหม่อีกครั้งเมื่อหลายปีก่อน หลังได้รับการบูรณะซ่อมแซม และได้รับการสนับสนุนร่วมโดย เอ. ลังเงอ แอนด์ โซเนอ (A. Lange & Söhne)

1815 รัตตราพองท์ เพอร์เพทชวล คาเลนดาร์ และเหรียญรูปพระจันทร์ โดย เอดูอาร์ด แลห์ร

นับตั้งแต่นาฬิกาดาราศาสตร์เรือนแรกได้ถูกสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 14 ก็ประกาศการเป็นสิ่งประดิษฐ์ในโลกเครื่องบอกเวลาที่สามารถตามรอยการเดินทางและการโคจรของพระจันทร์ได้อย่างแม่นยำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ความท้าทายทางด้านเทคนิคนี้ยังเกี่ยวข้องกับความสลับซับซ้อน เพื่อให้ได้มาซึ่งค่าเฉลี่ยที่แม่นยำมากขึ้นของเดือนทางจันทรคติที่มี 29 วัน, 12 ชั่วโมง, 44 นาที และ 3 วินาที ด้วยการแสดงข้างขึ้นข้างแรมที่จำเป็นต้องได้รับการปรับตั้งแค่เพียงหนึ่งวันเท่านั้นในทุกๆ 122.6 ปี ทำให้ เอ. ลังเงอ แอนด์ โซเนอ สามารถบรรลุถึงระดับแห่งความแม่นยำอย่างแท้จริงได้สูงสุด

ย้อนกลับไปสู่ตำนานการหวนคืนของแบรนด์ นับตั้งแต่ปี 1994 โรงงานการผลิตแห่งนี้ได้นำเสนอกลไกไม่น้อยกว่า 12 ชุดที่บรรจุด้วยการแสดงข้างขึ้นข้างแรม หนึ่งในนั้น คือ ลังเงอ 1 มูนเฟส (LANGE 1 MOONPHASE) ที่ได้มาจากรากฐานงานออกแบบของ ลังเงอ อันเป็นต้นตำรับ และ 1815 รัตตราพองท์ เพอร์เพทชวล คาเลนดาร์ (1815 RATTRAPANTE PERPETUAL CALENDAR) ซึ่งเปิดตัวเป็นครั้งแรกในปีนี้ ด้วยการเคลือบพื้นผิวของแผ่นดิสก์พระจันทร์ที่ได้สร้างอีกคุณลักษณะอันโดดเด่นให้กับการแสดงข้างขึ้นข้างแรม โดยความสุกสกาวอันแสนพิเศษนี้ได้มาจากเทคนิคการสร้างมิติของภาพผสมผสาน ที่สะท้อนเพียงส่วนที่เป็นสีน้ำเงินในสเปกตรัมแสงที่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้

การมาบรรจบกันระหว่างอุปกรณ์การแสดงเวลา และนิทรรศการแผนที่และพื้นผิวของดวงจันทร์ ในคอลเลคชั่นของ แมธิแมทิคส แอนด์ ฟิสิกส์ ซาลอน จะช่วยตอกย้ำถึงความงดงามของพระจันทร์ในสองหลักการที่สัมพันธ์กัน: นั่นคือ ดาราศาสตร์ และการประดิษฐ์เรือนเวลาอันเที่ยงตรง

1815 รัตตราพองท์ เพอร์เพทชวล คาเลนดาร์ และรูปดวงจันทร์, โดย แอร์นส์ ฟิสเชอร์ (Ernst Fischer), เดรสเดน, 1875
แอร์นส์ ฟิสเชอร์ จากเดรสเดน ใช้เวลาถึง 11 ปีเต็ม เพื่อแกะสลักด้านหน้าของพระจันทร์ตามบรรดาภาพถ่ายและการสังเกตการณ์ของเขาเอง ลูกกลมๆ ของดวงจันทร์นี้มีความน่าทึ่ง อันเนื่องมาจากขนาด และลักษณะการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ ทำให้สามารถแสดงถึงภูมิลักษณะของพื้นที่ราบ, ปากปล่องภูเขาไฟ และภูเขา และเพราะการหมุนของพระจันทร์นั้นสอดคล้องไปกับการหมุนของโลก ทำให้ไม่อาจสร้างแผนที่บนด้าน “มืด” ของพระจันทร์ได้ จนกระทั่งได้มีการสำรวจการโคจรโดยดาวเทียม ลูนิก 3 (Lunik 3) ของสหภาพโซเวียต ในปี 1959 โดยสำหรับ 1815 รัตตราพองท์ เพอร์เพทชวล คาเลนดาร์ รุ่นนี้ มาพร้อมระบบจับเวลาโครโนกราฟสปลิท-เซ็คกันด์ส, การแสดงปฏิทินตลอดชีพ, การแสดงข้างขึ้นข้างแรม และแสดงพลังงานสำรอง นับเป็นผนวกความสลับซับซ้อนของเครื่องบอกเวลาชั้นสูงให้เป็นหนึ่งเดียว ผ่านการจัดวางหน้าปัดเพื่อแสดงเวลาได้อย่างชัดเจน แม้มองเพียงพริบตาเดียว

ลังเงอ 1 มูนเฟส และรูปเหรียญพระจันทร์ โดย เอดูอาร์ด แลห์ร (Eduard Lehr), 
หอสังเกตการณ์ดวงดาว อาร์เคนโฮลด์ (Archenhold Observatory), เทรปโทว, 1900
กล้องหักเหแสงที่ยาวที่สุดในโลก – กับความยาว 35 เมตร – ซึ่งตั้งอยู่ในหอสังเกตการณ์ดวงดาวของเบอร์ลิน-เทรปโทว โดยการก่อตั้งของ ฟรีดริช ซีมอง อาร์เคนโฮลด์ (Friedrich Simon Archenhold) ที่ในวันนี้หอดังกล่าวได้ถูกเรียกตามชื่อของเขา เหรียญพระจันทร์ที่เราเห็นนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากแนวความคิดของเขา โดยขยายมุมอัลติจูดให้ใหญ่ขึ้นเป็นสิบเท่า และลวดลายที่เป็นพลาสติกแสดงภาพภูมิศาสตร์ของดวงจันทร์ เสน่ห์อันน่าหลงใหลในการแสดงวิถีแห่งเวลาของ ลังเงอ 1 มูนเฟส นั้นอยู่ที่ความเที่ยงตรงอันโดดเด่น และการแสดงเสมือนจริงของพระจันทร์ข้างขึ้นและพระจันทร์ข้างแรมได้อย่างงดงาม

1815 รัตตราพองท์ เพอร์เพทชวล คาเลนดาร์ บนแผนที่ดวงจันทร์, วิลเฮล์ม กอตต์เฮล์ฟ ลอห์รมันน์ (Wilhelm Gotthelf Lohrmann), ไลปซิก, 1824 

ขณะทำงานอยู่ในเดรสเดน วิลเฮล์ม กอตต์เฮล์ฟ ลอห์รมันน์ นักดาราศาสตร์ และนักสำรวจวัดพื้นที่ ได้เฝ้าสังเกตการณ์เพื่อประมวลข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพื้นผิวของดวงจันทร์ และในปี 1824 เขาได้ตีพิมพ์ผลการค้นคว้าวิจัยออกมาภายใต้ชื่อ “โทโปกราฟี ออฟ เดอะ มูน” (“Topography of the Moon”) และในปี 1827 เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าผู้ตรวจการณ์แห่ง แมธิแมทิคส แอนด์ ฟิสิกส์ ซาลอน ซึ่งต่อมาได้รับมอบหมายให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการของสถาบันเทคนิค เทคนิคัล อคาเดมี (Technical Academy) ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นมาใหม่ และเป็นหนึ่งในครูคนสำคัญของ เฟอร์ดินานด์ เอ. ลังเงอ (Ferdinand A. Lange) การเปิดตัวเมื่อเร็วๆ นี้ของ 1815 รัตตราพองท์ เพอร์เพทชวล คาเลนดาร์ สะท้อนอัจฉริยภาพของ ลังเงอ ในการหลอมรวมความน่าหลงใหลทางด้านเทคนิคของจักรกลโครโนกราฟสปลิท-เซ็คกันด์ส เข้ากับความเที่ยงตรงของปฏิทินตลอดชีพได้อย่างน่าทึ่ง

เกี่ยวกับ เอ. ลังเงอ แอนด์ โซเนอ
เมื่อช่างนาฬิกาแห่งเดรสเดน เฟอร์ดินานด์ เอ. ลังเงอ (Ferdinand A. Lange) ก่อตั้งโรงงานการผลิตนาฬิกาของเขาขึ้นในปี ค.ศ. 1845 เขาได้วางรากฐานสำคัญให้กับอุตสาหกรรมการประดิษฐ์นาฬิกาอันเที่ยงตรงแม่นยำให้กับ แซกโซนี (Saxony) โดยผลงานนาฬิกาพกอันล้ำค่าของเขายังคงเป็นที่ปรารถนาอย่างสูงในหมู่นักสะสมทั่วโลก แต่เมื่อบริษัทถูกยึดคืนที่ดินในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (World War II) และชื่อของ เอ. ลังเงอ แอนด์ โซเนอ แทบจะถูกลืมเลือนไป ในปี ค.ศ. 1990 วอลเตอร์ ลังเงอ (Walter Lange) เหลนชายของ เฟอร์ดินานด์ เอ. ลังเงอ ก็ใช้ความกล้าหาญในกอบกู้และเปิดตัวแบรนด์ขึ้นมาใหม่อีกครั้ง และ ณ วันนี้ ลังเงอ ประดิษฐ์นาฬิกาข้อมือเฉพาะจากวัสดุล้ำค่า อย่าง ทอง และแพลทินัม เพียงไม่กี่พันเรือนต่อปี ทั้งหมดยังบรรจุด้วยเหล่ากลไกชั้นยอดที่ผ่านการประดิษฐ์ตกแต่งและประกอบขึ้นอย่างประณีตวิจิตรด้วยมือ และแม้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ กว่า 20 ปีที่ผ่านมา เอ. ลังเงอ แอนด์ โซเนอ สามารถพัฒนากลไกที่ผลิตภายในโรงงานของตนเองได้มากกว่า 40 คาลิเบอร์ และครองตำแหน่งระดับสูงสุดท่ามกลางเหล่าแบรนด์เรือนเวลาชั้นสูงของโลก ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของแบรนด์ยังรวมถึงอุปกรณ์เครื่องบอกเวลาเปี่ยมด้วยนวัตกรรม อาทิเช่น ลังเงอ 1 พร้อมการแสดงวันที่ขนาดใหญ่พิเศษเป็นครั้งแรกเท่าที่เคยมีมาในการผลิตนาฬิกาข้อมือแบบซีรี่ยส์ เช่นเดียวกับ ลังเงอ ไซต์แวร์ค (LANGE ZEITWERK) ด้วยการแสดงวันที่จากตัวเลขกระโดดอันแม่นยำและสามารถอ่านค่าเวลาได้อย่างชัดเจนสูงสุด ขณะเดียวกัน ทั้งสองรุ่นนี้ได้กลายเป็นผลงานต้นแบบซึ่งสะท้อนเอกลักษณ์และความร่ำรวยในประเพณีการประดิษฐ์นาฬิกาชั้นสูงของแบรนด์ได้อย่างดียิ่ง

You may also like...