โขนกลางแปลง
คือ การแสดงโขน บนพื้นดินกลางสนามหญ้า ไม่ต้องปลูกโรงให้เล่น ปัจจุบันหาดูได้ยาก กรมศิลปากร เคยจัดแสดง โขนกลางแปลง ณ พระราชอุทยาน รัชกาลที่ ๒ จังหวัดสมุทรสงคราม ในโอกาสพิเศษ วันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
คือ การแสดงโขน บนพื้นดินกลางสนามหญ้า ไม่ต้องปลูกโรงให้เล่น ปัจจุบันหาดูได้ยาก กรมศิลปากร เคยจัดแสดง โขนกลางแปลง ณ พระราชอุทยาน รัชกาลที่ ๒ จังหวัดสมุทรสงคราม ในโอกาสพิเศษ วันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
เรื่องราวการต่อสู้ของยักษ์วัดแจ้งและยักษ์วัดโพธิ์ ซึ่งเป็นเหตุให้บริเวณที่สู้รบกันเกิดเพลิงไหม้วอดวายราบเลี่ยนเตียนโล่ง อันเป็นสาเหตุให้ย่านนั้นมีนามว่า “ท่าเตียน” โดยเล่าเรื่องผ่านคำบอกเล่าของ “ผีบ้า” ที่อาศัยอยู่บริเวณตลาดหลังวัดโพธิ์ ในแผ่นดินรัชการที่สี่
ละครเวทีเบาสมองนำเสนอเส้นทางชีวิตของชาวเพศที่สามที่ต้องทนทุกข์อยู่กับความผิดหวังซ้ำแล้วซ้ำเล่า ในที่สุดพวกเขา-เธอก็ค้นพบว่าการฆ่าตัวตายมิใช่ทางแก้ปัญหา หากเป็นวังวนแห่งความทุกข์ที่ไม่มีวันจบสิ้น
ติดตามเจ้าชายปิ๊บปิ้น รัชทายาทของกษัตริย์ชาลเลอเมน แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเพิ่งสำเร็จการศึกษาสรรพวิทยาการมามาดๆ และมีความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะค้นพบความพิเศษเหนือใครของตนเอง เขาออกเดินทางค้นหาความพิเศษอันนั้นด้วยหวังว่ามันจะมาเติมเต็มให้ชีวิตของเขาสมบูรณ์ขึ้น
ถ้าคุณเคยเบื่อหน่ายกับการไปโรงเรียน คุณก็คงเข้าใจดีว่า “ อาซาโกะ ” กำลังคิดอะไรอยู่ เมื่อสาวน้อยไฮสคูลอย่างเธอ ตัดสินใจขาดเรียนนานกว่า 4 สัปดาห์ โดยได้รับการช่วยเหลือ จากเพื่อนสนิท ชื่อ “ โคอิจิ ” ซึ่งเป็นกิ๊กหนุ่มของครูประจำชั้น ให้ช่วยทำให้เธอขาดเรียนได้โดยไม่ต้องเสียคะแนน และปกปิดเรื่องนี้เป็นความลับจากแม่ที่ทั้งดุ จู้จี้ และไม่เคยคิดถึงจิตใจคนอื่นของเธอ
ละครที่เสียดสีสังคมบริโภคทุกยุคสมัยได้อย่างสะใจ โดย กรกช อัตตวิริยะนุภาพ ในสภาพสังคมที่ผู้บริโภคตกเป็นเหยื่อของระบบทุนนิยม ระบบแข่งขันกันทางธุรกิจ ที่ทำให้ราคาสินค้าต่างๆ ถีบตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ คงมีคนจำนวนไม่น้อยที่บ่นว่า “ เราจ่ายไม่ไหวแล้ว ” และถ้าเกิดว่าความรู้สึกอึดอัดขัดสนนี้สั่งสมเพิ่มขึ้นมากเรื่อยๆ จนผู้คนเหล่านี้ประกาศออกมาว่า “ เราไม่จ่ายหรอก เราไม่จ่าย ” แล้วอะไรจะเกิดขึ้นได้บ้าง
คำกล่าวหาจากศาลาทวงศพ โดย เจตนา นาควัชระ การแสดงละครเรื่อง นายซวยตลอดศก โดย “ กลุ่มมะขามป้อม ” ณ ลานไทรริมน้ำ สวนสันติชัยปราการ บางลำพู เป็นส่วนหนึ่งของมหกรรมละครเวทีที่นักแสดงร่วม 40 กลุ่มร่วมใจกันจัดขึ้นเป็นครั้งแรก และผมได้ไปชมเมื่อคืนวันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2545
“ ราชินีแห่งสีสัน ” กับการตีความใหม่ เมื่อตัวละครที่เป็น “ หุ่น ” เป็นผู้เดียวที่มีสิทธิ์สั่งการ โดย กรกช อัตตวิริยะนุภาพ เมื่อผู้เขียนได้เห็นรายการว่าจะมีการแสดงละครเรื่อง “ ราชินีแห่งสีสัน ” ที่กรุงเบิร์นในงานเทศกาลละครหุ่นและวัสดุครั้งที่ 5 (Figuren- und Objekttheatertage) เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม – 10 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา
ว่าด้วยพันธนาการของสัจนิยม โดยเจตนา นาควัชระ สิบกว่าปีมาแล้วที่ผมเขียนบทวิจารณ์ละครเวทีโดยใช้ชื่อว่า ” พันธนาการของสัจนิยม ” ( รวมเล่มไว้ใน ครุ่นคิดพินิจนึก หน้า 183-189) ผมเองก็ไม่ได้คิดว่าประเด็นดังกล่าวจะกลายมาเป็นปัญหาหลักของวงการละครของไทยไปได้ แต่ปรากฏการณ์ล่าสุดที่ทำให้ผมต้องหวนกลับมาพิจารณาและอภิปรายประเด็นดังกล่าวนี้ซ้ำอีก
โดยสมภพ จันทรประภา เมื่อได้ยินว่ากรมศิลปากรเล่นละคอนในเรื่องอิเหนาก็ดีใจ เพราะอยากจะดูอีกสักหนว่า ละคอนในนั้นเป็นอย่างไร ครั้งสุดท้ายที่ได้ดูมันนานเต็มทีถึง 37 ปี จำอะไรไม่ได้เลยนอกจากว่า อิเหนาแต่งตัวช้าเหลือเกินกว่าจะอาบน้ำผลัดผ้าเสร็จก็ง่วงแทบตาย
จิตวิทยาสังคม จากการแสดงละครใน ตอนศึกกะหมังกุหนิง โดยม.ล. บุญเหลือ เทพยสุวรรณ เนื่องในการฉลองการครบสองศตวรรษแห่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งเรามักเรียกกันเพื่อความสะดวกว่า รัชกาลที่ 2 กรมศิลปากรหรืออีกนัยหนึ่งโรงเรียนนาฏศิลป์ ได้แสดงละคร โดยใช้พระราชนิพนธ์บทละครเรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง
โดยเจตนา นาควัชระ ผู้เขียนได้เคยกล่าวถึงวรรณกรรมการละครเรื่อง ข้อยกเว้นและกฎเกณฑ์1 ของแบร์ทอลท์ เบรคชท์ (Bertolt Brecht) ไว้โดยย่อในหนังสือ ทฤษฎีเบื้องต้นแห่งวรรณคดี ว่าเป็นบทละครที่เป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องของการสร้างและทำลายความเป็น “มายา” ของงานศิลปะ
ข้อคิดเห็นเบื้องต้นเกี่ยวกับการแสดงละครเรื่อง “กาลิเลโอ” ของแบร์ทอลท์ เบรคชท์ โดยเจตนา นาควัชร
การจัดแสดงละครกรีกโบราณเรื่อง อีดิปุสจอมราชันย์ ของ ซอเฟอคลีส* จัดได้ว่าเป็นก้าวสำคัญของวงการละครพูดตะวันตกในประเทศไทย ผู้จัดแสดง คือ ภาควิชาศิลปะการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พิสูจน์ให้เห็นประจักษ์แล้วว่า ศิลปะที่ยิ่งใหญ่ย่อมไม่ผูกติดอยู่กับกาลเวลาและสถานที่
การลงทุนในศิลปะเป็นการลงทุนทางเลือก (Alternative Investment) ประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นที่นิยมของผู้มีความมั่งคั่งสูง การลงทุนในศิลปะแตกต่างจากการลงทุนในหลักทรัพย์และสินทรัพย์อื่น เพราะเป็นการลงทุนที่ใช้ “ศิลป์” มากกว่า “ศาสตร์” เนื่องจากมีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง จึงมีประเด็นและแง่มุมที่ต้องพิจารณาแตกต่างไปจากการลงทุนอื่นๆ
ไม่ว่าจะเป็นวงอินดี้สุดล้ำของอังกฤษ หรือเพลงเค-ป็อปที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ทุกวันนี้ ต่างก็เป็นหนี้ความล้ำสมัยก่อนกาลของดนตรีซินธ์ป็อปที่เคยรุ่งเรืองเมื่อยุค 80 ทั้งสิ้น จนเป็นที่มาของการหวนคืนวงการอีกครั้งของต้นตำรับดนตรีเต้นรำที่ไม่หวานเลียนแต่เน้นความแปลกใหม่เหล่านี้
วงปี่พาทย์ วงปี่พาทย์เป็นวงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องตี เป็นหลักโดยมีเครื่องเป่าคือขลุ่ยหรือปี่ร่วมอยู่ด้วย ใช้สำหรับเป็นเครื่องประโคมในพิธีกรรมต่าง ๆ รวมทั้งการแสดงโขน – ละคร ฟ้อนรำ และมีการผสมวงตามโอกาสที่ใช้ทำให้จำนวนของเครื่องดนตรีมีน้อยมากแตกต่างกันไป ดังนี้
วิถีคนกล้า : การแสดงเชลโลกับเปียโนที่ซอยเกอเธ่ โดย เจตนา นาควัชระ ในบรรดารายการแสดงเชลโลกับเปียโนที่ได้เคยรับฟังมาในประเทศไทย ยังไม่เคยมี นักดนตรีผู้ใดที่กล้าจัดรายการที่ท้าทายเช่น Duo Recital โดย I-Bei Lin ( เชลโล ) และนภนันทน์ จันทอรทัยกุล ( เปียโน ) ที่มูลนิธิวัฒนธรรมไทย – เยอรมัน ซอยเกอเธ่ เมื่อคืนวันที่ 5 สิงหาคม 2545
ตลอดระยะเวลา 4 ทศวรรษบนถนนสายดนตรี ชิค คอเรีย ไม่ได้เป็นเพียงนักเปียโนที่มีทักษะอันเจนจัดชนิดหาตัวจับยากเท่านั้น หากในอีกด้านหนึ่ง เขามีบทบาทด้านการประพันธ์ดนตรีที่หลากหลาย ตั้งแต่งานเพลงแจ๊ส ( Jazz Tunes ) ในแบบฉบับบีบ็อพ จนถึง อวอง-การ์ด และตั้งแต่งานเพลงเด็กบริสุทธิ์สดใส ไปถึงโทนโพเอม ( Tone Poem ) อันวิจิตรอลังการ
Jaco Pastorius Big Band ย้อนรอยอัจฉริยภาพ “แจโค” เรื่องราวของ แจโค แพสโทริอัส (Jaco Pastorius 1951-1987) นับเป็นโศกนาฏกรรมอันน่าเศร้าของวงการดนตรีแจ๊สอย่างไม่ต้องสงสัย จาก “อัจฉริยะ” ผู้เปี่ยมพลังสร้างสรรค์ดนตรี ซึ่งพลิกโฉมหน้าการเล่นกีตาร์เบสด้วยนวัตกรรมใหม่ ได้กลายมาเป็น ” เทพในร่างซาตาน” ผู้มีอาการจิตเสื่อมชนิดรุนแรง กระทั่งต้องจบชีวิตของตนลงอย่างไร้ค่าในที่สุด
รำลึกถึง ลู รอว์ลส์ หลังจากป่วยเป็นเวลาแรมปี ในที่สุด ลู รอว์ลส์ ได้จากโลกไปเมื่อวันที่ 6 มกราคม ที่ผ่านมา ด้วยโรคมะเร็งในปอด ซึ่งลุกลามขึ้นสู่สมอง
“โมสาร์ท เอฟเฟคท์” (Mozart Effect) หรือผลกระทบในทางสร้างสรรค์จากดนตรีคลาสสิก โดยเฉพาะจากบทประพันธ์ของ วอล์ฟกาง อมาดิอุส โมสาร์ท ( Wolfgang Amadeus Mozart) ในด้านการเสริมสร้างพัฒนาการทางสติปัญญาและอารมณ์ กำลังเป็นกระแสความสนใจของผู้คนบ้านเราในเวลานี้
ปารีส ปารีส เวลาที่เอ่ยชื่อปารีส ฮิลตั้นขึ้นมา คุณจะนึกถึงอะไรบ้างคะ? เทปลับภาคหนึ่งและภาคสองของเธอ? คุณพ่อที่ร่ำรวยมาก? ไฮโซในบ้านนอก-รายการเรียลลิตี้โชว์ของเธอ? หรือโฆษณาแฮมเบอร์เกอร์ที่เธอแสดงเป็นเด็กล้างรถ
กำเนิดภาพยนตร์ กำเนิดภาพยนตร์ในโลก โทมัส อัลวา เอดิสัน (Tomas Alva Edison) นักประดิษฐ์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งสหรัฐอเมริกา ได้ชื่อว่าเป็นผู้คิดประดิษฐ์ภาพยนตร์สำเร็จเป็นรายแรกเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๒ ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๕ แต่ภาพยนตร์ของเอดิสันมีเครื่องดูเป็นตู้แบบที่เรียกว่าถ้ำมองให้ผู้ชมดูได้ทีละคน เขาเรียกเครื่องดูภาพยนตร์ของเขาว่า “คิเนโตสโคป” (KINETOSCOPE)
กำเนิดการสร้างภาพยนตร์ในสยาม การถ่ายทำภาพยนตร์ในสยามเริ่มขึ้นโดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวลยวงศ์ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ พระเจ้าน้องยาเธอในรัชการที่ ๕ ซึ่งทรงสั่งซื้อกล้องถ่ายภาพยนตร์และอุปกรณ์เข้ามาสยาม เมื่อครั้งที่พระองค์ทรงตามเสด็จฯ พระพุทธเจ้าหลวง ประพาสยุโรปครั้งแรกเมื่อปี ๒๔๔๐
คนไทยเริ่มสร้างภาพยนตร์ไทย เมื่อ “นางสาวสุวรรณ” ออกฉายสู่สาธารณชนในฐานะภาพยนตร์ไทยเรื่องแรก เมื่อปี ๒๔๖๖ แล้ว นับจากนั้นมาได้มีเสียงเรียกร้องต้องการจากผู้ชมภาพยนตร์ ปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์อยู่เนืองๆ ว่า อยากให้มีผู้คิดสร้างภาพยนตร์ไทยขึ้นอีก ล่วงมาจนกระทั่งปลายปี ๒๔๖๙ ต้นรัชกาลที่ ๗ จึงมีคนไทยประกาศจัดสร้างภาพยนตร์ขึ้นเป็นรายแรก
ยุคภาพยนตร์ไทยเงียบของสยาม ปี๒๔๗๐ ซึ่งคนไทยเราเริ่มต้นสร้างภาพยนตร์เรื่องบันเทิงด้วยตนเองนั้น ในทางสากลนับเป็นปีที่วงการภาพยนตร์ของโลก กำลังเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคภาพยนตร์เสียง หรือที่เวลานั้นเรียกกันว่า ภาพยนตร์พูดได้ (talkies) พอดี
ยุคทองของภาพยนตร์ไทย กำเนิดภาพยนตร์ไทยพูดได้ ในระยะปลายปี ๒๔๗๒ ต่อ ๒๔๗๓ ได้มีคณะฝรั่งนักถ่ายภาพยนตร์เสียงในฟิล์มจากบริษัท ฟ้อกซ์มูวี่โทน แห่งสหรัฐอเมริกา เดินทางเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์สารคดีเสียงในฟิล์มเป็นครั้งแรกในสยาม คณะถ่ายภาพยนตร์นี้ดีรับความอนุเคราะห์จาก พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร เสนาบดีกระทรวงพานิชย์และคมนาคมขณะนั้นให้เข้าเฝ้าฯ เพื่อบันทึกภาพยนตร์เสียง พระองค์ทรงกล่าวแนะนำประเทศสยามเป็นภาษาอังกฤษไว้ในภาพยนตร์นี้ด้วย
ยุคภาพยนตร์เสียงศรีกรุง ปี ๒๔๗๗ พี่น้องวสุวัตได้เริ่มลงมือก่อสร้างโรงถ่ายภาพยนตร์เสียงอย่างถาวรและทันสมัยใหญ่โตขึ้นที่บริเวณทุ่งนา ชานพระนคร (บริเวณปากซอยอโศก ถนนสุขุมวิท ปัจจุบัน) ซึ่งเวลานั้นเรียกว่า ทุ่งบางกะปิ และในระหว่างนี้ คณะพี่น้องวสุวัตได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลประชาธิปไตยขณะนั้นให้จัดสร้างภาพยนตร์เสียงเรื่อง “เลือดทหารไทย”
บริษัทไทยฟิล์มและผู้สร้างอื่นๆ บริษัทไทยฟิล์มและผู้สร้างอื่นๆ ในปี ๒๔๘๐ ในขณะที่บริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุงกำลังเฟื่องฟูอยู่นั้น ได้มีคณะคนไทยอีกกลุ่มหนึ่งจัดตั้งบริษัทสร้างภาพยนตร์และก่อสร้างโรงถ่ายภาพยนตร์เสียงที่ได้มาตรฐานสมบูรณ์แบบขึ้นอีกแห่งหนึ่ง อยู่ที่ทุ่งมหาเมฆ ชานพระนครเช่นกัน
กำเนิดภาพยนตร์ไทยพากย์ แต่เดิมมาการฉายภาพยนตร์ในสยามไม่มีการพากย์ใดๆในสมัยภาพยนตร์เงียบ ทางโรงภาพยนตร์จะจัดพิมพ์ใบปลิวซึ่งแจ้งโปรแกรมฉายภาพยนตร์และเล่าเรื่องย่อเป็นภาษาไทยและจีน ต่อมามีการตีพิมพ์เรื่องย่อภาพยนตร์ตามหน้าหนังสือพิมพ์กระทั่งตีพิมพ์เป็นหนังสือเล่มเล็กๆ ออกจำหน่ายด้วย ในปี ๒๔๗๑
ภาพยนตร์ไทยยุคหลังสงครามระยะฟื้นตัว เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ ยุติลงในปี ๒๔๘๘ ประเทศไทยรอดพ้นจากการเป็นประเทศแพ้สงคราม เพราะขบวนการเสรีไทยและความสนับสนุนของสหรัฐอเมริกา กิจการต่างๆของประเทศจึงค่อยๆ ฟื้นตัว
การฟิ้นตัวของภาพยนตร์ไทยเสียงในฟิล์ม ปี ๒๔๙๖ รัตน์ เปสตันยี ได้จัดตั้งบริษัทหนุมานภาพยนตร์และสร้างโรงถ่ายภาพยนตร์เสียงมาตรฐานสากลที่ถนนวิทยุย่านเพลินจิต บริษัทได้สร้างภาพยนตร์ไทยระบบ ๓๕ มิลลิเมตร เสียงในฟิล์ม สีธรรมชาติ เรื่อง “สันติ-วีณา” ออกฉายครั้งแรกในปี ๒๔๙๗
ภาพยนตร์ไทย ยุค มิตร-เพชรา เมื่อโครงการจัดตั้งองค์การผลิตภาพยนตร์แห่งชาติล้มไปการพัฒนาภาพยนตร์ไทยก็เป็นไปเองตามยถากรรมอีก ประเทศไทยสมัยที่ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นยุคสมัยแห่งการเร่งรัดพัฒนาประเทศโดยได้รับความช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆจากสหรัฐอเมริกาอย่างเต็มที่
การส่งเสริมภาพยนตร์ไทยมาตรฐาน ปี ๒๕๐๕ รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัตส่งเสริมการลงทุนเพื่อกิจการอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นผลจากนโยบายเร่งรัดพัฒนาประเทศ และต่อมาในปี ๒๕๐๗ รัฐบาลก็ประกาศยอมรับให้กิจการสร้างภาพยนตร์เป็นอุตสาหกรรมอย่างหนึ่ง แต่ยังไม่ให้สิทธิที่จะได้รับการส่งเสริมเพราะเห็นว่าการสร้างภาพยนตร์ไทยยังไม่ได้มาตรฐานสากล
การเปลี่ยนแปลง ปี ๒๕๑๓ นับเป็นปีสำคัญแห่งการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวงการภาพยนตร์ไทย ในบรรดาภาพยนตร์ไทยมาตรฐานที่ออกฉายในปีนี้ มีอยู่สองเรื่องซึ่งมีบทบาทสำคัญยิ่งสามารถกำหนดทิศทางความเป็นไปของวงการ นั่นคือ “มนต์รักลูกทุ่ง” ของรุ่งสุริยาภาพยนตร์ และ “โทน” ของสุวรรณฟิล์ม
ในที่สุดกิจการสร้างภาพยนตร์ไทย ซึ่งกำเนิดขึ้นแล้วพัฒนาแตกออกไปเป็นสองสาย คือ ภาพยนตร์ไทยพากย์ และภาพยนตร์ไทยเสียงในฟิล์ม ตั้งแต่สมัยก่อนสงคราม แล้วคลี่คลายเป็นภาพยนตร์ไทย ๑๖ มิลลิเมตร พากย์ กับภาพยนตร์ไทยมาตรฐาน ๓๕ มิลลิเมตร เสียงในฟิล์ม เมื่อหลังสงครามแล้ว
เหตุเฟื่องฟูและตกต่ำ ปี ๒๔๒๐ รัฐบาลสมัยนายกรัฐมนตรี นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ดำเนินการสนับสนุนกิจการสร้างภาพยนตร์ไทยด้วยมาตรการขึ้นอัตราภาษีศุลกากรการนำเข้าภาพยนตร์จากต่างประเทศ เป็นผลให้การนำเข้าภาพยนตร์จากต่างประเทศลดจำนวนลงฮวบฮาบทันที
เพศกับอาหาร ในบทความเซ็กส์กับอำนาจ นิธิ เอียวศรีวงศ์กล่าวไว้ว่า “ในความสัมพันธ์เชิงกามารมณ์ วัฒนธรรมไทย (อย่างน้อยก็วัฒนธรรมโบราณ) ไม่ได้ถือว่าหญิงชายเสมอภาคกัน เมื่อหญิงชายมีความสัมพันธ์กามารมณ์ร่วมกัน ท่านเรียกว่าการ ‘”ได้เสียกัน” ( เป็นเมียเป็นผัว) ชายเป็นฝ่ายได้ หญิงเป็นฝ่ายเสีย”
Our Hospitality “การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” กับ ‘”การฆ่าล้างแค้น” มีความแตกต่างกันตรงอยู่ตรงที่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เป็นการฆ่าในเชิงปริมาณ เป็นการผลิตซ้ำการประหัสประหารในรูปแบบวิธีเดียวกับระบบอุตสาหกรรม คือยิ่งสามารถผลิตได้มากเท่าไรต้นทุนก็ยิ่งลดลงมากเท่านั้น