Category: Movie Review & Article

A Werewolf boy คนรักผู้ซื่อสัตย์

เมื่อปีที่แล้วหนังเกาหลีเรื่องนี้ได้ปลุกปรากฏการณ์หนังรักโรแมนติกเกาหลี หลังจากหลับไหลไปนานหลายปีให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง โดย A Werewolf boy พุ่งทยานขึ้นเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้อันดับหนึ่งในแดนกิมจิแซงหน้า Vampire twilight จากฟากฮอลลีวู้ดแบบสบายๆ

สารวัตรหมาบ้า ดราม่าตำรวจไทย

แม้วงการหนังไทยจะมีมานานหลายสิบปี เติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ที่ยังคงยํ่าอยู่กับที่คือแนวหนังที่ไม่เปิดกว้างนัก ภาพยนตร์ทำเงินทั้งหลายมีเพียง หนังตลก หนังผี และ หนังรักเท่านั้น

On the Road ถนนไร้แก่นสารของคนหนุ่มสาว

เรื่องราวในหนังเกิดในช่วงยุค 1948-1951 ของประเทศสหรัฐอเมริกาช่วงหลังสงครามโลกที่หนุ่มสาวต่างใฝ่ฝันถึงชีวิตนอกกรอบ มีอิสระ ได้ผจญภัย เดินทางไกลไปยังที่ต่างๆแบบไร้จุดหมาย เนื้อเรื่องสร้างจากนิยายชื่อเดียวกันของ แจ็ค เคอรูแเอ็ก

คู่กรรม ฉบับมุมมองใหม่

แรกทีเดียวผมตั้งใจจะเขียนถึง พี่มากพระโขนง แต่ด้วยความที่หนังกระแสดีมากขนาดไม่มีอะไรต้องกล่าวถึงแล้ว เหลียวมามอง คู่กรรม ของ เรียว กิตติกร ต้องบอกว่าการเข้าฉายช่วงนี้ถือเป็นวิบากกรรมอย่างแท้จริง

Notre Musique

คนขาวไม่มีวันเข้าใจถ้อยคำโบราณ ซึ่งอยู่ในวิญญาณที่ล่องลอยอย่างเสรีระหว่างผืนฟ้าและต้นไม้ ปล่อยโคลัมบัสให้ท่องไปในท้องทะเล เพื่อค้นหาอินเดีย มันเป็นสิทธิ์ของเขาที่จะเรียกภูติของเราด้วยชื่อของเครื่องเทศ เขาสามารถเรียกพวกเราว่า อินเดียนแดง

Fury

“การลงทัณฑ์อันเป็นอาชญากรรมของ ฟริทซ์ ลัง” หากใครคนหนึ่งพูดกับเราว่า “เขาพร้อมที่จะตาย เพื่อความตายของเขาจะนำพาให้ชีวิตอื่นๆตายตามไปด้วย คำถามหรือความน่าฉงนใจที่เกิดขึ้นแทบจะในทันทีก็คือ ทำไมเขาจึงมีความคิดที่โหดร้ายเช่นนั้น ?

what ever Happened to Bady Jane

what ever Happened to Bady Jane (ดัดแปลงมาจากหนังสือ Bady Jane ของ เฮนรี่ฟาร์เรล) เป็นการโคจรมาพบกันระหว่างราชินีค้างฟ้าของฮอลลีวู๊ด 2 คน ซึ่งก็คือ โจน โครวฟอร์ด (Joh Crawford) และเบตต์ เดวิส (Bette Davis) ดารานักแสดงที่ถือกันว่ามีฝีมือยอดเยี่ยมที่สุด ณ เวลานั้น

ออกทะเลไปกับเกาะผีสิง

ผมเริ่มสนใจหนังเรื่องนี้จากทีเซอร์ที่โฆษณาอย่างมั่นอกมั่นใจว่าเป็นหนังผีไทยที่แหวกแนวกว่าเรื่องอื่นๆ เหลือบไปมองชื่อ บริษัทเวฟพิคเจอร์ส ค่ายน้องใหม่ไม่คุ้นเท่าไหร จนเมื่อเห็นชื่อทีมงานก็คงต้องบอกว่าเป็นค่ายลูกของสหมงคลฟิล์มนั่นเอง

ยุคสมัยนี้ไม่มีที่สำหรับมนุษย์

No country for Old Men ยุคสมัยนี้ไม่มีที่สำหรับมนุษย์ “ผมเป็นนายอำเภอที่เขตนี้มาตั้งแต่อายุ 25 ไม่น่าเชื่อ ปู่ผมเป็นผู้รักษากฏหมาย พ่อผมก็ด้วย ผมเป็นนายอำเภอพร้อมกับพ่อ พ่อคงภูมิใจมาก ผมก็เหมือนกัน นายอำเภอสมัยก่อนบางคนไม่เคยพกปืนด้วยซ้ำ บางคนฟังแล้วไม่อยากเชื่อ

Our Hospitality

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ กับการฆ่าล้างแค้น มีความแตกต่างกันอยู่ตรงที่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เป็นการฆาในเชิงปริมาณ เป็นการผลิตซ้ำการประหัสประหารในรูปแบบวิธีเดียวกับระบบอุตสาหกรรม

ซอมบี้หัวใจเต้น

ซอมบี้ ดูจะเป็นอีกจินตนาการหนึ่งของมนุษย์ ที่ถูกทำให้มีตัวตน เขียนเป็นหนังสือ สร้างเป็นหนังลามไปถึงเกมส์ ซํ้าแล้วซํ้าเล่าไม่แพ้ แวมไพร์ กับ มนุษย์หมาป่า ทว่าที่ผ่านมา ไม่เคยมีเรื่องไหนที่มอง ซอมบี้ ในแง่ดีหรือเปิดโอกาสให้ซอมบี้เป็นตัวละครหลัก

ระหว่างมิตรภาพกับความรัก

หากคุณดูหนังมาระยะหนึ่งจะทราบว่าหนังรักแต่ละประเทศมีเอกลักษณ์ในตัวเอง เช่นเดียวกัน Girlfriend Boyfriend หนังรักไต้หวันที่ทำรายได้ถล่มทลายทั้งในไต้หวันและฮ่องกงยังคงเป็นความรักแบบเหงาๆในวันที่หว้าเหว่ โหยหาอดีต และจริงจังกับรักครั้งแรก

ศรัทธาที่ลอยอยู่กลางทะเล

ความเชื่อน่าจะเป็นอิสระอย่างหนึ่งที่มนุษย์ทุกคนพึงมี เรามีสิทธิ์ที่จะเชื่อและไม่เชื่อต่อสิ่งใดก็ได้ในชีวิตแม้ต่อให้เราโดนบังคับให้เชื่อในสิ่งใด เราอาจทำตัวเหมือนเชื่อต่อสิ่งนั้น ทว่าลึงลงไปข้างในเราอาจไม่เชื่อมันก็ได้

Wolf Children

หมาป่าน่าจะเป็นสัตว์ที่โดดเดี่ยวที่สุดชนิดหนึ่งในโลก ตามธรรมชาติของมันจะมีการรวมฝูงไม่มากนักโดยเฉพาะตัวผู้ด้วยแล้ว เมื่อโตพอจะออกจากการดูแลของแม่ บางตัวก็ออกสู่โลกกว้างใช้ชีวิตเพียงลำพังจนกระทั่งหมดลมหายใจอย่างเงียบสงบ

นับถอยหลังสู่การสารภาพบาป

หลังจากที่ประสบความสำเร็จกับ 5แพร่ง ค่าย GTHก็หยุดสร้างหนังแนวสยองขวัญไปพักหนึ่งมาถึงปีฉลองครบรอบ7ปีของบริษัท GTHจึงถือโอกาสส่งภาพยนตร์แนวหลอนปนสยองขวัญที่ชื่อเคาท์ดาวน์ (Countdown) มาในช่วงเทศกาลส่งท้ายปี

คนในหนัง

บทบาทและหน้าที่ของฝ่ายต่างๆในการสร้างและกำกับการแสดง Author : ผู้ประพันธ์ อาจเป็นผู้ที่แต่งชิ้นงานนั้นๆขึ้นมาอยู่แล้ว Screenwriter : ผู้เขียนบท Producer : ผู้อำนวยการสร้าง เป็นผู้ที่ออกงบประมาณในการสร้างให้

Cinema Paradiso จงก้าวออกไปสร้างหนังของคุณเอง

ในโลกภาพยนตร์ มีผู้คนมากมายที่เป็นเพียงผู้ชม แต่ไม่เคยได้เป็นผู้สร้าง เช่นเดียวกับ ในโลกหนังสือ มีผู้คนมากมายที่ได้เป็นเพียงผู้อ่าน แต่ไม่เคยได้เป็นผู้เขียน เช่นเดียวกับในโลกจิตรกรรม มีผู้คนมากมายที่เป็นเพียงผู้เสพ แต่ไม่เคยได้เป็นผู้ลงฝีแปรง

ศาลเตี้ยในสังคมเส็งเคร็ง THE BRAVE ONE

เอ็นริก้า เป็นนักจัดรายการวิทยุ เธอเป็นหญิงสาวที่มีความสุขกับการทำงาน รายการที่เธอจัดมีแฟนติดตามเหนียวแน่น ขณะที่อีกด้านหนึ่ง ชีวิตส่วนตัวเอ็นริก้าเป็นหญิงสาวที่กำลังจะเข้าพิธีแต่งงานกับหนุ่มคนรัก เธอมีความสุข โลกของเธอและเขาคือโลกใบที่เต็มไปด้วยความสุข

เพราะชีวิตคือสนามต่อสู้ WARRIOR

ขึ้นชื่อว่ามนุษย์ ไม่ว่าจะร่ำรวย มีกิน หรืออดอยาก ต่างก็ล้วนมีปัญหาหรือปมขื่นในชีวิตด้วยกันทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับว่าเราจะจัดการความขมขื่นในชีวิตของตนอย่างไร

The Perks of being a Wallflower กำแพงแห่งความเจ็บปวดที่แสนงดงาม

ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างจากหนังสือชื่อเดียวกัน (The Perks of being a Wallflower) ของ สตีเฟ่น ชาร์บอสกี้ และเขาขอรับหน้าที่เป็นผู้กำกับในฉบับหนังเพื่อให้ถ่ายทอดออกมาได้ใกล้เคียงกับหนังสือมากที่สุด (ว่ากันว่าเนื้อหาของเรื่องนี้มาจากส่วนหนึ่งในความทรงจำวัยเด็กของเขา)

Architecture 101 รักแรกที่หวนกลับมา

รักครั้งแรกน่าจะเป็นสิ่งที่สิ่งที่ฝังอยู่ในใจเราทุกคน ไม่ว่าจะบังเอิญหรือตั้งใจก็ตาม หลายคนมีโอกาสได้บอกความในใจแต่บางคนกลับไม่เคยพูดคำว่ารักออกไป

Summer Wars สงครามในโลกเสมือนจริง

ในโลกยุคที่เรามีสังคมสองแบบ คือ สังคมในชีวิตจริงกับสังคมในโลกออนไลน์ คล้ายกับว่า มนุษย์มีตัวตนอยู่สองแห่งเช่นกัน และบางครั้งเราก็แยกตัวตนระหว่างโลกจริงกับโลกเสมือนจริงไม่ออก

สาระแน โอเซกไก กลับไปสู่จุดเริ่มต้น

ช่วงเดือนที่ผ่านมามีข่าวบันเทิงที่ไม่ค่อยสู้ดีกับ บริษัทลักษ์666 สักเท่าไหร่ ไล่เรียงตั้งแต่การถอนตัวของ เปิ้ล นาคร หนึ่งใน3ผู้บริหารคนสำคัญที่ร่วมหัวจมท้ายกันมานาน แยกออกมาทำบริษัทตัวเอง

Argo ปฏิบัติการหนังพาไป

หากจะจัดอันดับประเทศคู่แค้นในโลก สหรัฐอเมริกา กับ อิหร่าน น่าจะเป็นมวยคู่เอกในเวที แต่น้อยคนจะรู้ว่าจุดเริ่มต้นของความแค้นที่นั้นเริ่มมาจากเมื่อใด

จันดารา ปฐมบท กามารมณ์จัดหนัก ศิลปะเบาๆ

ถือเป็นหนังที่เผชิญวิบากกรรมเรื่องหนึ่งในปีนี้ กับการจัดเรตติ้งที่ยังเอาแน่เอานอนไม่ได้ของหน่วยงานโลกสวยที่เกี่ยวข้อง งานนี้เราจึงได้เห็นการตรวจบัตรประชาชนก่อนเข้าโรงหนัง ให้อารมณ์เหมือนจะเข้าไปในผับ

The Place Promised in Our Early Days โลกที่หลอมรวมความจริงกับความฝัน

บางวันความงดงามของท้องฟ้าก็งดงามราวกับความฝัน มันสวยมากพอที่จะทำให้ใจของเราล่องลอยไปไหนต่อไหน ไม่ว่าจะเป็นในอดีต อนาคต ความฝัน หรือแม้แต่ดินแดงแห่งคำสัญญา

APOCALYPTO อารยธรรมเกิดจากความกลัวของมนุษย์

เนิ่นนานมาแล้ว บนเกาะแห่งหนึ่ง มีชนเผ่าหนึ่งอาศัยอยู่รวมกันเป็นหมู่บ้าน ล่าสัตว์ หาของป่าอยู่กันตามธรรมชาติอย่างสงบสุขเรื่อยมา จนกระทั่งวันหนึ่ง ชนเผ่าพื้นเมืองนี้ถูกชนอีกเผ่าหนึ่งที่เข้มแข็งกว่าบุกปล้นฆ่า ผู้ต่อต้านถูกฆ่าตาย ผู้หญิงถูกข่มขืนแล้วฆ่า ผู้ชายและคนที่ไร้ทางสู้ถูกจับเป็นเชลย ชนเผ่าที่เข้มแข็งกว่าพาเชลยผู้รอดชีวิตกลับสู่เมืองของตน

Quattro Hong Kong 2 เกาะร่วมสมัย

ฮ่องกงน่าจะเป็นไม่กี่ที่ในโลกที่มีการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมของชาวเอเชียกับชาวยุโรปได้อย่างกลมกลืนเราเห็นคนที่นั่นในชื่อฝรั่งแต่พูดคุยภาษาฮ่องกง เราเห็นคนฮ่องกงพูดภาษาอังกฤษ เราเห็นฝรั่งพูดคุยภาษาฮ่องกง

ชัมบาลา การเดินทางเพื่อไถ่โทษ

ถือเป็นอาถรรพ์เล็กๆของวงการหนังไทย ที่หนังแนวโร้ดมูฟวี่(หนังที่มีการเดินทางเป็นส่วนประกอบหลัก)ไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าไหร่ อาจจะไม่ถูกจริตคนไทย จึงแทบไม่เคยมีเรื่องไหนเลยที่ได้กำไรเลย ยิ่งเรื่องไหนไปถ่ายเมืองนอกงบบานปลายยิ่งไปกันใหญ่ โชคดีที่ผู้สร้างยังไม่ท้อ เราจึงได้เห็นโปรเจกต์ ชัมบาลา

กำเนิดภาพยนตร์

กำเนิดภาพยนตร์ กำเนิดภาพยนตร์ในโลก โทมัส อัลวา เอดิสัน (Tomas Alva Edison) นักประดิษฐ์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งสหรัฐอเมริกา ได้ชื่อว่าเป็นผู้คิดประดิษฐ์ภาพยนตร์สำเร็จเป็นรายแรกเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๒ ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๕ แต่ภาพยนตร์ของเอดิสันมีเครื่องดูเป็นตู้แบบที่เรียกว่าถ้ำมองให้ผู้ชมดูได้ทีละคน เขาเรียกเครื่องดูภาพยนตร์ของเขาว่า “คิเนโตสโคป” (KINETOSCOPE)

กำเนิดการสร้างภาพยนตร์ในสยาม

กำเนิดการสร้างภาพยนตร์ในสยาม การถ่ายทำภาพยนตร์ในสยามเริ่มขึ้นโดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวลยวงศ์ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ พระเจ้าน้องยาเธอในรัชการที่ ๕  ซึ่งทรงสั่งซื้อกล้องถ่ายภาพยนตร์และอุปกรณ์เข้ามาสยาม เมื่อครั้งที่พระองค์ทรงตามเสด็จฯ พระพุทธเจ้าหลวง ประพาสยุโรปครั้งแรกเมื่อปี ๒๔๔๐

คนไทยเริ่มสร้างภาพยนตร์ไทย

คนไทยเริ่มสร้างภาพยนตร์ไทย เมื่อ “นางสาวสุวรรณ” ออกฉายสู่สาธารณชนในฐานะภาพยนตร์ไทยเรื่องแรก เมื่อปี ๒๔๖๖ แล้ว นับจากนั้นมาได้มีเสียงเรียกร้องต้องการจากผู้ชมภาพยนตร์ ปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์อยู่เนืองๆ ว่า อยากให้มีผู้คิดสร้างภาพยนตร์ไทยขึ้นอีก ล่วงมาจนกระทั่งปลายปี ๒๔๖๙ ต้นรัชกาลที่ ๗ จึงมีคนไทยประกาศจัดสร้างภาพยนตร์ขึ้นเป็นรายแรก

ยุคภาพยนตร์ไทยเงียบของสยาม

ยุคภาพยนตร์ไทยเงียบของสยาม ปี๒๔๗๐ ซึ่งคนไทยเราเริ่มต้นสร้างภาพยนตร์เรื่องบันเทิงด้วยตนเองนั้น ในทางสากลนับเป็นปีที่วงการภาพยนตร์ของโลก กำลังเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคภาพยนตร์เสียง หรือที่เวลานั้นเรียกกันว่า ภาพยนตร์พูดได้ (talkies) พอดี

ยุคทองของภาพยนตร์ไทย

ยุคทองของภาพยนตร์ไทย กำเนิดภาพยนตร์ไทยพูดได้ ในระยะปลายปี ๒๔๗๒ ต่อ ๒๔๗๓ ได้มีคณะฝรั่งนักถ่ายภาพยนตร์เสียงในฟิล์มจากบริษัท ฟ้อกซ์มูวี่โทน แห่งสหรัฐอเมริกา เดินทางเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์สารคดีเสียงในฟิล์มเป็นครั้งแรกในสยาม คณะถ่ายภาพยนตร์นี้ดีรับความอนุเคราะห์จาก พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร เสนาบดีกระทรวงพานิชย์และคมนาคมขณะนั้นให้เข้าเฝ้าฯ เพื่อบันทึกภาพยนตร์เสียง พระองค์ทรงกล่าวแนะนำประเทศสยามเป็นภาษาอังกฤษไว้ในภาพยนตร์นี้ด้วย

ยุคภาพยนตร์เสียงศรีกรุง

ยุคภาพยนตร์เสียงศรีกรุง ปี ๒๔๗๗ พี่น้องวสุวัตได้เริ่มลงมือก่อสร้างโรงถ่ายภาพยนตร์เสียงอย่างถาวรและทันสมัยใหญ่โตขึ้นที่บริเวณทุ่งนา ชานพระนคร (บริเวณปากซอยอโศก ถนนสุขุมวิท ปัจจุบัน) ซึ่งเวลานั้นเรียกว่า ทุ่งบางกะปิ และในระหว่างนี้ คณะพี่น้องวสุวัตได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลประชาธิปไตยขณะนั้นให้จัดสร้างภาพยนตร์เสียงเรื่อง “เลือดทหารไทย”

บริษัทไทยฟิล์มและผู้สร้างอื่นๆ

บริษัทไทยฟิล์มและผู้สร้างอื่นๆ บริษัทไทยฟิล์มและผู้สร้างอื่นๆ ในปี ๒๔๘๐ ในขณะที่บริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุงกำลังเฟื่องฟูอยู่นั้น ได้มีคณะคนไทยอีกกลุ่มหนึ่งจัดตั้งบริษัทสร้างภาพยนตร์และก่อสร้างโรงถ่ายภาพยนตร์เสียงที่ได้มาตรฐานสมบูรณ์แบบขึ้นอีกแห่งหนึ่ง อยู่ที่ทุ่งมหาเมฆ ชานพระนครเช่นกัน

กำเนิดภาพยนตร์ไทยพากย์

กำเนิดภาพยนตร์ไทยพากย์ แต่เดิมมาการฉายภาพยนตร์ในสยามไม่มีการพากย์ใดๆในสมัยภาพยนตร์เงียบ ทางโรงภาพยนตร์จะจัดพิมพ์ใบปลิวซึ่งแจ้งโปรแกรมฉายภาพยนตร์และเล่าเรื่องย่อเป็นภาษาไทยและจีน ต่อมามีการตีพิมพ์เรื่องย่อภาพยนตร์ตามหน้าหนังสือพิมพ์กระทั่งตีพิมพ์เป็นหนังสือเล่มเล็กๆ ออกจำหน่ายด้วย ในปี ๒๔๗๑

ภาพยนตร์ไทยยุคหลังสงคราม

ภาพยนตร์ไทยยุคหลังสงครามระยะฟื้นตัว เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ ยุติลงในปี ๒๔๘๘ ประเทศไทยรอดพ้นจากการเป็นประเทศแพ้สงคราม เพราะขบวนการเสรีไทยและความสนับสนุนของสหรัฐอเมริกา กิจการต่างๆของประเทศจึงค่อยๆ ฟื้นตัว

การฟิ้นตัวของภาพยนตร์ไทยเสียงในฟิล์ม

การฟิ้นตัวของภาพยนตร์ไทยเสียงในฟิล์ม ปี ๒๔๙๖ รัตน์ เปสตันยี ได้จัดตั้งบริษัทหนุมานภาพยนตร์และสร้างโรงถ่ายภาพยนตร์เสียงมาตรฐานสากลที่ถนนวิทยุย่านเพลินจิต บริษัทได้สร้างภาพยนตร์ไทยระบบ ๓๕ มิลลิเมตร เสียงในฟิล์ม สีธรรมชาติ เรื่อง “สันติ-วีณา” ออกฉายครั้งแรกในปี ๒๔๙๗

ภาพยนตร์ไทย ยุค มิตร เพชรา

ภาพยนตร์ไทย ยุค มิตร-เพชรา เมื่อโครงการจัดตั้งองค์การผลิตภาพยนตร์แห่งชาติล้มไปการพัฒนาภาพยนตร์ไทยก็เป็นไปเองตามยถากรรมอีก ประเทศไทยสมัยที่ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นยุคสมัยแห่งการเร่งรัดพัฒนาประเทศโดยได้รับความช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆจากสหรัฐอเมริกาอย่างเต็มที่