โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ร่วมกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จัดนิทรรศการพิเศษ แสดงผลงานศิลปะจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ในวันต่อต้านการคอรัปชั่นสากล
23 มหาวิทยาลัยจากทั่วประเทศไทยจะเข้าร่วมในนิทรรศการศิลปะต่อต้านการคอรัปชั่น “คอรัป ‘ฉัน’ไม่ขอรับ” โดยการสนับสนุนจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช. )
“การต่อสู้กับการทุจริตคอร์รัปชั่นในประเทศไทยต้องเริ่มที่ตัวเราทุกคน จากการกระทำของเรา นิสัยของเราและทัศนคติ” Luc Stevens, UNResident Coordinator และ UNDP Resident Representative ประจำประเทศไทยกล่าว ดังนั้น ทาง UNDP จึงได้ร่วมกับภาคประชาสังคม และ ป.ช.ช. ในการสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับภยันตรายจากการทุจริตคอรัปชั่น
สำหรับการจัดนิทรรศการศิลปะต่อต้านการคอรัปชั่นที่จัดขึ้นนี้ เป็นการจัดแสดงผลงานของนิสิตนักศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสะท้อนมุมมองแนวความคิดเกี่ยวกับคอรัปชั่นในตัวเรา มากกว่าการมองว่าคนอื่นว่าเป็นสาเหตุหลักของการทุจริตคอรัปชั่น
“การสร้างความตระหนักรู้และเปลี่ยนทัศนคติของเยาวชนให้เข้าใจถึงผลร้ายของการทุจริตคอรัปชั่นถือเป็นงานที่ท้าทายมาก การเข้าร่วมของศิลปินเยาวชนในการจัดนิทรรศการศิลปะครั้งนี้ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการดึงดูดเยาวชนและประชาชนคนไทยให้เกิดการตื่นตัวมากขึ้น” ป.ป.ช. กล่าว
นิทรรศการจัดแสดงงานศิลปะทุกแขนงนี้ จะเริ่มจัดแสดงรอบพิเศษในวันที่ 9 ธันวาคม 2555 ตั้งแต่เวลา 10:00 น. ถึง 12:00 น.โดยศิลปินจะนำเสนอผลงานของตัวเอง และมีการเสวนา การพูดคุยถึงความรู้สึก มุมมองความคิดเห็นเกี่ยวกับการทุจริตในสังคมไทย โดยนิทรรศการศิลปะต่อต้านการคอรัปชั่นจะจัดแสดงขึ้นระหว่างวันที่ 11-16 ธันวาคม 2555 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ชั้น 1เข้าชมฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
นอกจากนิทรรศการศิลปะต่อต้านการคอรัปชั่น UNDP ยังได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยทั่วประเทศกว่า 90 แห่ง ในการสร้างเครือข่ายต่อต้านคอรัปชั่นในระดับอุดมศึกษา และผู้นำนักศึกษากว่า 2,000 คนจากทั่วประเทศไทยเข้าร่วม โดยตลอดปีที่ผ่านมา UNDP ได้จัดค่าย “เยาวชนไทย หัวใจสะอาด คอรัป ‘ฉัน’ ไม่ขอรับ” ขึ้นทั่วทุกภาคของประเทศไทย และจะมีการขยายเครือข่าย “คอรัป ‘ฉัน’ ไม่ขอรับ” สรรหาแนวร่วมเพิ่มเติมในการรณรงค์สร้างความตระหนักรู้ และความเข้าใจถึงสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา เพื่อนำไปสู่การแก้ไขที่เป็นรูปธรรมต่อไป
ติดต่อสำนักงานหอศิลปกรุงเทพฯ : 02 2146630 – 8
โทรสาร: 02 2146639
อีเมล : info@bacc.or.th
เว็บไซต์ : www.bacc.or.th