สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (เอฟซีซีที) และออนเอเชีย เอเจนซี่ ภาพถ่ายออนไลน์ชั้นนำ ได้ประกาศรายชื่อผู้ชนะเลิศการประกวดภาพถ่ายเชิงข่าว ครั้งที่ 6 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
การประกวดภาพถ่ายครั้งนี้ถือเป็นครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 6 ปี ซึ่งดึงดูดช่างภาพมืออาชีพกว่า 375 ท่านร่วมส่งผลงานเข้าประกวดกว่า 6,000 ชิ้น โดยคณะกรรมการได้คัดเลือกผู้ชนะทั้งสี่ประเภท ได้แก่ ภาพในเหตุการณ์ข่าว ภาพที่ไม่เกี่ยวข้องกับข่าว ภาพเกี่ยวกับประเด็นการอพยพ (รางวัลนี้ได้รับการสนับสนุนจากคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย) และภาพชุดเล่าเรื่อง นอกจากนั้นคณะกรรมการยังได้คัดเลือก “ช่างภาพแห่งปี” ซึ่งเป็นรางวัลใหญ่ที่สุดของการประกวดในครั้งนี้
สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย และออนเอเชีย เอเจนซี่ภาพถ่ายชั้นนำล้วนได้รับการยอมรับและเป็นที่รู้จักเป็นอย่างดีว่าเป็นการประกวดภาพถ่ายที่สำคัญที่สุดในภูมิภาคเอเชียตั้งแต่เริ่มจัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2550 ด้วยจำนวนผลงานส่งเข้าประกวดที่เพิ่มมากขึ้นและภาพถ่ายระดับคุณภาพที่สูงขึ้น ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าภาพถ่ายเชิงข่าวในภูมิภาคเอเชียนั้นเต็มไปด้วยชีวิตชีวาและเปี่ยมไปด้วยทักษะและความชำนาญ แม้จะมีแรงกดดันทางเศรษฐกิจภายในวงการอุตสาหกรรมสื่อที่สร้างความลำบากในการเลี้ยงชีพให้เหล่าช่างภาพก็ตาม
การประกวดครั้งนี้เหล่าคณะกรรมการแสดงความชื่นชมกับผลงานของ มร.วลาด โซคิน ช่างภาพสารคดีชาวรัสเซีย-โปรตุเกส ซึ่งพำนักอาศัยอยู่ในนครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลียมากที่สุด ผู้ชนะเลิศรางวัลช่างภาพแห่งปี ด้วยผลงานชุดภาพถ่ายที่สะท้อนเทคนิคและฝีมือ รวมไปถึงความซับซ้อนในการถ่ายทอดเรื่องราวจากสถานที่ซึ่งสื่อมวลชนทั่วไปไม่สามารถเข้าถึง อย่าง ในปาปัวนิวกินี หรือวานูอาตู
ผลงานที่เข้าตากรรมการโดยเฉพาะ คือ การนำเสนอความเสียหายประเด็นความรุนแรงต่อผู้หญิงในปาปัวนิวกีนี ซึ่ง มร.โซคิน ได้นำเสนอภาพความรุนแรงทางอาชญากรรม ทั้งการรุมทำร้ายผู้หญิงด้วยข้อกล่าวหาว่าเป็น “แม่มด” การข่มขืน และ ความรุนแรงภายในบ้าน ซึ่งมักลงเอยด้วยการที่ผู้กระทำผิดไม่ได้รับการลงโทษ เรื่องเล่าอันน่าแสลงใจของเหยื่อที่ถูกเรียงร้อยขึ้นมานี้ จำเป็นต้องได้รับการตีแผ่ในวงกว้าง และควรได้รับความสนใจในระดับนานานชาติ เพื่อถ่ายทอดอุดมคติสูงสุดของการประกวดภาพถ่ายของเอฟซีซีที และออนเอเชีย ในครั้งนี้ ผลงานอื่นๆ ของ มร.โซคินได้แก่ ชิ้นงานชุด “ลัทธิสินค้า” ในมาลานีเซีย ซึ่งให้ความสนใจกับประเด็นของการรับความมั่งคั่งทางวัตถุจากตะวันตก เช่นเดียวกับการสร้างความเป็นสมัยใหม่ของคนเผ่าดานี (Dani) ในอินโดนีเซียจังหวัดปาปัวขณะที่พวกเขารู้สึกกดดันมากขึ้นจากโลกภายนอก
ทางคณะกรรมการมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งสำหรับความสนับสนุนจากคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย ต่อการประกวดประเภทพิเศษในปีนี้ ว่าด้วยประเด็นการอพยพย้ายถิ่นในเอเชีย และความท้าทายที่ถูกเผชิญหน้าโดยผู้ลี้ภัยหรือ ผู้อพยพ กับการเริ่มต้นชีวิตใหม่และการฟันฝ่าอุปสรรคในดินแดนที่ห่างไกลจากบ้านของพวกเขา ปีที่ผ่านมาสหภาพยุโรปก็ได้ให้การสนับสนุนในการประกวดประเภทพิเศษในเรื่อง สิ่งแวดล้อม และ สิทธิมนุษยชนในเอเชีย
ผู้ชนะการประกวดประเภทพิเศษในปีนี้ คือ เจมส์ โรเบิร์ต ฟูลเลอร์ ช่างภาพสื่อมวลชนจากเชียงใหม่ ด้วยภาพชุดจากโครงการระยะยาวที่ติดตามครอบครัวชาวกะเหรี่ยงอพยพจากพม่าไปยังสหรัฐอเมริกา โครงการนี้ได้ถ่ายทอดสิ่งที่เจมส์ เรียกว่า “การเปลี่ยนผ่านอัตลักษณ์ภายในครอบครัวและการเปลี่ยนแปลงการรับรู้ต่อ ‘ความเป็นบ้าน’” เมือพวกเขาได้ปรับตัวเข้ากับชีวิตใหม่ในต่างแดน ผลงานชุดนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาแห่งการปฏิรูปการเมืองในพม่าที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงการถกเถียงต่อกรณีการอพยพย้ายถิ่นในพม่า แม้จะมีสิทธิพลเมืองต่างชาติ แต่ทั้งผู้นำฝ่ายค้านและกลุ่มอื่นๆ กลับสนับสนุนให้พวกเขากลับบ้านเกิด ทำให้ตอนนี้พวกเขาคิดไม่ตกว่าอนาคตจะเป็นอย่างไรและจะอยู่ที่ไหน กรรมการยกย่องรูปภาพของ เจมส์ โรเบิรต์ ฟูลเลอร์ เพราะว่าเขาทำให้ผู้ที่เห็นรูปนึกถึงและรับรู้เรื่องราวชะตากรรมของผู้คนเหล่านั้นที่มักจะถูกลืมในโลกที่กว้างใหญ่ ทำให้เราได้เห็นความพยายามของพวกเขา รวมถึงโอกาสที่พวกเขาอาจได้รับจากทั่วโลกทุกมุมโลก และความสาหัสของปัญหาที่พวกเขาต้องเจอในขณะที่พวกเขาพยายามที่จะอยู่รอดในโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เจมส์ โรเบิรต์ ฟูลเลอร์ ได้นำสนอภาพที่แสดงมุมมองที่ลึกลงไปของพวกเขาซึ่งใช้การอุทิศตนอย่างมาก และต้องใช้ความเชื่อใจเพื่อที่จะได้รูปภาพที่แสดงความสนิทชิดเชื้อและความใกล้ชิด
“พวกเรายินดีที่ได้สนับสนุน การประกวดภาพถ่าย เอฟซีซีที / ออนเอเชีย มาสามปีต่อเนื่อง” เดวิด ลิปแมน หัวหน้าคระผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย กล่าว “ทุกๆ ปีเราจะเน้นหัวข้อที่กำลังได้รับความสนใจในขณะนั้น หลังจากได้เลือกประเด็นเรื่อง “สิทธิมนุษยชน” และ “การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ” ในปีที่ผ่านมา ปีนี้เราได้จึงให้ความสำคัญกับเรื่องการอพยพ ซึ่งเป็นหนึ่งในประเด็นที่เราให้ความสำคัญเสมอมา ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายภายนอกของสหภาพยุโรป พวกเราได้พูดคุยและสร้างความร่วมมือในหัวข้อที่เกี่ยวกับการอพยพกับประเทศนอกสหภาพยุโรป เราช่วยเหลือและสนับสนุนสถาบันที่ก่อตั้งเพื่อเด็กที่อพยพย้ายถิ่น และยังจัดสรรทุนสำหรับโครงการต่างๆ ที่ช่วยต่อต้านการค้ามนุษย์ รวมถึงจัดเวิร์คช็อปว่าด้วยการอพยพ ทั้งผู้หญิงและผู้ชายทีมีชื่อว่าเป็น ‘ผู้อพยพ’ ล้วนมีสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน โดยไม่ต้องคำนึงถึงกำเนิดและสถานภาพทางกฎหมาย เหล่านี้ล้วนเป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคนที่จะทำให้เกิดความมั่นใจได้ว่า พวกเขาจะได้รับความเคารพและการสนับสนุนในการได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานเหล่านี้
ผู้ชนะในการประกวดภาพในเหตุการณ์ข่าว ภาพที่ไม่เกี่ยวข้องกับข่าว และภาพชุด จะได้รับเงินสด 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ และตั๋วเครื่องบินไปกลับสำหรับที่นั่งชั้นประหยัดในการเดินทางไปยังประเทศในทวีปเอเซีย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสายการบินในกลุ่มสตาร์ อัลลิแอนซ์ ส่วนผู้ชนะการประกวดภาพในประเภทพิเศษ จะได้รับเงินรางวัล 2,000 ดอลลาร์สหรัฐ จากคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย และผู้ที่ได้รับรางวัล “ช่างภาพแห่งปี” จะได้รับเงินรางวัล 3,000 ดอลลาร์สหรัฐ และตั๋วเครื่องบินไปกลับสำหรับที่นั่งชั้นประหยัดสำหรับเดินทางในทวีปเอเซีย
การจัดการประกวดในครั้งนี้จะสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีไม่ได้ หากปราศจากการสนับสนุนจากบรรดาสปอนเซอร์และที่ขาดไม่ได้คือ มิตรภาพจาก ออนเอเชีย เอเจนซี่
ออนเอเซีย (www.onasia.com) เอเจนซี่ภาพข่าวชั้นนำของภูมิภาค เป็นตัวแทนช่างภาพทั่วภูมิภาคเอเชียกว่า 200 คน เพื่อที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในวงการอุตสาหกรรมสื่อ ออนเอเชียเตรียมเปิดตัวสื่อรูปแบบใหม่ในปี พ.ศ. 2556 นี้
บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) คือหนึ่งในบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในการผลิตโพลีเอสเตอร์รวมของโลกและเป็นผู้ผลิตอาหาร, เครื่องดื่ม, ผลิตภัณฑ์ดูแลเครื่องใช้ในครัวเรือนและส่วนบุคคล, ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ, ผลิตภัณฑ์ยานยนต์, วัสดุสิ่งทอและอื่นๆ ซึ่งอินโดรามาคือผู้สนับสนุนหลักของการแข่งขันเอฟซีซี ที่ให้การสนับสนุนทางด้านเงินรางวัลของการแข่งขันในปีนี้
คณะผู้แทนกรรมการสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย ตัวแทนดูแลกิจการของสหภาพยุโรปในประเทศไทยและให้การสนับสนุนประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนรวมทั้งการพัฒนาอื่นๆ โดยให้การสนับสนุนเงินรางวัลสำหรับประเภทการแข่งขันภาพเกี่ยวกับประเด็นการอพยพในปีนี้
ดีทแฮล์ม ทราเวล กรุ้ป มีประสบการณ์ในการให้บริการการเดินทางและท่องเที่ยวอย่างเต็มรูปแบบมานานถึง 55 ปี และเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวที่เก่าแก่และเป็นที่รู้จักมากที่สุดในเอเชีย โดยมีสำนักงานในหลายประเทศ อาทิ ภูฏาน กัมพูชา จีน ฮ่องกง อินเดีย ลาว มาเลเซีย มัลดีฟส์ พม่า สิงคโปร์ ศรีลังกา ไทย และเวียดนาม ดีทแฮล์ม ทราเวล กรุ้ป นั้นมีชื่อเสียงป็นที่รู้จักทั่วโลกในฐานะผู้ให้บริการการท่องเที่ยวระดับแนวหน้า และยังให้การสนับสนุนเงินรางวัลในการประกวดในปีนี้ด้วย
สตาร์อัลไลแอนซ์ เครือข่ายสายการบินระดับโลก ซึ่งประกอบไปด้วย สายการบินนานาชาติชั้นนำ รวมไปถึง การบินไทย ที่ให้การสนับสนุนรางวัลตั๋วเครื่องบินไปกลับในเอเชีย
โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์ (ทีคิวพีอาร์) บริษัทอิสระชั้นนำ บริการให้คำปรึกษา และเพิ่มมูลค่าให้กับลูกค้าภายในประเทศ ภูมิภาค และระดับโลก โดยทีคิวพีอาร์ให้การสนับสนุนทางด้านการจัดการ และให้คำปรึกษาทางด้านประชาสัมพันธ์ในการประกวดของปีนี้
บลูม ดิจิตัล โฟโต้ แล๊ป หนึ่งในแล็ปภาพถ่ายที่เชื่อถือได้มากที่สุดในประเทศไทย และเป็นผู้ให้การสนับสนุนกับทางสมาคมฯมายาวนาน ให้การสนับสนุนการจัดพิมพ์คุณภาพสูงสำหรับใช้ในนิทรรศการ
ดอคคิวเมนทารี่ อาทส์ เอเชีย เป็นองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหาผลกำไรในประเทศไทย ให้การสนับสนุนการผลิตและการเผยแพร่ภาพถ่ายและภาพยนตร์เชิงสารคดีในเอเชีย ทางองค์กรมีออฟฟิซสูง 2 ชั้น ในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้บริการจัดการแผนงานอื่นๆ เพื่อเผยแพร่การทำงานเชิงสารคดี รวมทั้งศูนย์ฝึกอบรมและยังมีหลักสูตร 3 เดือนสำหรับช่างภาพและผู้สร้างภาพยนตร์ ที่สนใจทำงานเกี่ยวกับวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม หรือ โครงการเพื่อสิทธิมนุษยชนด้วย
การประกวดครั้งนี้ได้รับเกียรติจากช่างภาพมืออาชีพที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางร่วมเป็นกรรมการตัดสินผู้ชนะในแต่ละประเภท
เดิร์ค คลอส ดำรงตำแหน่งบรรณาธิการภาพถ่าย ประจำภูมิภาคเอเซีย ของนิตยสารเสติร์นในฮ่องกงและกรุงเทพ เขารับตำแหน่งหัวหน้าแผนกภาพถ่ายของ Stern.de ตั้งแต่ปี 2544-2551 ก่อนย้ายไปรับตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายภาพถ่ายต่างประเทศของเอเจนซี่รูปภาพในกรุงแฮมเบิร์ก ตั้งแต่ปี 2540-2544 เขายังเคยทำงานเป็นผู้ช่วยช่างภาพและผู้จัดในกรุงอัมสเตอร์ดัมและแฮมสเบิร์ก เดิร์คสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวารสารศาสตร์มัลติมีเดียหลักสูตรนานาชาติ จากมหาวิทยาลัยบอลตัน
เดวิด ลองสตรีธ เป็นช่างภาพอิสระประจำอยู่ภาคเหนือของประเทศไทย ก่อนหน้านี้เคยทำงานกับสำนักข่าวเอพี (Associated Press – AP) ในฐานะช่างภาพและบรรณาธิการมากว่า 30 ปี ซึ่งประจำอยู่กรุงเทพฯ เป็นเวลากว่า 15 ปี หลายปีที่ผ่านมาเขาเข้าร่วมถ่ายภาพเหตุการณ์ประวัติศาสตร์มากมายตั้งแต่เหตุการณ์พอลพต ตลอดจนพิธีฝังศพของแม่ชีเทเรซา รวมถึงเคยทำงานในหลายประเทศ อาทิ อัฟกานิสถาน ปากีสถาน อิรัก คูเวต ซาอุดิอาระเบีย กัมพูชา เมียนมาร์ และสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้เขาเคยเป็นส่วนหนึ่งในทีมผู้ชนะรางวัลพูลิตเซอร์ ในการประกวดภาพข่าวการเลือกตั้งประธานาธิบดีของนายบิล คลินตัน เมื่อปี พ.ศ. 2535
พรชัย กิตติวงศ์สกุล เป็นช่างภาพของสำนักข่าวเอเอฟพี (Agence France Presse – AFP) ประจำอยู่ที่กรุงเทพฯโดยจะครอบคลุมการทำข่าวประจำภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นข่าวความรุนแรงทางการเมืองในกรุงเทพฯเมื่อพ.ศ. 2553 ข่าวความขัดแย้งบริเวณชายแดน ไทย-กัมพูชา ข่าวการต่อสู้ของชนกลุ่มน้อยในพม่า และข่าวความไม่สงบทางภาคใต้ของประเทศไทยด้วย
สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (เอฟซีซีที) จะจัดแสดงภาพถ่ายที่ได้รับรางวัลในประเภทต่างๆในวันที่ 22 มีนาคม – 27 เมษายน 2556
สถานที่ : เอฟซีซีที คลับเฮาส์ ชั้นเพนท์เฮ้าส์ อาคารมณียาเซ็นเตอร์
(เลขที่ 518/5 ถนน เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพ 10330 (เชื่อมกับบีทีเอส สถานีชิดลม))
เวลา : 10.00 น – 23.00 น. วันจันทร์ – ศุกร์
สอบถามรายละเอียดโทร : 02-652-0508-1
เว็บไซต์ : www.fccthai.com http://www.fccthai.com
รายชื่อผู้ชนะการประกวดและผลงานภาพถ่ายเชิงข่าว ครั้งที่ 6
ช่างภาพแห่งปี
ประเภทภาพชุดเล่าเรื่องโดย : วลาด โซคิน
“ชาวดานีคนสุดท้าย”
ประชากรชาวดานีที่อาศัยอยู่ในหุบเขาบาเลียม ซึ่งตั้งในจังหวัดเวสต์ปาปัว ประเทศอินโดนีเซีย ในอดีตพวกเขาใช้ชีวิตตามแบบยุคหินและกินเนื้อพวกเดียวกันเพื่อดำรงชีวิต แต่ในปี พ.ศ. 2522 เมื่อจังหวัดเวสต์ปาปัวร่วมกับประเทศอินโดนีเซีย นโยบายการตั้งถิ่นฐานภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อบังคับให้ผู้อาศัยละทิ้งขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของพวกเขา ส่งผลให้สินค้าราคาถูกจากประเทศอินโดนีเซียและจีนแพร่หลายทั่วภูมิภาค ประชากรที่นับถือขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมเริ่มลงน้อยลงเรื่อยๆ มีเพียงประชาชนในหมู่บ้านแถบใกล้วาเมนา เมืองหลวงของบาเลียม วาลเลย์เท่านั้นที่ยังใช้วิถีชีวิตแบบดานีดั้งเดิมอยู่ นักท่องเที่ยวต่างชาติยินดีจ่ายเงินให้พวกเขาสำหรับการถ่ายภาพและซื้อสินค้าหัตถกรรม ซึ่งหัวหน้าแต่ละหมู่บ้านยังคงใช้ฝักปกปิดอวัยวะเพศอยู่ แต่พวกเขาจะเก็บเงินออมที่หามาได้ไว้ในธนาคารและรักษาวิถีชีวิตในรูปแบบดั้งเดิมนี้เอาไว้เพียงเพื่อหารายได้เท่านั้น
ในภาพ อาซิค ฮาลู อายุ 67 ปี โพสต์ท่าอยู่ใกล้กับเครื่องเอทีเอ็ม ของธนาคารบีอาร์ไอ ในเมืองวาเมนา อาซิคทำรายได้จากนักท่องเที่ยวโดยเขาอนุญาตให้พวกเขาถ่ายภาพ แลกกับค่าตอบแทนราคา 50 เซ็นต์ ถึง 1 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อการถ่ายภาพหนึ่งครั้ง นอกจากนี้เขายังทำหน้าที่เป็นมัคคุเทศน์ท้องถิ่นอีกด้วย ทำให้เขามีรายได้มากถึง 10 ดอลลาร์สหรัฐ ถึง60 ดอลลาร์สหรัฐต่อวันและเขายังคงเก็บเงินที่หามาได้ไว้ในธนาคารต่อไป
ช่างภาพแห่งปี
ประเภทภาพชุดเล่าเรื่องโดย : วลาด โซคิน
“ความรุนแรงต่อผู้หญิงในปาปัว”
ในปาปัวนิวกินี สองในสามของผู้หญิงได้พบเจอกับความรุนแรงภายในครอบครัว และอีกประมาณร้อยละ 50 ของผู้หญิงได้ตกเป็นเหยื่อของการถูกคุกคามทางเพศ ความโหดร้ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเวทมนตร์พบมากในหลายจังหวัด ในกรณีของการเสียชีวิตที่ไม่คาดคิดในหมู่บ้าน ประชาชนมักจะกล่าวหาว่าผู้หญิงเป็นสาเหตุการตายและความทรมานเธอ โดยประชาชนจะบังคับให้ยอมรับว่าตัวเธอเป็นแม่มด ส่งผลให้เหยื่อเสียชีวิตจากการถูกลงโทษ ถึงแม้ผู้หญิงจะรอดชีวิตเธอก็มักจะถูกขับไล่ออกจากชุมชนเป็นการถาวร ถึงแม้ความรุนแรงจะกระจายอย่างกว้างขวางแต่รัฐบาลประเทศปาปัวนิวกินี ก็ไม่ได้มีโครงการที่จะช่วยเหลือผู้ที่ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงอันเกี่ยวข้องกับเวทมนตร์และไม่ได้จัดหาที่พักพิงให้ผู้หญิงที่ตกเป็นเหยื่อแต่อย่างใด
ในภาพ ราสต้า (อายุประมาณ 60 ปี) ถูกกล่าวหาว่าเป็นแม่มด จากคนในหมู่บ้านของเธอ หลังการตายของชายหนุ่มคนหนึ่งในปี พ.ศ. 2546 ระหว่างงานศพ ฝูงชนได้รุมล้อมราสต้า และเริ่มทุบตีเธออย่างรุนแรง เอาเชือกมารัดคอ ปาขวาน มีดและท่อนไม้ใส่ ราสต้าหลบหนีออกมาได้และวิ่งเข้าไปในบ้านของเธอ เธอถูกจับได้โดยหนึ่งในผู้ที่บุกรุกเข้ามาในบ้านของเธอ พวกเขาพยามยามที่จะตัดหัวของราสต้าด้วยมีด แต่เธอก็พยามยามปกป้องตัวเองด้วยแขนซึ่งเป็นเหตุให้เธอต้องสูญเสียแขนไป ราสต้ารอดมาได้จากเหตุการณ์ในวันนั้น แต่ต้องออกจากหมู่บ้านไปแบบถาวร สามีของเธอได้รับเงินจำนวน 600 คีน่า จากผู้ใหญ่ในหมู่บ้านเพื่อชดเชยที่ได้ทำร้ายภรรยาของเขา แต่ราสต้ากลับไม่เคยได้รับเงินจำนวนนั้นจากสามีของเธอเลย และเธอต้องขอความช่วยเหลือจากญาติของเธอในหมู่บ้านคุดจิพที่ซึ่งเธออาศัยอยู่ในปัจจุบัน
เกี่ยวกับช่างภาพ
วลาด โซคิน เป็นช่างภาพสารคดีลูกครึ่งรัสเซีย-โปรตุเกส อาศัยอยู่ที่เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย เขาเรียนการถ่ายภาพที่ IADE Creative University เมืองลิสบอน ประเทศโปรตุเกส สาขาช่างภาพหนังสือพิมพ์และช่างภาพเชิงสารคดี หลักสูตร TCI Emerging Photographer Program เขาเคยเข้าร่วมกิจกรรม XXI Eddie Adams Workshop ณ กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา รวมถึงกิจกรรมอื่นๆอีกมากมาย เขายังเคยเป็นตัวแทนให้กับ Agentur Focus เอเจนซี่ภาพถ่ายของประเทศเยอรมนี และเคยร่วมงานกับองค์การสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (the United Nations Human Rights organization – OHCHR) ผลงานภาพถ่ายของเขาถูกจัดแสดงตามประเทศต่างๆ อาทิ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย โปรตุเกส จอร์เจีย และตุรกี รวมถึงห้องจัดแสดงภาพถ่าย VII Agency ณ กรุงนิวยอร์ก และเทศกาลภาพถ่าย the Visa Pour L’Image ณ เมืองแปร์ปิยอง นอกจากนี้เขายังได้รับรางวัลมากมาย และงานของเข้ายังได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์และนิตยสารทั่วโลก อาทิ เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก, จีอีโอ, อินเตอร์เนชั่นแนล ฮาราลด์ ทริบูน, มารี แคลร์ และอื่นๆ อีกมากมาย
ภาพในเหตุการณ์ข่าว:
รางวัลที่หนึ่ง : มูเนียร์ อัซ ซามาน
“ชาวมุสลิมโรฮิงญา”
ชาวมุสลิมโรฮิงญา ขณะกำลังพยายามจะข้ามแม่น้ำนาฟไปยังประเทศบังคลาเทศ เพื่อหนีจากความรุนแรงในประเทศพม่า ขณะมองออกไปนอกเรือ ในเมืองเท็คน๊าฟ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555 โดยชาวมุสลิมโรฮิงญาอย่างน้อย 50 คน เสียชีวิตในรัฐยะไข่ ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านฝั่งตะวันตกของประเทศพม่า จากเหตุการณ์ความรุนแรงเกี่ยวกับการแบ่งแยก และการโจมตีแก้แค้นระหว่างชาวพุทธ และชาวมุสลิมโรฮิงญาที่ยืดเยื้อยาวนานกว่าหนึ่งสัปดาห์
เกี่ยวกับช่างภาพ
มูเนียร์ อัซ ซามาน ช่างภาพจากกรุงดักกา ประเทศบังคลาเทศ เริ่มต้นอาชีพช่างภาพด้วยการถ่ายงานให้สำนักข่าวท้องถิ่นตั้งแต่ พ.ศ. 2548 หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับสูงจาก the South Asian Institute of Photography (Pathshala) พ.ศ. 2550 เขาได้เริ่มทำงานกับ DrikNEWS และใน พ.ศ. 2551 เขาได้เข้าร่วมงานกับ สำนักข่าวเอเอฟพี
ภาพในเหตุการณ์ข่าว:
รางวัลชมเชย: คริสตอฟ อาชชงบรูต
“การหาเสียงของนางออง ซาน ซูจี”
นางอองซานซูจี (กลาง) ผู้นำพรรคฝ่ายค้านพม่า กำลังโบกมือขณะที่รถเคลื่อนฝ่าฝูงชนผู้สนับสนุน พร้อมกับที่เธอมาถึงการชุมนุมทางการเมืองในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555 ซึ่งนี่เป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญรณรงค์การเลือกตั้งของเธอ ณ สนามกีฬา ในเมืองปะเต็นซึ่งอยู่ห่างจากเมืองย่างกุ้งขึ้นไปทางด้านตะวันตกเป็นระยะทางประมาณ 200 กิโลเมตร
เกี่ยวกับช่างภาพ
คริสตอฟ อาชชงบรูต เกิดที่ประเทศฝรั่งเศสและศึกษาทางด้านภูมิศาสตร์เขตร้อนก่อนจะผันตัวเองมาเป็นช่างภาพเมื่อปลายปี พ.ศ. 2533 เขาเป็นช่างภาพอิสระประจำกรุงปารีส ก่อนที่จะมาทำงานกับสำนักข่าวเอเอฟพี (Agence France Presse – AFP) เมื่อปี พ.ศ. 2543 ในฐานะช่างภาพประจำกรุงปารีส คริสโตฟ์ย้ายไปประจำการอยู่ที่กรุงนิวเดลี เมื่อปี พ.ศ. 2548 ในตำแหน่งช่างแต่งภาพและช่างภาพ หลังจากนั้นย้ายมาประจำการที่กรุงเทพฯ พ.ศ. 2551 และได้รับตำแหน่งหัวหน้าช่างภาพของสำนักข่าวเอเอฟพีประจำประเทศไทย เมียนมาร์ กัมพูชา เวียดนาม และลาว เมื่อปี พ.ศ. 2553
ภาพในเหตุการณ์ข่าว:
รางวัลชมเชย: ไกเซอร์ ไฮเดอร์
“เหตุการณ์ดินถล่มที่บังกลาเทศ”
อาช่าโมนี (อายุ 1 ปีครึ่ง) ได้เสียชีวิตพร้อมกับครอบครัวในเหตุการณ์ดินถล่มครั้งล่าสุดในเมืองจิตตะกอง ประเทศบังกลาเทศ โดยจะมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดินถล่มทุกปี
เกี่ยวกับช่างภาพ
ไกเซอร์ ไฮเดอร์ เกิดที่ประเทศบังคลาเทศ และชื่นชอบการทำงานเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางสังคมด้านมนุษยธรรมและการถ่ายภาพเชิงท่องเที่ยว เขาได้เข้าศึกษาการถ่ายภาพที่สถาบัน Pathshala South Asian Media Academy เขาได้อุทิศตัวให้กับการท่องเที่ยวและการถ่ายภาพ รวมถึงเรื่องราวเด็กพิการ ณ ประเทศเนปาลในปี พ.ศ. 2553 โครงการล่าสุดของเขาคือ “A Hall Full of Cinema” ซึ่งมีการจัดแสดงในเทศกาล Angkor Photo Festival และ Delhi Photo Festival ปัจจุบันเขากำลังทำการศึกษาเกี่ยวกับประเด็นแผ่นดินถล่มในเมืองจิตตะกอง
ภาพที่ไม่เกี่ยวข้องกับข่าว:
รางวัลที่หนึ่ง: อเล็กซ์ โฮฟฟอร์ด
“การจับปลาด้วยการดำน้ำแบบอัดอากาศ”
โจเอล กอนซากา นักประดาน้ำ จากเรือประมงฟิลิปปินส์ที่มีชื่อว่า “Vergene” เขามีอาชีพทำงานประมงปลาทูน่า โดยใช้เพียงแค่ท่ออากาศพลาสติกเชื่อมต่อกับคอมเพรสเซอร์ขึ้นสนิมบนเรือประมงในการทำงานเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ.2555 บางทีวิธีดังกล่าวอาจเป็นการจับปลาที่อันตรายที่สุด โดยการใช้ท่อพลาสติกเชื่อมต่อกับคอมเพรสเซอร์เป็นที่รู้จักในประเทศฟิลิปปินส์ ภายใต้ชื่อเรียกว่า “ปาลิง (Pa-aling)” ซึ่งกอนซากาให้ข้อมูลว่า เขาใช้เวลาอยู่บนเรือหลายเดือนในแต่ละครั้ง ทำให้เห็นการบาดเจ็บร้ายแรงและเสียชีวิตบ่อยครั้ง ซึ่งสาเหตุการเสียชีวิตที่พบมากที่สุด คือ การเสียชีวิตจากการดำน้ำด้วยวิธี “ปาลิง (Pa-aling)” เนื่องจากอาการป่วยจากความดันที่ลดลงหรือ “the bends” วิธีการจับปลาที่เป็นอันตราย เช่น วิธีการ “Pa-aling” ถือว่าเป็นเหตุหลักที่เกี่ยวข้องกับวิกฤตการจับปลาปริมาณมากเกินไปในแถบในประเทศฟิลิปินส์และรอบนอก
เกี่ยวกับช่างภาพ
อเล็กซ์ โฮฟฟอร์ด ช่างภาพชาวแคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ซึ่งประจำการอยู่ที่ฮ่องกง ผลงานส่วนใหญ่ของเขาเกี่ยวข้องกับประเด็นการอนุรักษ์ธรรมชาติทางทะเล อเล็กซ์ออกเดินทางทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก เพื่อทำการศึกษาเกี่ยวกับการล่าปลาฉลาม การตกปลาทูน่ามากเกินไปและมลพิษจากพลาสติก ปัจจุบันเขาเป็นผู้สื่อข่าวชั่วคราวให้กับสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อม (European Pressphoto Agency – EPA)
ภาพเกี่ยวกับประเด็นการอพยพ :
รางวัลที่หนึ่ง: เจมส์ โรเบิร์ต ฟูลเลอร์
“จากพม่าสู่เมืองบัฟฟาโล”
จากพม่าสู่เมืองบัฟฟาโล : ตั้งถิ่นฐานใหม่ยังประเทศสหรัฐอเมริกา – บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการระยะยาวเกี่ยวกับครอบครัวชาวกะเหรี่ยงที่อพยพไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา และวิธีที่พวกเขาเรียนรู้ที่จะปรับตัวใช้ชีวิตที่นั่นจากสถิติของประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่าจากปี พ.ศ. 2549 ถึงปลายปี พ.ศ.2554 มีผู้ลี้ภัยจำนวน 83,902 คน จากประเทศพม่าอพยพมาตั้งถิ่นฐานยังประเทศสหรัฐอเมริกาโดยคิดเป็นกว่าร้อยละ 27 ของผู้ลี้ภัยที่เดินทางมายังประเทศ สหรัฐอเมริกา เอกสารของโครงการดังกล่าวแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ภายในครอบครัว และกระตุ้นพัฒนาการที่แตกต่างกันของสิ่งพวกเขาเรียกว่า “บ้าน” และเมื่อถึงเวลาที่พวกเขามีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับการเป็นพลเมืองสหรัฐฯและได้รับคำเชิญจากนางอองซานซูจี ที่เรียกร้องให้ชาวพม่าพลัดถิ่นกลับคืนสู่บ้านเกิด พวกเขาได้รับการนำเสนอทางเลือกว่าจะดำเนินชีวิตที่ไหนอย่างไรในอนาคต
ในภาพ เชอร์ เนย์ตู (อายุ 19 ปี) พูดคุยกับเด็กๆ ในพื้นที่ซึ่งอยากรู้เกี่ยวกับรถจักรยานยนต์ขนาดเล็กของเขาในเมืองบัฟฟาโล รัฐนิวยอร์ก
เกี่ยวกับช่างภาพ
เจมส์ โรเบิร์ต ฟูลเลอร์ เป็นช่างภาพชาวอังกฤษประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 โดยประจำการที่จังหวัดเชียงใหม่ เจมส์ได้ร่างบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับความขัดแย้งทางเชื้อชาติบริเวณชายแดน ไทย-กัมพูชา มวยไทยพื้นบ้านในถิ่นชนบทของประเทศไทย และประเด็นปัญหาสังคมของประเทศกัมพูชา รูปภาพจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิบริเวณมหาสมุทรอินเดียได้รับการตีพิมพ์ใน Things As They Are หนังสือนิตยสารภาพถ่ายที่มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 โดย World Press Photo รูปภาพเหล่านั้นยังถูกนำไปแสดงในเทศกาล Visa Pur L’Image อีกด้วย เจมส์ทำงานร่วมกับ เดอะ นิวยอร์ก ไทม์ส เดอะ การ์เดี้ยน ปารีส แมช ซิดนีย์ มอร์นิ่ง ฮาราลด์ และมารี แคลร์ ปัจจุบันเขากำลังทำโครงการเชิงวิชาการเกี่ยวกับการอพยพตั้งถิ่นฐานของชาวกะเหรี่ยงและกองกำลังชาติพันธุ์ของประเทศพม่า
ภาพชุดเล่าเรื่อง:
รางวัลที่หนึ่ง: คาซูฮิโกะ มัตสึมูระ
“ความงามอันลุ่มลึกของญี่ปุ่น”
โทมิทาเอะ อายุ 16 ปี กำลังเล่นเกมโทระ โทระ อยู่กับแขกของเธอ โดยเธอรับบทเป็นเสือและแขกของเธอรับบทเป็นผู้บัญชาการทหาร ในเกมส์นี้แขกของเธอเป็นฝ่ายชนะ เพราะว่าผู้บัญชาการทหารมีอำนาจที่จะชนะเสือ
นี่คือเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตของ ไมโกะ และไกโกะ ในเมืองเกียวโต ที่ประกอบด้วยชุมชนทั้งสิ้น 5 ชุมชน ผู้หญิงหลายคนปรารถนาที่จะเป็นไมโกะ ก็จะมาที่ชุมชนเหล่านี้ แต่ส่วนใหญ่พวกเธอก็จะจากไปอยากรวดเร็วเพราะความเข้มงวดในการใช้ชีวิตของไม่โกะ และไกโกะมีความเข้มงวด พวกเขาต้องต้อนรับแขก โดยเฉพาะผู้ชายที่มีฐานะร่ำรวยในงานปาร์ตี้สุดหรูสไตล์ญี่ปุ่น ดังนั้นพวกเธอจึงต้องสง่างาม สุขภาพนุ่มนวล สวยงาม และสนุกสนาน พวกเธออาศัยอยู่ในบ้านกับมาดาม โดยได้รับการฝึกฝนวิธีการปฏิบัติตนให้เป็นไมโกะกับมาดามซึ่งมันเป็นงานที่หนักมาก หลังจากที่ได้เป็นไมโกะหลายปี เมื่อพวกเธอมีอายุเกิน 20 ปี พวกเธอจะกลายเป็นไกโกะ
เกี่ยวกับช่างภาพ
คาซูฮิโกะ มัตสึมูระ เริ่มทำงานเป็นนักข่าวตั้งแต่ พ.ศ. 2546 ให้หนังสือพิมพ์ เกียวโต ชิมบุน ประจำเมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เขาได้เริ่มเป็นช่างภาพมืออาชีพตั้งแต่ พ.ศ. 2548 เขายังเดินหน้าทำข่าวท้องถิ่น ข่าวกีฬาและอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง
รางวัลชมเชย
ประเภทภาพที่ไม่เกี่ยวข้องกับข่าว : อัคลาส อุดดิน
“ผู้ใช้แรงงานรายวันชาวบังคลาเทศ”
ผู้ใช้แรงงานดื่มน้ำจากขวดพลาสติก ขณะที่ทำงานอยู่ในโรงงานรีไซเคิลพลาสติกขนาดเล็กที่ ตั้งอยู่ในเมืองซิลเฮต เพื่อดำรงชีวิต งานของเธอ คือการแยกขวดสีที่แตกต่างกันก่อนนำขวดไปล้างทำความสะอาดแล้วทำให้แห้งเพื่อแลกกับค่าจ้างวันละประมาณ 100 ถึง 120 ทากา (1.25 ดอลลาร์สหรัฐถึง 1.50 ดอลลาร์สหรัฐ) เธอยังเก็บเศษน้ำมันปรุงอาหารที่หลงเหลือในขวดกลับไปบ้านเพื่อปรุงอาหารให้กับครอบครัวของเธออีกด้วย โดยเกือบร้อยละ 60 ของประชากรทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในประเทศบังคลาเทศมีคุณภาพชีวิตต่ำกว่าระดับความยากจน และมีชาวบ้านอีกเป็นจำนวนมากเข้ามาในเมืองเพื่อหางานทำ
เกี่ยวกับช่างภาพ
อัคลาส อุดดิน เริ่มต้นจากการเป็นช่างภาพอิสระในปี พ.ศ. 2538 แม้ว่าเขาจะมีชื่อเสียงโด่งดังในด้านการถ่ายภาพเชิงศิลปะ แต่เขาก็ยังทำงานถ่ายภาพเชิงสารคดีทางสังคมและงานแต่งงาน รวมถึงงานถ่ายภาพองค์กรต่างๆตามที่ได้รับมอบหมาย เขาได้รับการรับรองด้วยรางวัลมากมายรวมถึง the Asahi Shimbun award เขายังเคยได้รับรางวัลในการถ่ายภาพจาก AFIAP หรือ Artist International Federation of Photographic Art จาก FIAP ประเทศอิตาลีเมื่อ พ.ศ. 2553
รางวัลชมเชย
ประเภทภาพที่ไม่เกี่ยวข้องกับข่าว : แอนดริ แทมบูนัน
“ความเป็นไปได้อันน้อยนิด: เชื้อเอชไอวีในปาปัว”
เกี่ยวกับช่างภาพ
แอนดริ แทมบูนัน เกิดที่จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ก่อนจะย้ายไปอยู่ที่สหรัฐอเมริกาตอนอายุ 10 ปี เขาสำเร็จการศึกษาด้านการถ่ายภาพจาก Sacramento State University สาขาวิจิตรศิลป์ หลังจากที่ทำงานมาหลายปี เขาลาออกจากที่ทำงานและได้เดินทางท่องเที่ยวรอบโลกตั้งแต่ พ.ศ. 2553 เขาได้เดินทางกลับมาที่ประเทศสหรัฐฯ อีกครั้งในปี พ.ศ. 2552 และขายทรัพย์สมบัติของเขาเกือบทั้งหมดและไล่ล่าความฝันด้านการถ่ายภาพของตนเอง โดยการให้ความสำคัญกับประเด็นเชิงสารคดีทางสังคม เขายังได้จัดทำสารคดีในประเทศสหรัฐอเมริกา อินโดนีเซีย จีน อินเดีย เฮติ และไทย ปัจจุบันเขาประจำการอยู่ที่จาการ์ตา เน้นการทำงานในด้านปัญหาสังคมที่น้อยคนจะรับรู้และไม่ได้รับความสนใจจากสื่อเท่าที่ควร ภาพถ่ายของเขาได้รับการรับรองจาก Pictures of the Year International (POYi) Emerging Vision Incentive, Reminders Project Asian Photographers Grant, และ International Photography Awards (IPA)