ดุจดาว วัฒนปกรณ์ นำเสนอ “สัตว์มนุษย์” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการ “ประเทศเล็กที่สมบูรณ์” ของประทีป สุธาทองไทย (fb event page to see more info about prateep’s exhibition)
ชื่องาน “สัตว์มนุษย์” นั้นดุจดาวได้มาจากนิยายอันโด่งดัง เขียนโดย พ.ต.อ. ลิขิต วัฒนปกรณ์ ซึ่งเป็นคุณปู่ของดุจดาว นิยายเรื่องนี้เคยถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ในชื่อเรื่องเดียวกัน “สัตว์มนุษย์” ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกในพ.ศ. 2519 นิยายเล่มนี้ที่เผยให้เห็นความโหดร้ายสามานย์ ความละโมบโลภมากและสันดานที่แท้จริงของมนุษย์ รวมทั้งยังสื่อภาพของการคลืบคลานของทุนนิยมที่เข้ามาในตัวชนบท ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญทำให้มนุษย์เผยทั้งสันดานดิบหรือในทางตรงกันข้ามกลับกลายเป็นการสร้างเกราะกำบังให้มนุษย์อยู่ในกรอบของความปลอดภัย
การแสดงนี้อยากพาให้ผู้ชมได้พบกับความสัตว์ที่อยู่ในตัวของศิลปินที่เชิญมาในรอบการแสดงของแต่ละวันเพื่อสะท้อนให้ผู้ชมได้เดินทางสำรวจความเป็นสัตว์ที่หลบซ่อนอยู่ในตัวของพวกเขาอย่างเงียบๆ โดยศิลปินรับเชิญจะถูกขอให้ลดอาวุธและกลไกที่คอยจัดเก็บสัตว์เหล่านั้นเอาไว้และอนุญาตให้ความเป็นมนุษย์และสัตว์ในตัวเขาทำงาน
มนุษย์เป็นสัตว์ที่ที่มีความรู้เกี่ยวกับด้านอื่นในตัวเองน้อยที่สุด เพราะมนุษย์เลือกที่จะยับยั้งและกำราบสัญชาติญานดิบและความต้องการในจิตใจ ด้วยเหตุผลต่างๆทางจริยธรรม มนุษยธรรม และสังคม จนบางครั้งหลายทีเราแทบจะไม่รู้จักกับุมมที่เราเก็บเอาไว้เลยก็ว่าได้
ดุจดาวในฐานะศิลปินการแสดงที่เข้าใจในกระบวนการสร้างงานแสดงเวทีแบบที่มีการซ้อม คัดเลือก และเกลางานแสดงให้หมดจดก่อนที่จะแสดงงานให้ผู้ชมได้เห็น ดุจดาวค้นพบว่าสิ่งที่ขาดหายไปในงานการแสดงส่วนใหญ่คือตัวตนที่มีทั้งความจัดวางเพียบพร้อมและความไม่สมบูรณ์แบบปนอยู่รวมๆกัน ซึ่งความไม่สมบูรณ์แบบหรือความไม่ขัดเกลานี้เป็นสิ่งที่ดุจดาวสนใจ และยิ่งเวลาที่มนุษย์เรายอมรับความไม่ขัดเกลาหรือเปราะบางในตัวเราเองแล้วนั่นคือท่าทีที่สวยงามอย่างหนึ่ง นั่นเป็นที่มาที่ของการตัดสินใจทำงานกับศิลปินรับเชิญเพียงแค่สองวันเพื่อทำความเข้าใจในโครงสร้างการแสดงและทำความรู้จักและกัน และในวันแสดงกระบวนการ Improvisation จะเป็นกระบวนการหลักที่จะเกิดขึ้น
เทคนิคการ “ปลดอาวุธ” (disarm) คือสิ่งที่เธอดุจดาวเรียกร้องให้นักแสดงของเธอทำมาอย่างสม่ำเสมอในช่วงหกปีมานี้ และสำหรับงานชิ้นนี้ เทคนิคการสิโรราบต่อสภาวะภายในและปล่อยให้มันกำเนิดตนขึ้นในร่างกายโดยไม่เอาเทคนิคใดมารองรับจะเป็นสิ่งที่ดุจดาวจะท้าทายให้ศิลปินแต่ละคนทดลองกระบวนการนี้ แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากพื้นฐานทางด้านจิตบำบัดที่ดุจดาวมีทำให้พื้นที่และกระบวนการทำงานของงานชิ้นนี้ถูกออกแบบเพื่อความปลอดภัยทางใจสูงสุดของศิลปินผู้รับเชิญ ตลอดทั้งดุจดาวจะใช้ทักษะของการเป็นนักจิตบำบัดในการสนทนาเพื่อประคับประคอง ท้าทาย และปลดเปลื้องในเวลาเดียวกัน
ศิลปินรับเชิญแต่ละคนจะได้รับประสบการณ์นี้เพียงหนึ่งครั้งเนื่องจากแต่ละวันจะมีศิลปินแขนงต่างๆหมุนเวียนกันมาไม่ซ้ำวัน ยกเว้นบางวันของช่วงการแสดงที่ดุจดาวจะเข้าไปนั่งในบทบาทของผู้ถูกท้าทาย ประคับประคอง และปลดเปลื้อง และเชิญให้นักจิตบำบัดมืออาชีพมาใช้เทคนิคการ “ปลดอาวุธ” กับตัวดุจดาวเอง
— การแสดงเป็นภาษาไทยและมี surtitle ภาษาอังกฤษ —
รอบการแสดง 16 รอบ
21 – 24, 28 – 31 มีนาคม และ 18 – 21, 25 – 28 เมษายน 2562 (แสดงทุกวันพฤหัส-อาทิตย์)
เวลาการแสดง 20.00 – 21.15 น.
สถานที่ 100 ต้นสนแกลเลอรี่, BTS ชิดลม ทางออก 4
บัตรราคา 650 บาท
สอบถามเพิ่มเติมโทร 081 207 7723, 098 792 2954
วิธีชำระเงิน
เงินสดและการโอน: ระบุรอบที่ต้องการชม, จำนวนบัตร, ชื่อ, เบอร์ติดต่อกลับ ได้ตามช่องทางต่อไปนี้
1) Post ที่หน้า Event นี้
2) ส่งอีเมลมาที่ manie@100tonsongallery.com
ธนาคารไทยพาณิชย์
เลขที่บัญชี : 408 – 740791 – 8
นางสาว สุธีรา บุตรนาค
พร้อมเพย์ : 081-2077723
ผู้อำนวยการบริหารการผลิต: 100 ต้นสนแกลเลอรี่
กำกับและเขียนบท: ดุจดาว วัฒนปกรณ์
Dramaturg: โอฬาร เกียรติสมผล
กำกับเวที: สุรัตน์ แก้วสีคร้าม
กำกับเทคนิค: ศรายุทธ เพชรสัมฤทธิ์
ออกแบบฉาก: เจษฎา นฤชิต (วันอิสกันดา) และ ดุจดาว วัฒนปกรณ์
ออกแบบแสง: บริษัท ไซท์ โดย มนต์ วัฒนศิริโรจน์
นักแสดง: อรอนงค์ ไทยศรีวงศ์, ดุษฎี ฮันตระกูล, เกรียงไกร ฟูเกษม, ปานรัตน์ กริชชาญชัย, โตมร ศุขปรีชา, ศศพินทุ์ ศิริวาณิชย์, ดุจดาว วัฒนปกรณ์, วีรพร นิติประภา, อุทิศ เหมะมูล, ศุภสวัสดิ์ บุรณะเวช, วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล, ประดิษฐ์ ประสาททอง, ประทีป สุธาทองไทย, หญิง รฐา โพธิ์งาม, ปอนด์ ภริษา ยาคอปเซ่น, ทัศยา เรืองศรี, ปรัชญาพร วรนันท์
ดูแลการผลิต: ณัชศลิษฏา วัลย์ณัฐประภา
100 Soi Tonson, Ploenchit Road, Lumpini, Pathumwan, Bangkok 10330. Thailand
Tel : +662 010 5813
www.100tonsongallery.com
www.facebook.com/100tonsongallery.com
Email : 100 Tonson Gallery <info@100tonsongallery.com>