ฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช เป็นศิลปินไทย ที่สร้างชื่อเสียงมาแล้วมากมายในเวทีระดับโลก ผลงานของฤกษ์ฤทธิ์มักเป็นผลงานแนว Conceptual Art และ Installation Art ที่ใช้กระบวนการทางความคิดผสมผสานศิลปะหลากหลายเทคนิค บางครั้งให้คนดูมีส่วนร่วมในงานของเขา “สร้างความหมาย” และ “ตีความ” ศิลปะด้วยตัวเองเป็น Relational Art ที่ไม่ได้เน้นความสำคัญของตัวศิลปิน
เกิดเมื่อปีพ.ศ. 2504 ที่กรุงบัวโนส ไอเรส ประเทศอาร์จินตินา จบการศึกษาปริญาตรีสาขา Experimental Art จาก Ontario Collage of Art เมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา (พ.ศ. 2523 – 2527)
และ The Banff Center School of Fine Arts เมืองแบนฟ์ ประเทศแคนาดา (พ.ศ. 2527) และปริญญาโทสาขา Time Art จาก School of The Art Institute of Chicago America (พ.ศ. 2527 – 2529) และศึกษาในโครงการศึกษาอิสระของ The Whitney Independent Studies Program นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2528 – 2529)
ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้แก่ฤกษ์ฤทธิ์คือการทำอาหาร ในพื้นที่จัดแสดงงานศิลปะ ดังเช่น ผลงาน “ผัดไทย” ปี พ.ศ. 2533 ที่ศิลปินลงมือทำผัดไทยด้วยตัวเองในแกลเลอรี่ที่นิวยอร์ก โดยผู้ชมที่มาร่วมงานนิทรรศการไม่ได้เห็นวัตถุศิลปะใดๆ นอกจากได้ร่วมกินผัดไทย พูดคุย และพบปะสังสรรค์กับศิลปินและแขกคนอื่นๆที่มาร่วมงาน บางส่วนของผลงานแสดงเดี่ยวล่าสุดของฤกษ์ฤทธิ์ ได้แก่ นิทรรศการUntitled 2012 (passport to the middleworld) ที่ Gavin Brown’s enterpriseนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2556 นิทรรศการ Oktophonie ที่ Park Avenue Armory นิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2556 นิทรรศการ Untitled 2001/2012 ที่ Gallery Side 2 โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2555 นิทรรศการ Untitled 2011(police police potato grease) ที่ Bonnierskonsthall สตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน พ.ศ 2554 นิทรรศการ Rirkrit Tiravanija ที่ Pilar Corrias ลอนดอน ประเทศอังกฤษ พ.ศ. 2554 นิทรรศการ (who’s afraid of red, yellow, and green) ที่ 100 ต้นสนแกลเลอรี อีกทั้งยังเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับรางวัล Hugo Boss Prize ของพิพิธภัณฑ์กุกเกนไฮล์ม (Guggenheim Museum) ปีพ.ศ. 2547 โดยแสดงผลงานกลุ่มและเดี่ยวหลายครั้งในแนวทางใหม่ Conceptual Art และ Installation Art ที่ใช้กระบวนการทางความคิดผสมผสานศิลปะหลากหลายเทคนิค บางครั้งให้คนดูมีส่วนร่วมในงานของเขา “สร้างความหมาย” และ “ตีความ” ศิลปะด้วยตัวเอง เป็น Relational Art ที่ไม่ได้เน้นความสำคัญของตัวศิลปิน พยายามจะหลีกเลี่ยงความเป็นจุดสนใจหรือเป็นเป้า สิ่งที่สำคัญที่สุดของ Relational Art คือ ช่วงเวลา หรือ Moment ที่ทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันและกำลังดำเนินไป เขาต้องการที่จะปฏิเสธบางสิ่งที่เกิดขึ้นมา ปฏิเสธสิ่งที่เคยเรียนรู้มาเพื่อที่จะก้าวต่อไปข้างหน้า แสดงสภาวะทางสังคมและบทบาทของศิลปินต่อชุมชน เปลี่ยนบรรยากาศในสถานที่สร้างงานให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของหัวข้อที่เขาต้องการนำเสนอ ทำให้งานของเขามีความสัมพันธ์กับพื้นที่ที่แสดง ฤกษ์ฤทธิ์ทำงานแนวนี้มาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน ได้รับความสนใจและสร้างชื่อเสียงให้เขาเป็นอย่างมาก
เขาเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับรางวัล Hugo Boss Prize ของพิพิธภัณฑ์กุกเกนไฮล์ม (Guggenheim Museum) เมื่อปี 2004 งานศิลปะของเขามักจะเกี่ยวข้องกับ “เวลา” ซึ่งเป็นการทำลายเส้นแบ่งระหว่างชีวิตและศิลปะ โดยเน้นกระบวนการให้คนดูมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่จัดขึ้น
ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้แก่ฤกษ์ฤทธิ์เป็นอย่างมาก คือ การนำเอาลักษณะเฉพาะบางอย่างของไทยไปนำเสนอ เช่น งานแสดง “ผัดไทย” ในปี 2532 ที่เขาลงมือปรุงผัดไทยเองในแกลเลอรี่ศิลปะที่นิวยอร์ก แขกที่มาร่วมงานเปิดนิทรรศการครั้งนั้นไม่ได้เห็นศิลปะวัตถุใดๆ นอกจากได้ร่วมกินผัดไทย พูดคุย และพบปะสังสรรค์กับศิลปินและแขกคนอื่นๆ ที่มาร่วมงาน
ในปี 2535 เขาทำให้แกลเลอรี่ศิลปะกลายเป็นห้องอาหารไทยที่มีอาหารจำพวกแกงกะหรี่แจกฟรี ทุกวัน (ระหว่างที่แสดงงานนิทรรศการ) ต่อมาในปี 2536 ที่งานเวนิส เบียนนาเล่ (Biennale Venice) เขาได้แสดงงาน “Untitles 1271” โดยปรุงก๋วยเตี๋ยวเรือในเรือสเตนเลส หยอกล้อไปกับประวัติศาสตร์อิตาลี จีน และไทย สมัยที่มาร์โคโปโลซึ่งเป็นชาวเวนิสเดินทางไปประเทศจีนในปีค.ศ.1271 และนำเอาเส้นก๋วยเตี๋ยวกลับมาพัฒนาเป็นเส้นมักกะโรนีและสปาเก็ตตี้ในอิตาลี ขณะที่ไทยก็รับเอาวัฒนธรรมการกินก๋วยเตี๋ยวจากจีนมาดัดแปลงให้เป็นรสชาติแบบ ไทยๆ และขายกันในเรือ อันเป็นเรื่องราวที่โยงใยสายสัมพันธ์ระหว่างเมืองไทยและเวนิส ที่ต่างก็มีบ้านเมืองบนสองฝั่งคลองและมีผู้คนที่นิยมสัญจรไปมาด้วยเรือ
ปัจจุบันฤกษ์ฤทธิ์อาศัยอยู่กับครอบครัวที่จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมแมวอีก 5 หมาอีก 2 และยังคงปรุงอาหารอยู่เรื่อยๆ ควบคู่ไปกับการเดินทางไปมาเพื่อจัดแสดงงาน และสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย นิวยอร์กซิตี้ ตลอดจนเป็นอาจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่