Category: INTERVIEW

สมบัติ วัฒนไทย

สมบัติ วัฒนไทย The Art of Art Dealer ใครจะอาจหาญปฏิเสธได้ว่า คุณค่าที่แท้จริงของงานศิลปะบรรเจิดอยู่ในจิตใจของผู้สร้างและผู้เสพ ไม่มีค่าใดมาเทียบเปรียบได้ หากต้องยอมรับว่าบางครั้งค่าเหล่านั้นเป็นนามธรรมที่ยกจะจับต้อง การสร้างคุณค่าที่เป็นรูปธรรมให้กับงานศิลป์อันบรรเจิดจึงกลายเป็นภารกิจสำคัญของ Art Dealer ผู้มุ่งหมายจะนำงานศิลป์สู่การยอมรับของสังคม

วรพจน์ พันธุ์พงศ์

เมื่อเอ่ยชื่อของ “วรพจน์ พันธุ์พงศ์” หลายคนคงรู้จักเขาในนามของ “นักสัมภาษณ์มือหนึ่ง” ตามที่ใครบางคนได้เคยนิยามเอาไว้ หากแต่ที่มาของคำชื่นชมนั้นก็มิได้เป็นเพียงแค่คำกล่าวอ้างหรือคำร่ำลือ เพราะความสามารถที่ได้บ่มเพาะ ขัดเกลา และฉายชัดให้เราได้เห็นตลอดในระยะเวลาเกือบยี่สิบปีที่ผ่านมา

ศักดิ์ศิริ มีสมสืบ

“ผู้ขับกล่อมบทกวีแห่งลุ่มแม่น้ำยม” จากความประทับใจในบทอาขยานเมื่อครั้งยังเยาว์ เติบโต ขยับขยายจนกลายเป็นความรักในตัวหนังสือและท่วงทำนองคล้องจอง ที่ซึมซับผ่านหน้ากระดาษแผ่นแล้วแผ่นเล่า และได้ถ่ายทอดความรักนั้นเป็น ‘บทกวี’ รสสัมผัสเฉพาะตน ที่เมื่อกาลเวลาผ่านพ้นไป ประสบการณ์หลายหลากช่วยขับเคี่ยวให้ทั้งตัวตนและผลงานของเขาเป็นที่ประจักษ์แจ่มชัดแก่เหล่านักอ่าน

มนตรี ศรียงค์

กวีรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจำปี พ.ศ. 2550 กวีหมี่เป็ด  มนตรี ศรียงค์ กวีหนุ่มชาวหาดใหญ่ ผู้เริ่มต้นการเขียนบทกวีในช่วงพฤษภาทมิฬ มีฉายานามในแวดวงวรรณกรรมคือ “กวีหมี่เป็ด” เพราะเปิดร้านขายก๋วยเตี๋ยวหมี่เป็ดชื่อ “ร้านหมี่เป็ดศิริวัฒน์” อยู่ริมถนนละม้ายสงเคราะห์ กลางเมืองหาดใหญ่ จ.สงขลา บ้านเกิด เป็นอาชีพหลัก

อนุสรณ์ ติปยานนท์

“การเขียนเป็นสิ่งหนึ่งในโลกที่ผมเชื่อมั่นในคุณค่าของมัน” อนุสรณ์ ติปยานนท์  ชายผู้ตัดสินใจหันหลังให้กับการสอนหนังสือ แล้วมาจับงานด้านการเขียนอย่างจริงจัง อนุสรณ์เป็นนักเขียนและนักแปลที่มีสำนวนภาษาหม่นเหงาทว่าชวนติดตาม งานของเขามักจะพาผู้อ่านล่องลอยไปในเรื่องราวชวนฝันอันนุ่มนวล ชวนเคลิ้มคล้อย และเชื่อแน่ว่าผู้อ่านไม่น้อยที่ได้เปิดหน้าแรกของงานเขียนของเขา จะภาวนาอยู่ลึกๆ ว่าไม่อยากให้เปิดถึงหน้าสุดท้าย

ภานุ ตรัยเวช

“นักเขียนต้องเป็นคนที่“มีอะไร หรือรู้อะไร”มากกว่าคนปรกติ” ภาณุ ตรัยเวช ชื่อจริงสกุลจริงของนักเขียนหนุ่มที่พุ่งแรงที่สุดในเวลานี้ ด้วยวัยเพียง 28 ปี ภาณุเป็นนักเขียนที่มีผลงานเข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ถึง 2 สมัย จากนวนิยายเรื่อง “เด็กกำพร้าแห่งสรวงสวรรค์” ที่เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ ประเภทนิยาย ในปี พ.ศ. 2549 และจากผลงานรวมเรื่องสั้น “วรรณกรรมตกสระ” ที่เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ ประเภทรวมเรื่องสั้น ในปี พ.ศ. 2551 ที่ผ่านมา

สมเถา สุจริตกุล

ศิลปินอัจฉริยะ สมเถา สุจริตกุล  วาทยากร คีตกร นักประพันธ์เพลงคลาสสิค ผู้กำกับภาพยนตร์ และนักเขียนที่มีชื่อเสียงเป็นสากลคนหนึ่งของเมืองไทย ภายใต้นามปากกา S.P.Somtow ที่เขาใช้ในการเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ที่มีกลิ่นอายความเป็นเอเชีย ผลงานของสมเถาทั้งหมดเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ได้รับการแปลในหลายภาษา และได้รับรางวัลเกียรติคุณมากมายในต่างประเทศ

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

กวีศรีรัตนโกสินทร์ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ผู้เป็นต้นแบบให้กับกวีรุ่นหลังมากมาย มีผลงานหลากหลายและต่อเนื่องเสมอมา เนาวรัตน์โดดเด่นด้านกวีนิพนธ์ที่ถึงพร้อมทั้งลีลาและเนื้อหา ทำให้ไม่น่าแปลกใจ ที่ความสามารถทางกวีของเขา จะส่งให้เขาได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประเภทกวีนิพนธ์ในปี พ.ศ. 2523 จากกวีนิพนธ์ “เพียงความเคลื่อนไหว”

วสันต์ สิทธิเขตต์

“บทกวีเหมือนกับการเจียรนัยเพชร สกัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออก ให้เหลือแต่แก่นสาระจริงงาม” วสันต์ สิทธิเขตต์ เป็นชาวนครสวรรค์ เป็นศิลปิน เป็นกวี เป็นนักเคลื่อนไหวทางสังคม เป็นนักต่อสู้เรียกร้องความยุติธรรม เป็นชาวม็อบ เป็นผู้ก่อตั้งพรรคศิลปิน และอะไรต่อมิอะไรอีกมากมายตามแต่ใครจะนิยามตัวตนให้แก่เขา

ประชาคม ลุนาชัย

นักเขียนผู้ล่องเรืออยู่ในมหานทีแห่งชีวิตอันไร้ฟองคลื่น ประชาคม ลุนาชัย ร่วมสองทศวรรษเห็นจะได้ นับตั้งแต่ที่ชื่อของ “ประชาคม ลุนาชัย” เริ่มเป็นที่รู้จักในแวดวงวรรณกรรม จากการเป็นนักเขียนมือรางวัลสู่ผลงานที่ถูกตีพิมพ์ออกมาจนเกินคณานับ ผู้คนมากมายกล่าวถึง “ประชาคม” ในแง่ของพรสวรรค์ที่ไม่มีรากฐานใดจากประภาคารแห่งชีวิตมาเอื้ออำนวย ซึ่งนั่นอาจจะเป็นสิ่งที่หลอมรวมให้เกิดขึ้นมาเป็นตัวตนของเขาคนนี้ นับจากอดีตล่วงเข้าสู่ปัจจุบัน

ซะการีย์ยา อมตยา

ซะการีย์ยา อมตยา กับการเดินทางของกวีผู้ไม่มีฉันทลักษณ์ อะไรที่ทำให้คุณเริ่มต้นเป็นกวี คงต้องเริ่มจากการเขียนระบายความรู้สึกในสมุดจดในห้องเรียน ในช่วงปีหนึ่งตอนที่ไปเรียนต่อปริญญาตรีที่อินเดีย ซึ่งเป็นช่วงที่ผมต้องเรียนภาษา แต่ยังฟังอาจารย์สอนไม่รู้เรื่อง เพราะเรียนเป็นภาษาอาหรับทั้งหมด

จิระนันท์ พิตรปรีชา

นักเขียนรางวัลซีไรต์ พ.ศ. 2532 จากกวีนิพนธ์เรื่อง ใบไม้ที่หายไป จิระนันท์ พิตรปรีชา อะไรที่ทำให้คุณเริ่มเป็นกวี เริ่มเขียนกวีเพราะไม่มีอะไรจะทำ สมัยเด็กๆ เป็นลูกสาวคนเดียว พี่ชายน้องชายก็ไม่ค่อยเล่นด้วย แล้วก็อยู่ในร้านหนังสือ ร้านเป็นห้องแถว 3 ห้อง ซีกหนึ่งเป็นหนังสือเริงรมย์ล้วนๆ เลย พวกนิยายจากสำนักพิมพ์ต่างๆ

อุทิศ เหมะมูล

นักเขียนรางวัลซีไรต์ ประจำปี 2552 อุทิศ เหมะมูล อะไรที่ทำให้คุณเริ่มเป็นนักเขียน และอะไรที่ทำให้คุณยังเป็นนักเขียน สิ่งแรกเลยคงต้องเริ่มต้นจากความอึดอัดคับข้องใจต่อคำถามที่พยายามแสวงหาคำตอบให้กับตัวเองในช่วงชีวิตวัยแรกรุ่น ความรู้สึกที่ว่าตัวเองไม่สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ที่มีต่อครอบครัวและชุมชนที่ตนเองสังกัดอยู่

ฟ้า พูลวรลักษณ์

ผู้บุกเบิก การเขียนบทกวีแคนโต้  ฟ้า พูลวรลักษณ์ เป็นชื่อของชายสัญชาติไทย ผู้เป็นลูกชายคนโตในบรรดาพี่น้องทั้งหมด 7 คนของตระกูลเศรษฐีของประเทศนี้ กระนั้น แทนที่จะเลือกดำเนินชีวิตในฐานะนักธุรกิจ ฟ้ากลับเลือกที่จะเป็นศิลปิน

กิติคุณ คัมภิรานนท์

กวีเลือดใหม่อนาคตไกล กิติคุณ คัมภิรานนท์  ตลอดระยะเวลาอันยาวนานของประวัติศาสตร์วรรณกรรมไทย ‘บทกวี’ ไม่เคยห่างหายหรือเสื่อมมนตร์ขลังลงเลย ทว่าแม้ปัจจุบันบทกวีจะยังคงมีชีวิตอยู่เราก็อาจหา ‘กวี’ ผู้สามารถใส่ความร่วมสมัยลงในฉันทลักษณ์ได้น้อยเต็มที

อภิชาติ เพชรลีลา

อ่านตัวตน ผ่านบทสนทนาแบบสบายๆ อภิชาติ เพชรลีลา เมื่อวันที่ 28 พ.ย. ที่ผ่านมา ผมได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรในงานเสวนากิจกรรมนักเขียนพบผู้อ่าน ในหัวข้อ “สูตรลับของนักเขียน (มีอยู่จริง?)” ในงาน CMU Book Fair ครั้งที่ 15 ที่จัดขึ้น ณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ขจรฤทธิ์ รักษา

ความเป็นนักเขียน…พิสูจน์กันทั้งชีวิต!  ขจรฤทธิ์ รักษา นักเขียนหนุ่มใหญ่ชาวตรัง ผู้คร่ำหวอดอยู่ในแวดวงวรรณกรรมไทยมานาน ทั้งในฐานะนักเขียน และผู้ก่อตั้งนิตยสาร “ไรเตอร์” ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นนิตยสารวรรณกรรมที่ได้รับความนิยมและเสียงชื่นชมมากที่สุดเล่มหนึ่ง ด้วยฝีไม้ลายมือและประสบการณ์ที่สั่งสม จึงไม่แปลกที่เขาจะได้รับการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติจากสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ให้เป็นศิลปินร่วมสมัยดีเด่น รางวัลศิลปาธร สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี 2551

วัชระ สัจจะสารสิน

ตัวตน ปณิธาน การงาน ทัศนะ  วัชระ สัจจะสารสิน เป็นนามปากกาของนักเขียนหนุ่มชาวสงขลา ผู้ได้แรงบันดาลใจในการเป็นนักเขียนจากกนกพงศ์ สงสมพันธุ์ มีผลงานเรื่องสั้นตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2538 นับจนถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 10 กว่าปีที่วัชระเดินมาบนเส้นทางสายวรรณกรรม มีเรื่องสั้นที่เขียนไว้และเผยแพร่ตามหน้านิตยสารและการประกวดรางวัลกว่า 50 เรื่อง จนวาระสมควร จึงรวมเล่มออกมาเป็นรวมเรื่องสั้นเล่มแรกในชีวิต ในชื่อ “เราหลงลืมอะไรบางอย่าง”

เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์

ผู้มาจากความโดดเดี่ยว  เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ กวีและนักเขียนหนุ่มชาวสุพรรณบุรี ผู้ผ่านประสบการณ์ชีวิตมาอย่างเข้มข้นโชกโชน ทั้งการเป็นทหารเกณฑ์ คนงานในโรงงานผลิตรองเท้า ฯ เรวัตร์เริ่มต้นการเป็นนักเขียนเรื่องสั้นเมื่อปี พ.ศ. 2528 พร้อมๆ กับผันตัวเองไปเป็นชาวไร่ ก่อนที่ในปี พ.ศ. 2532 จะหันมาทำงานด้านกวีอย่างจริงจัง

อาจารย์อิทธิพล ตั้งโฉลก

ข้อคิดดีๆ สำหรับคนทำงานศิลปะ จาก อาจารย์อิทธิพล ตั้งโฉลก ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พุทธศักราช 2551 ทุกคนมีความรู้ความเข้าใจในคำว่าสร้างสรรค์อยู่แล้ว แต่เวลาทำงานจริงอาจจะมีความไม่เข้าใจตรงกัน มีความคลาดเคลื่อนอยู่บ้าง ถ้าพูดแบบสั้นๆ ง่ายๆ การทำงานศิลปะ คือการสร้างสรรค์

ปราย พันแสง

“เขาบอกว่าวรรณกรรมไทยขายยาก”  ปราย พันแสง นักเขียนหญิงที่มีผลงานและได้รับการยอมรับในแวดวงวรรณกรรมไทยคนหนึ่ง ปรายเริ่มต้นเขียนงานตั้งแต่อยู่ชั้นมัธยมปลาย ด้วยแรงกระตุ้นจากการได้อ่านผลงานของนักเขียนท่านอื่นๆ จนเกิดแรงบันดาลใจอยากเขียนผลงานของตัวเอง  ปรายคร่ำหวอดในแวดวงหนังสือมายาวนาน ทั้งในฐานะกองบรรณาธิการ นักข่าวหนังสือพิมพ์ บรรณาธิการนิตยสาร นักเขียนบทละครโทรทัศน์ ฯลฯ

โชคชัย บัณฑิต

กวีแนวสร้างสรรค์ก็คือเอ็นจีโอที่ต่อมโรแมนติคโตผิดปกติ  โชคชัย บัณฑิต’ เป็นนามปากกาของโชคชัย บัณฑิตศิละศักดิ์ กวีชาวนครสวรรค์ ที่เริ่มมีผลงานเผยแพร่ตามหน้านิตยสารตั้งแต่ พ.ศ. 2528 ขณะเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กาลเวลาผ่านไป ปัจจุบันโชคชัยมีผลงานรวมเล่มทั้งหมดจำนวน 5 เล่ม

บินหลา สันกาลาคีรี

นักเขียนรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจำปี พ.ศ. 2548  บินหลา สันกาลาคีรี 18 ม.ค. 2550 ผมมีโอกาสไปร่วมงานเสวนาและเปิดตัวหนังสือ “ใบไม้ใบสุดท้าย” ผลงานของบุนเสิน แสงมะนี ที่ได้รับรางวัลซีไรต์ประจำปี 2005 ของประเทศลาว ซึ่งจัดขึ้น ณ ศูนย์การเรียนรู้ วังจันทรเกษม กระทรวงศึกษาธิการ ภายในงาน ผมได้พบกับพี่บินหลา สันกาลาคีรี ที่ให้เกียรติมาเป็นวิทยากรในงาน

ไพวรินทร์ ขาวงาม

ในความไพเราะ สวยงาม ลึกซึ้ง และกินใจ  ไพวรินทร์ ขาวงาม ชื่อจริงสกุลจริงของกวีชาวร้อยเอ็ด ผู้เติบโตและเก็บเกี่ยวอาหารทางจิตวิญญาณจากธรรมชาติชนบท ปรากฏเป็นลีลาอ่อนหวานชวนเคลิ้มฝันและลึกซึ้งตรึงใจในบทกวีที่เขาถ่ายทอดออกมา ไพวรินทร์ผ่านงานมาหลากหลาย ทั้งงานการสอน งานนิตยสาร หรืองานรับจ้าง แต่ทั้งหมดทั้งมวลก็คงไม่เทียบเท่างานที่ไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นงาน คือ การเขียนกวี ที่เขาบอกว่าเปรียบเสมือนรักแท้ของเขา

สกุล บุณยทัต

“นักเขียนคือนักผจญภัยทางจิตวิญญาณ”  สกุล บุณยทัต-นักเขียนและนักวิชาการที่มีความสามารถสร้างผลงานได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งบทละคร เรื่องสั้น กวีนิพนธ์ นวนิยาย นิทาน สารคดี บทภาพยนตร์ บทเพลง บทวิจารณ์ รวมถึงบทความวิชาการด้านต่างๆ สกุลเคยมีผลงานรวมเรื่องสั้นผ่านเข้ารอบสุดท้ายรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจำปี พ.ศ. 2536 คือเรื่อง “ขณะหนึ่ง…ขณะนั้น”

กฤษณา อโศกสิน

นักเขียนหญิง 5 ทศวรรษ กฤษณา อโศกสิน นามปากกาของสุกัญญา ชลศึกษ์ นักเขียนหญิงผู้มีชั่วโมงการทำงานยาวนานเป็นอันดับต้นๆ คนหนึ่งในวงวรรณกรรมบ้านเรา ภายใต้นามปากกานี้ สุกัญญามีผลงานเผยแพร่มากกว่าร้อยเรื่อง เช่น วิหคที่หลงทาง, ข้ามสีทันดร, บุษบกใบไม้, เพลงบินใบงิ้ว, น้ำเซาะทราย ฯลฯ

งามพรรณ เวชชาชีวะ

นักเขียนรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน ประจำปี พ.ศ. 2549 จากนวนิยาย “ ความสุขของกะทิ ”  งามพรรณ เวชชาชีวะ อะไรที่ทำให้คุณเริ่มเป็นนักเขียน และอะไรที่ทำให้คุณยังเป็นนักเขียน ดิฉันฝันอยากเป็นนักเขียนมาตั้งแต่เด็ก แล้วก็คิดเสมอว่าการเป็นนักเขียนน่าจะเป็นงานที่อิสระดี ได้มีโอกาสใช้จินตนาการอย่างที่ตัวเองคิดไว้และก็ยังจะสามารถสร้างงานที่ทำให้คนอื่น เช่น คนอ่าน ได้รับความบันเทิงไปด้วย

ชมัยภร แสงกระจ่าง

นักเขียนที่แท้จริงจะคิดเรื่องเงินเรื่องตลาดไม่ได้เลย เพราะถ้าคิดความต้องการนำเสนอที่แท้จริงมันจะเบี่ยงเบนไป นักเขียนผู้รจนาวรรณกรรมนั้นอยู่คู่สังคมอารยะมายาวนาน ไม่ว่าชนชาติใดย่อมจะมีนักประพันธ์เป็นเกียรติเป็นศรีแก่สังคม/ชุมชนนั้นๆ แม้กาลเวลาผันผ่านแต่ผลงานยังคงคุณค่าจารึกไว้ให้ผู้อ่านได้ซึมซับอรรถประโยชน์จากวรรณศิลป์อยู่มิรู้คลาย โดยไม่จำเป็นต้องประกาศจูงใจว่าตีพิมพ์ครั้งที่เท่าไหร่ หรือมีใครเขียนคำนิยมเชิดชูดังสมัยนิยมในปัจจุบัน ชมัยภร แสงกระจ่าง นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย คนที่ 16

เดือนวาด พิมวนา

นักเขียนรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจำปี พ.ศ. 2546 จากนวนิยาย “ช่างสำราญ” เดือนวาด พิมวนา

ทินกร หุตางกูร

วงล้อแห่งจินตนาการ บนเส้นทางวรรณกรรม ทินกร หุตางกูร ในช่วงเวลาหนึ่งการออกไปเผชิญโลกของนักเขียนเป็นสิ่งจำเป็น การไปเห็นด้วยตาหรือเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ซึ่รรจุอยู่ในเรื่องราวเป็นเหมือนภาระหน้าที่ ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ผลงานของนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่อย่างเออร์เนส เฮมิ่งเวย์,จอร์จ ออร์เวล หรืออ็องเดร มาลโรซ์เป็นส่วนที่ช่วยขับขยายความคิดนี้

นิวัต พุทธประสาท

นักเขียนผู้สถาปนา Thai-writer.com  นิวัต พุทธประสาท เป็นชื่อจริง-นามสกุลจริงของนักเขียนหนุ่มใหญ่ชาวกรุงเทพฯ จบการศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ อันเป็นสถานบ่มเพาะนักเขียนชื่อดังมาหลายต่อหลายคน จึงไม่แปลกที่เขาจะหลงใหลในกลิ่นน้ำหมึก ก่อนตัดสินใจเดินสู่เส้นทางวรรณกรรมอย่างจริงจังเมื่อปี พ.ศ. 2534  และได้รับรางวัลช่อการะเกดยอดนิยมจากผลงานเรื่องสั้น “ภาพสุดท้าย”

ประกาย ปรัชญา

กวี “หนุ่ม” สามทศวรรษ  ประกาย ปรัชญา นามปากกาของกวีภาคตะวันออก ผู้ได้แรงดาลใจในการเขียนบทกวีจากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 จนกลายเป็นต้นแบบให้กับกวีรุ่นหลังได้ยึดถือเป็นแบบอย่าง ตราบวันนั้นจนวันนี้ แม้สังขารทางกายจะอ่อนล้าลงตามวัย แต่ความรักความศรัทธาที่หัวใจของเขามีต่อบทกวี ไม่เคยเสื่อมถอยด้อยลง

ประภัสสร เสวิกุล

นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยคนที่ 14 นักเขียนที่เป็นนักการทูต และนักการทูตที่เป็นนักเขียน  ประภัสสร เสวิกุล-นักเขียนใหญ่ชื่อก้องชาวกรุงเทพฯ คนนี้ได้แรงดาลใจในการเป็นนักเขียนจากการเป็นนักอ่านตัวฉกาจ ในฐานะนักเขียน ประภัสสรมีสำนวนภาษาที่งดงามตามพื้นฐานความเป็นนักกลอน อีกทั้งเนื้อหางานเขียนของเขาก็ลึกซึ้งเข้าถึงคนอ่าน บ้างกระชากใจ และบ้างโอบกอดหัวใจคนอ่านไว้อย่างนุ่มนวลอ่อนโยน

ปราบดา หยุ่น

นักเขียนรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจำปี พ.ศ. 2545 จากรวมเรื่องสั้น “ ความน่าจะเป็น ” ปราบดา หยุ่น อะไรที่ทำให้คุณเริ่มเป็นนักเขียน และอะไรที่ทำให้คุณยังเป็นนักเขียน ความอยากเขียนมีมาตั้งแต่เด็ก ระหว่างเป็นนักเรียนก็มักเขียนเรื่องสั้น คิดพล็อตเรื่องไปเรื่อยๆ ตลอดเวลา แม้จะไม่เคยมั่นใจว่าจะสามารถเป็นนักเขียนอาชีพได้ ก็คิดว่าอย่างน้อยจะพยายามทำงานเขียนเป็นงานอดิเรกไปด้วย ในชีวิตนี้ถ้าได้พิมพ์หนังสือออกมาสักเล่มก็จะดีใจ

ปิยะพร ศักดิ์เกษม

นักเขียนเข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ ประจำปี พ.ศ. 2543 จากนวนิยาย “รากนครา” ปิยะพร ศักดิ์เกษม นักเขียนเข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ ประจำปี พ.ศ. 2543  จากนวนิยาย “รากนครา” ปิยะพร ศักดิ์เกษม เป็นนามปากกาของนักเขียนหญิงที่หลงกลิ่นน้ำหมึกมาแต่วัยเด็ก โดยมีพื้นฐานจากความรักในการอ่านหนังสือ สร้างชื่อครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2533 ด้วยนวนิยาย “ตะวันทอแสง” ที่ลงพิมพ์เป็นตอนๆ ในนิตยสารสกุลไทย

ไพฑูรย์ ธัญญา

นักเขียนรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจำปี พ.ศ. 2530 ไพฑูรย์ ธัญญา-เป็นนามปากกาของธัญญา สังขพันธานนท์ นักเขียนใหญ่ชาวพัทลุง จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา เคยเป็นครูสอนชั้นประถมในโรงเรียนแถวบ้านเกิดที่พัทลุงและสุโขทัย ก่อนมาสอนวิชาวรรณกรรมวิจารณ์ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ไมตรี ลิมปิชาติ

นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย คนที่ 15  ไมตรี ลิมปิชาติ  เป็นคนนครศรีธรรมราชโดยกำเนิด อดีตเคยเป็นถึงนักบาสเกตบอลทีมชาติไทย ก่อนหันมาเอาดีทางด้านขีดๆ เขียนๆ เป็นอาชีพหลัก โดยมีงานอดิเรกเป็นพนักงานการประปานครหลวง เขียนเรื่องสั้นและนวนิยายรวมแล้วหลายร้อยเรื่อง แต่ที่ติดหูติดตานักอ่านบ้านเราคงไม่พ้น “ความรักของคุณฉุย” และ “คนอยู่วัด”

วินทร์ เลียววาริณ

นักเขียนรางวัล (ดับเบิล) ซีไรต์ ปี 2540 และ 2542  วินทร์ เลียววาริณ “ผมคิดว่านักเขียนเป็นนักสังเกตชีวิต มีคุณสมบัติที่เป็นคนสังเกตชีวิต ถ้าไม่สังเกตชีวิตผมก็นึกไม่ออกว่าเขาจะเขียนออกมาได้อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสั้นหรือนวนิยายหัวใจของมันก็คือความขัดแย้งทางจิตใจหรือเรื่องต่างๆ ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้มันจะมองไม่เห็นถ้านักเขียนไม่ได้เป็นคนที่สังเกตว่าเกิดอะไรขึ้นในสังคม หรือว่าความเป็นมนุษย์คืออะไร ”

ศรีดาวเรือง

3 ทศวรรษ แง่งามแห่งวงศ์วรรณกรรม  ศรีดาวเรือง  เป็นเวลากว่า 30 ปีที่ปลายปากกาของ “ศรีดาวเรือง” จรดกระดาษถ่ายทอดความเจ็บร้าวของผู้คนในสังคม ด้วยคมคิดอันลึกซึ้งใช่เพียงเปลือกแห่งทุกข์ยาก แต่มุ่งกะเทาะแก่นแกนอันเป็นเหตุแห่งสำนึกภายใน เชิงชั้นภาษาที่เรียบง่ายแต่งดงาม บอกเล่าเรื่องราวจากใต้ถุนสลัมถึงยอดตึกระฟ้า…ไฮ-คลาสหยิบบางส่วนของชีวิต “ศรีดาวเรือง” ซึ่งเป็นแง่งามแห่งวงศ์วรรณกรรมมานำเสนอ

เดชา วราชุน

สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ได้เล็งเห็นคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรมของศิลปิน ประชาชน และเยาวชนในพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ดำเนินโครงการสานใจรักษ์งานศิลป์ถิ่นแดนใต้ ตามแผนพัฒนาพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2552 เป็นต้นมา โดยในปีนี้  2555 สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ได้เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมของหน่วยงานทางการศึกษา ศิลปิน ครู อาจารย์ด้านศิลปะซึ่งมีส่วนช่วยผลักดันและสนับสนุนให้มีพื้นที่ในการเผยแพร่ผลงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยมาอย่างต่อเนื่อง ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยทักษิณ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา รวมทั้งศิลปินแห่งชาติ ศิลปินร่วมสมัย ศิลปินท้องถิ่น ดำเนินการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์งานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยให้กับหน่วยงานทางการศึกษา ศิลปิน ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษาด้านศิลปะ จะมีส่วนช่วยเป็นสื่อกลางให้เกิดสุนทรียะ ความปรองดอง...