หินครวญ
“เมื่ออดีตฆ่าคนได้ และหินก็ไม่ได้มีเพียงก้อนเดียว” แม้หินเพียงก้อนเดียวตามชายหาด ก็ยังจารึกวิถีแห่งสุริยะจักรวาลไว้ในตัวมัน นั่นคือบทเปิดเรื่องของนวนิยายขนาดสั้นสัญชาติญี่ปุ่นนาม อิชิ โนะ ราอิเรคิ (ishi no Raireki : 1994)
“เมื่ออดีตฆ่าคนได้ และหินก็ไม่ได้มีเพียงก้อนเดียว” แม้หินเพียงก้อนเดียวตามชายหาด ก็ยังจารึกวิถีแห่งสุริยะจักรวาลไว้ในตัวมัน นั่นคือบทเปิดเรื่องของนวนิยายขนาดสั้นสัญชาติญี่ปุ่นนาม อิชิ โนะ ราอิเรคิ (ishi no Raireki : 1994)
แม้ว่างานของ เรย์ม็องด์ รุสแซล (Raymond Roussel) จะไม่ได้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในกลุ่มของนักอ่านโดยทั่วไป หากผลงานของเขาก็เป็นหนึ่งในความก้าวหน้าทางวรรณกรรมที่มีอิทธิพลต่อนักคิด นักเขียน หรือศิลปินในต้นศตวรรษที่ 20 อย่างมากมาย
ศิลปะแห่งการรักที่ก้าวข้ามแม้ความตาย (1904) หรือในชื่อภาษาไทยตรงไปตรงมาว่า ปีเตอร์ คาเมนซินด์ เป็นผลงานนวนิยายเรื่องแรกในชีวิตของนักเขียนรางวัลโนเบลประจำปี ค.ศ. 1946 ชื่อก้องชาวเยอรมัน-สวิส นาม เฮอร์มานน์ เฮสเส (Hermann Hesse : 1877-1962)
Senza sangue สงคราม นรก และโลกใหม่ ที่ไร้เลือด หนังสือเล่มนี้อ่านง่าย แต่เขียนถึงยาก ผู้เขียนรำพึงกับตัวเองเมื่ออ่าน senza sangue หรือในชื่อภาษาไทยว่า ไร้เลือด ของ อเลซซาน บาริกโก (Alessandro Baricco)
โลกแห่งความลวง ความกลัว และความตาย กับโลกแห่งความจริง ความเจ็บ และความมีชีวิต มนุษย์เรามีวิธีรับมือกับความกลัวอยู่ 2 วิธี 1.เผชิญหน้ากับมัน 2.คือหลบหนีจากมัน แน่นอน ทั้ง 2 ทั้ง 2 วิธีย่อมให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง Forgetting Places (ค.ศ. 1987) หรือในชื่อภาษาไทยว่า สุสานใต้ดวงดาว
ขัปปะ หรือ Kappa (1927) เป็นนวนิยายขนาดสั้น ผลงานการประพันธ์ของนักเขียนอมตะคนหนึ่งของญี่ปุ่น ริวโนะซุเกะ อะคุตะงาวะ (Ryunosuke Akutagawa : 1882-1927) ผู้จบชีวิตตนเอง ด้วยการดื่มยาพิษฆ่าตัวตาย เฉกเช่นนักเขียนญี่ปุ่นชื่อดังหลายๆคน
เป็นประเด็นคำถามเชิงอภิปรัชญามานมนานว่า มนุษย์เรามีอิสระอยู่จริงหรือไม่ อิสระที่เราเลือก แท้แล้วอาจคือการติดอยู่ในกรงขังของอิสระในอีกรูปแบบหนึ่ง หรือแม้กระทั่งถึงขนาดมีผู้บอกว่า ร่างกายของเราเองนี่แหล่ะที่เป็นตัวขัดขวางอิสระที่แท้
จอร์จส์ บาตาย (Georges Bataille) เป็นหนึ่งในนักเขียนที่ มิแชล ฟูโกต์ ยกย่องให้เป็นนักคิดคนสำคัญของศตวรรษที่ 20 จะเป็นในแง่ใด คงไม่อาจทราบแน่ชัดได้ เพราะคำกล่าวของฟูโกต์อันนี้เป็นเพียงคำโปรยหลังปกหนังสือ
Miramar หรือในชื่อภาษาไทยว่า แดนคนเดน ผลงานของ นากิบ มาห์ฟูซ (Naguib MahfouZ : ค.ศ. 1911-2006) นักเขียนรางวัลโนเบลประจำปี ค.ศ. 1988 ชาวอียิปต์
เคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมในหน้าประวัติศาสตร์มนุษยชาติของเราถึงไม่เคยว่างเว้นจากสงคราม การรบราฆ่าฟัน การทะเลาะเบาะแว้ง แม้แต่ความขัดแย้งทางความคิด ผู้เขียนเป็นคนหนึ่งที่สงสัยเรื่อยมา จนกระทั่งได้อ่านเรื่องสั้นชื่อ แดนลงทัณฑ์
แด่ ก๋ง คนจีนผู้รักแผ่นดินไทย และเข้าใจคนไทย ข้าพเจ้ามีความฝังใจอยู่นานแล้วว่า จะต้องถ่ายทอดชีวิตประจำวันของคนกลุ่มหนึ่งที่เข้ามาอาศัยแผ่นดินไทยเป็นที่อยู่ ที่ทำมาหากิน และบ้างก็ยึดเป็นเรือนตาย นั่นคือชีวิตของคนจีน โดยเฉพาะคนจีนที่เข้ามาอยู่อย่างยากจน และทำงานหนัก
พูดถึงคำว่าชะตากรรม ใครหลายคนอาจนึกไปถึงสิ่งนามธรรมชนิดหนึ่ง ที่คอยกำหนดชีวิตมนุษย์โดยมีสิ่งที่อยุ่เหนือธรรมชาติ กลุ่มก้อนพลังจากจักรวาล หรือไม่ก็ในนิยามของพระเจ้า คอยกำกับควบคุมชะตากรรมอีกต่อหนึ่ง
ข้าพเจ้าได้เคยออกความเห็นมาหลายครั้งแล้ว ว่าการแต่งหนังสือและการอ่านเป็นของสำคัญยิ่งสำหรับชาติ ดังนั้นไม่อยากจะนำมากล่าวซ้ำซากอีกในขณะนี้ แต่หนังสือที่เป็นตำรา หนังสืออ่านเล่น จะเป็นกาพย์กลอน หรือร้อยแก้วก็ดี ก็เป็นประโยชน์และสำคัญยิ่งเหมือนกัน
จากลุ่มน้ำแม่กลองสู่นอร์ทแคโรไลน่า คือเส้นทางอันยาวไกลแห่งชีวิตอัศจรรย์ของสองชาย ที่ถือกำเนิดในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งได้กลายมาเป็นปรากฏการณ์ทั้งในวงการแพทย์ และประวัติศาสตร์มนุษยชาติ
นักวิทยาศาสตร์บอกว่า วิญญาณของมนูษย์เรามีน้ำหนัก 21 กรัม จากการทดลองชั่งน้ำหนักของบุคคลขณะที่เขายังมีชีวิตอยู่ เปรียบเทียบกับน้ำหนักของคนคนนั้นหลังจากเสียชีวิตทันที
โอลิเวอร์ ทวิสท์ ของนักแปลชั้นครู อ.สนิทวงศ์ (อุไร สนิทวงศ์) พ.ศ. 2498 หนังสือเรื่อง โอลิเวอร์ ทวิสท์ นี้ ข้าพเจ้าแปลจากเรื่อง Oliver Twist ฉบับย่อของ Charles Dickens ซึ่งใช้เป็นหนังสือสำหรับอ่านของนักเรียนเตรียมอุดมศึกษา
คาร์โล นอคเซีย เป็นชายหนุ่มผู้มีความทะเยอทะยานด้านธุรกิจ กระนั้นเขากลับมีความเข้าใจผิดๆ ว่า การจะได้รับความนับหน้าถือตาในหมู่นักธุรกิจด้วยกันนั้นไม่สามารถเป็นไปได้ ถ้าเขายังคงค้าขายทำธุรกิจอย่างซื่อสัตย์
เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่า สิ่งที่เราเห็นด้วยตานั้น คือสิ่งที่เป็นจริง ? นี่คือคำถามที่เกิดขึ้นเมื่อผู้เขียนได้อ่านนวนิยายขนาดสั้นชื่อ Being There (ค.ศ. 1971) หรือในชื่อภาษาไทยว่า ที่เห็นและเป็นอยู่ ผลงานของนักเขียนเชื้อสายโปล-อเมริกัน นาม เจอร์ซี โคชินสกี (Jerzy Kosinski : ค.ศ. 1933-1991)
ความเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่เราทุกคนหลีกเลี่ยงไม่ได้ โลกไม่เคยหมุนตามใจเรา ต่อให้เราเป็นบุคคลสำคัญขนาดไหน หรือมีอัจฉริยภาพยิ่งใหญ่ถึงขนาดพลิกประวัติศาสตร์โลกได้อย่าง สตีฟ จ๊อบส์ หรือ ไอน์สไตน์ เมื่อเวลาของเราจบสิ้นลง โลกก็ยังหมุนต่อไปได้เรื่อยๆ
After the quake (ค.ศ. 1999-2000) เป็นผลงานรวมเรื่องสั้นของนักเขียนนามอุโฆษชาวญี่ปุ่น ที่ชื่อว่าแม้ไม่ใช่นักอ่าน ก็ต้องเคยได้ยินชื่อของเขากันไม่มากก็น้อย เขาคือ ฮารูกิ มูราคามิ (Haruki Murakami)
โฮลเดน คอลฟิลด์ เป็นเด็กหนุ่มขวางโลก ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้สำหรับเขาล้วนเฟก ล้วนน่าเกลียด น่าขยะแขยง หากคิดเป็นสัดส่วน คงมีสัก 1% เท่านั้นที่เด็กหนุ่มผู้นี้ชอบ ส่วนอีก 99% เขาเกลียด ไม่ว่าจะเป็นตัวบุคคล กลุ่มบุคคล สถาบันอย่างโรงเรียน หรือแม้แต่พิธีกรรมที่ไม่น่าจะมีอะไรให้เกลียดอย่างงานศพ เขาก็เกลียด
มนุษย์เป็นสัตว์สังคม นั่นคือความจริงที่เราต่างรู้กันดีอยู่ เมื่อมนุษย์มาอยู่รวมกัน สังคมจึงถูกสร้างขึ้นพร้อมๆกับข้อกำหนด (ซึ่งได้วิวัฒนาการต่อมาเป็นธรรมเนียมประเพณีและกฎหมาย) เพื่อใช้บังคับให้มนุษย์ทั้งหลายอยู่ในลู่ทาง ไม่ใช่อิสระที่ตนมีจนทำให้คนอื่นเดือดร้อน แต่ในขณะเดียวกับที่มนุษย์เป็นสัตว์สังคม มนุษย์ก็มีความเป็นปัจเจก มีอิสระทางความคิดและการกระทำติดตัวมาแต่กำเนิด
ผมชั่งใจอยู่นาน ว่าจะเขียนถึงหนังสือเล่มนี้ดีไหม เพราะหากมองอย่างผิวเผิน หนังสือเล่มนี้อาจเป็นแค่นวนิยายฆาตกรรมที่ โหด จิต และผิดมนุษย์เท่านั้น แต่หลังจากใคร่ครวญแล้ว ผมก็ตกลงกับตัวเองว่าจะเขียนถึงหนังสือเล่มนี้
และแล้วก็ได้เวลา…นินทาคนตาย…เมื่ออ่าน “โลกหมุนรอบตัวเอง” และ “นิทานประเทศ” ของ กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ / สำนักพิมพ์นาคร ด้วยคอลัมน์แนะนำหนังสือในสื่อต่างๆของเราไม่ว่าเป็น http://www.HiclassSociety.com หรือ http://www.artbangkok.com ทำให้ดิฉันได้ผ่านตาหนังสือดีหลายเล่ม โดยเฉพาะหนังสือวรรณกรรมคุณภาพจากสำนักพิมพ์นาคร ที่มีส่วนผสมอันเข้มข้นก็คืองานของ กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ เป็นหนึ่งใน ‘ใบสั่ง’ ส่วนตัว ที่ดิฉันจะต้องหยิบมาอ่านจริงจังเสมอ ท่ามกลางหนังสือมากมายที่หลายสำนักพิมพ์ส่งมาแนะนำ
Half a Life เราไม่สามารถเป็นใครอื่นได้นอกจากตัวเราเอง Text : กิติคุณ คัมภิรานนท์ อ้างอิง : Half a Life “ครึ่งทางชีวิต”, V.S. Naipaul, จงจิต อรรถยุกติ : แปล, นานมีบุ๊คส์, 2547
จากคดีความสู่คำพิพากษา ฟรันซ์ คาฟคาและชาติ กอบจิตติ ความสลดหดหู่ที่เกิดขึ้นในคำพิพากษาของชาติ กอบจิตติคงไม่ใช่เรื่องที่ต้องย้ำหรือนำมาเล่าย้อนในที่นี้ เจตนา นาควัชระ ได้กล่าวเอาไว้ในบทวิจารณ์ชิ้นหนึ่งว่า ‘ ความตายของฟักตัวเอกของเรื่องเป็นสิ่งที่ทำให้สถานะแห่งความเป็นมนุษย์ของเราท่านทั้งหลายต้องสั่นคลอนไปด้วย 1′ ( น. 75)
Batleby, The Scrivener ‘ ภาษาอื่น ‘ ในโลกของการสื่อความหมาย Batleby, The Scrivener เป็นเรื่องสั้นขนาดยาวของนักเขียนชาวอเมริกันเฮอร์แมน เมลวิลล์ ( Herman Melville) ที่พูดถึงมนุษย์ในโลกสมัยใหม่ ซึ่งโดดเดี่ยวแปลกแยกออกจากสังคม หรือแม้กระทั่งโลกที่แวดล้อมพวกเขา อย่างชนิดที่ไม่เคยมีมาก่อนในหนึ่งหรือสองศตวรรษก่อนหน้า
หลังจากที่ผมทำแบบทดสอบอันหนึ่งซึ่งสามารถระบุบอกได้ว่าเมื่อตายไปแล้วผมจะไปอยู่ในส่วนใดในนรกของดังเต อลิเกียรี (1265-1321) กวีเอกชาวอิตาเลียน ผู้ประพันธ์ Divina Commedia (ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับแบบทดสอบนี้ผมจะเล่าให้ฟังอีกทีหนึ่ง) ผมก็พอจะเริ่มมองเห็นภาพว่า โลกทัศน์ของดังเตเกี่ยวกับบาปและชีวิตหลังความตายนั้นไม่อาจแบ่งแยกออกจากกัน
โดย อรพินท์ คำสอน ” ลองอ่านหนังสือเล่มนี้ดูสิ แปลกดีนะ ยังอ่านไม่จบหรอก แต่ให้ยืมก่อน เพราะไม่คิดจะอ่านต่อแล้ว ” คำพูดสั้นๆ ประโยคนี้ของเพื่อนร่วมงาน กลายเป็นแรงจูงใจที่จุดประกายความสนใจใคร่รู้ให้ลองอ่านหนังสือเรื่อง ” แกะรอยแกะดาว ” เล่มนี้ดู ว่าในที่สุดแล้วจะสามารถอ่านจบไหม
สวนปริศนา ( THE SECRET GARDEN ) โดย อรพินท์ คำสอน กระแสความนิยมของคนอ่านหนังสือในปัจจุบันนั้นนิยมการอ่านหนังสือแปลเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งวรรณกรรมเยาวชน เนื่องจากวรรณกรรมเยาวชนที่แปลมาจากภาษาต่างประเทศมีเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะวรรณกรรมเยาวชนที่เขียนโดยนักเขียนชาวไทยยังมีน้อยมาก จึงทำให้ผู้อ่านที่ต้องการอ่านวรรณกรรมเยาวชนต้องอ่านงานประเภทนี้จากวรรณกรรมแปลเป็นส่วนใหญ่ อีกทั้งยังมีวรรณกรรมแปลสำหรับเยาวชนหลายเรื่องที่ได้รับความนิยมจากนักอ่านชาวไทย ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ต้นส้มแสนรัก ปิน็อกกิโอ เจ้าชายน้อย หรือ โต๊ะโตะจัง เป็นต้น