Category: Editor’s Talk – บทบรรณาธิการ

NFT การลงทุนในศิลปะดิจิทัล

Text: วีร์ ศรีวราธนบูลย์               การลงทุนในงานศิลปะนั้นมีมานานตั้งแต่ยุคประวัติศาสตร์ คุณค่าของงานศิลปะนอกเหนือจากความงดงามเป็นที่ชื่นชอบของผู้สะสม คือความเป็นเอกลักษณ์ในการสร้างสรรค์ ที่แต่ละชิ้นมีผลงานต้นฉบับเพียงชิ้นเดียวในโลก ไม่ว่าผลงานนั้นจะถูกลอกเลียนหรือผลิตซ้ำออกไปมากมายเพียงใด ก็ไม่อาจเทียบเท่าคุณค่ากับงานต้นฉบับที่เป็นของจริงได้ ทำให้คุณค่าและมูลค่าของงานต้นฉบับถีบตัวสูงขึ้นไปเรื่อยๆจากความต้องการซื้อของผู้ที่ปรารถนาจะครอบครอง ซึ่งบางคนอาจจะแย้งว่า เป็นมูลค่าที่เกิดจากการสมมุติขึ้น เพราะศิลปะเป็นของที่นำมาใช้ประโยชน์อะไรจริงๆไม่ได้เลย อีกทั้งยังไม่มีราคากลางหรือสิ่งที่ใช้ประกันมูลค่า แต่คำกล่าวแย้งนั้นก็ดูเหมือนจะไม่มีความหมาย เพราะไม่ว่าจะนานแค่ไหน ความต้องการในงานศิลปะก็ไม่เคยหมดไป จนกระทั่งมาถึงวันนี้ที่ผู้คนสามารถซื้อขายงานศิลปะกันได้ในโลกดิจิทัล มีการนำเสนองานศิลปะในรูปแบบ NFT ที่ทำให้โลกของการสะสมงานศิลปะยิ่งเปิดกว้างและหลากหลายยิ่งขึ้น เป็นอีกหนึ่งช่องทางการลงทุนที่คนรุ่นใหม่ให้ความสนใจมาก NFT คืออะไร? NFT ย่อมาจาก Non-Fungible Token คือ Cryptocurrency หรือเงินดิจิทัล (เหรียญคริปโต) ประเภทหนึ่ง ซึ่งมีความพิเศษตรงที่เหรียญเหล่านี้มีหนึ่งเดียว และไม่สามารถนำอย่างอื่นมาทดแทนกันได้ ต่อให้ก็อปปี้ไปหลายๆ ชิ้น แต่ต้นฉบับก็มีเพียงหนึ่งเดียว เช่น ภาพถ่าย...

Where is “Thai Contemporary Art” in The World ?

‘ศิลปะร่วมสมัย’ สินค้าส่งออก ผลผลิตทางวัฒนธรรม ที่หน่วยงานภาครัฐไม่เคยให้ความจริงใจในการสนับสนุน   สภาวะการเมืองไทยในตลอดหลายปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้ยอดนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ ยอดการส่งออกสินค้าด้านศิลปะและยอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ด้านการออกแบบแทบทุกรายการลดลงอย่างรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงาน นักออกแบบ ตัวแทนผู้ค้างานศิลปะ แกลเลอรี ผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการด้านการออกแบบทุกสาขา เนื่องจากผู้บริโภคสินค้ากลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ เมื่อสถานการณ์ทางการเมืองทำให้นักท่องเที่ยวลดลง ยอดขายก็ลดลงตามไปด้วย แกลเลอรีหลายแห่งที่เคยมีลูกค้าต่างชาติอุดหนุนเป็นล่ำเป็นสัน ปัจจุบันก็เงียบเหงา ประสบภาวะขาดทุน หลายแห่งถึงขั้นใกล้ปิดกิจการ ศิลปินและนักออกแบบที่เคยขายงานได้ ปัจจุบันก็มียอดขายลดลงจนแทบเลี้ยงตัวเองไม่ได้ ทั้งที่ความจริงแล้ว ในช่วงปี 2554 – 2558 น่าจะเป็นช่วงเวลาทองของการเตรียมพร้อมสำหรับศิลปิน นักออกแบบ และผู้ประกอบการ ที่จะเข้าสู่อาเซียน โดยเฉพาะในส่วนของศิลปินและนักออกแบบไทย ที่มีความรู้ความสามารถไม่แพ้ชาติใดในโลก แต่ยังติดปัญหาและอุปสรรคในด้านการสื่อสาร...

Art of politics

ท่ามกลางสภาวะที่บ้านเมืองกำลังอยู่ภายใต้ความแตกแยกทางการเมือง หลายคนคงเคยถูกกดดันด้วยแนวคิดที่ว่า Enemy of my enemy is my friend ซึ่งแปลง่ายๆว่า เราอาจผูกมิตรเป็นเพื่อนกันชั่วคราวก็ได้ ถ้าศัตรูของเราเป็นคนเดียวกัน

NO POLITICS

โดยปกติแล้วดิฉันสามารถคุยกับคนได้ทุกเรื่อง แต่เรื่องที่ดิฉันไม่นิยมคือการพูดคุยเรื่องการเมือง หลายปีที่ทำอาชีพสื่อ ได้สัมผัสนักการเมืองมาทุกพรรค สัมภาษณ์ผู้บริหารทุกเหล่าทัพ ผู้นำทางศาสนา และผู้มีอำนาจทั้งหลาย ทำให้ดิฉันได้คำตอบว่า เราไม่ควรฝากอนาคตและความหวังของเราไว้กับใครหรือสิ่งอื่นใดเลย ประชาชนไทยทุกหมู่เหล่าต้องพึ่งพาตนเองเท่านั้น องค์กรภาคประชาชนจะต้องเร่งสร้างความเข้มแข็ง และเร่งเติบโตให้ทันก่อนที่ประเทศนี้จะล่มสลาย

เรามาโดยลำพังและจากไปอย่างโดดเดี่ยว

หากย้อนไปในช่วงชีวิตวัยเยาว์ การเดินทางส่วนใหญ่ของดิฉันมักเป็นการเดินทางโดยลำพัง แม้ในหลายครั้งจะพบเรื่องหวาดเสียวจากการไปไหนมาไหนคนเดียวอยู่เสมอแทบทุกแห่งหน ต้องพบเจอสถานการณ์อันคาดไม่ถึง สัมผัสผู้คนหลายหลาย ที่บ้างก็มีพฤติกรรมแปลกประหลาด มีตรรกะแตกต่างจนยากจะเข้าใจ แต่การเดินทางคนเดียวนั้น ก็ทำให้ดิฉันบริหารอิสรภาพของตัวเองได้เต็มประสิทธิภาพอย่างยิ่ง ณ ช่วงเวลาหนึ่ง

คนสร้างสื่อ…สื่อสร้างสังคม

เป็นเรื่องจริงที่ต้องยอมรับว่า การที่ใครสักคนจะลุกขึ้นมาผลิตสื่อ หรือเป็นเจ้าของสื่อ ในยุคนี้ดูเหมือนจะไม่ยากเย็น ใช่แล้วค่ะ เรากำลังพูดถึงยุคสมัยที่ใครๆ ก็อาจมีทีวีออนไลน์ วิทยุออนไลน์ หรือนิตยสารออนไลน์ เป็นของตัวเองได้ในชั่วข้ามคืน   แต่หากลองคิดถึงปริมาณของภาพยนตร์ บทเพลง หรือภาพวาดจำนวนมหาศาลที่ถูกสร้างขึ้นมาในโลกนี้ ซึ่งแน่นอนว่า ใครๆ ก็สามารถมีกล้องถ่ายหนังได้ สามารถบันทึกเพลงได้ วาดรูปได้ เขียนหนังสือได้ ก็ใช่ว่า ทุกคนจะเป็นศิลปินกันได้หมด