โครงการศิลปะสู่ชุมชน ครั้งที่ 8 สภาวการณ์-มนุษย์-เมือง: บทสนทนาในถ้ำ Metro-Sapiens: dialogue in the cave
การเรียนรู้จากสิ่งที่เคยเกิดขึ้นแล้ว หรือการกล้าเผชิญหน้ากับความจริงที่กำลังปรากฎ กระทั่ง การยอมจำนนต่อความไม่รู้ของตน สิ่งเหล่านี้ล้วนผลักดันมนุษย์สู่ ‘ความก้าวหน้า’ที่เราต่าง แสวงหาเพื่อดำรงเผ่าพันธุ์
ความก้าวหน้าที่ทำให้เราหันหลังให้กับคูหาธรรมชาติที่มืดมิดและ ชื้นแฉะ พึ่งพิงสิ่งประดิษฐ์ที่ถูกรังสรรค์ขึ้นจากสติปัญญาของตน สิ่งประดิษฐ์ที่ทำหน้าที่ปกป้อง เราจากความยากลำบาก ปกป้องเราจากความกลัวในการอยู่ร่วมกันจำนวนมากทำให้ เราสามารถอาศัยอยู่ในที่โล่งแจ้งโดยไม่คลางแคลงใจต่อแสงสว่างของดวงอาทิตย์ หรืออีกนัย หนึ่ง สัญชาติญาญของการเอาชนะต่อธรรมชาติ คือสิ่งที่นำพาเราออกมาสู่โลกภายนอกอัน สว่างไสวทั้งกลางวันและกลางคืน และเรามักเรียกพื้นที่อันเกิดจากความเฉลียวฉลาดนั้นว่า
‘เมือง’ สิ่งประดิษฐ์อันน่าอัศจรรย์ ท่ามกลางกระแสของโลกปัจจุบัน นี่คือการชวนเชิญให้ผู้สนทนาและผู้รับฟังได้มีโอกาสหวนกลับ มาพบปะกันในพื้นที่ที่เป็นดั่งห้องแสดงทางศิลปะอันเก่าแก่ เช่นเดียวกับการเดินทางกลับไปเยี่ยม บ้าน เราจะใช้เวลาสักเศษเสี้ยวหนึ่งของประสบการณ์เดินออกจากพิพิธภัณฑ์ทางศิลปะที่แข็ง กระด้างกลางใจเมือง สู่หุบห้องที่มีผิวพื้นที่มิอาจคาดเดาได้ของธรรมชาติ สู่อิสระภาพจากกับดัก ทางความเชื่อต่างๆในเมืองใหญ่
หากการสนทนาของเราจะเกิดขึ้นในถ้ำ แน่นอนว่าไม่มีบทสนทนาใดๆ จะเร้าใจไปกว่าการได้ พรรณนาเรื่องราวการผจญภัยของแต่ละคน ให้ผู้ที่หิวกระหายไคร่รู้ประสบการณ์ของผู้อื่นให้ได้ สัมผัส และการนำเอาภาพแห่งความเป็นจริงของมนุษย์มากล่าวถึงอีกครั้งในพื้นที่คับแคบและ แสนจำกัด การสื่อสารที่ไร้กำแพงทางรูปแบบย่อมทำให้เรื่องราวที่บอกเล่าสู่กันฟัง กลายเป็น เรื่องที่ไม่ต่างมิติของความเข้าใจ
เรื่องราวหลายเรื่องราว อาจนำมาซึ่งคำถามว่า เรากำลังอยู่ที่จุดไหนของการวิวัฒน์ทางสังคม มนุษย์ หรือสภาวการณ์ของเมืองใหญ่ ได้ทำหน้าที่เป็นเบ้าหลอมจิตใจของเราให้ดีงามขึ้นหรือไม่ เพียงใด และคำตอบอันหลากหลายอาจทำให้เกิดการตระหนักรู้ถึงการมีตัวตนของผู้อื่น ซึ่ง อย่างน้อยก็นำไปสู่การแสวงหาสารัตถะของความเป็นมนุษย์ อย่างปราศจาก ‘ อคติ’ ต่อกัน
โครงการศิลปะสู่ชุมชน ครั้งที่ 8 สภาวการณ์-มนุษย์-เมือง: บทสนทนาในถ้ำ Metro-Sapiens: dialogue in the cave
ประเภทของผลงานศิลปะ : ประติมากรรมแสง, ศิลปะจัดวางเสียง, ประติมากรรมสื่อประสม, ภาพยนต์ศิลปะ, หนังเงาร่วมสมัย, ศิลปะการแสดงสด,
ดนตรีสมัยใหม่, การแสดงคนตรีพื้นบ้าน การแสดงหุ่นละคอนเล็กร่วมสมัย, กิจกรรมร่วมทางศิลปะ ฯลฯ
ศิลปินและจำนวนผลงาน : ศิลปิน 26 คน รวมผลงานประมาณ 30 ชิ้น (มานพ มีจำรัส, วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์, อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ, กมล เผ่าสวัสดิ์, Hsu Chia Wei, ETC ไปยานใหญ่, อโณทัย นิติพน, Jean-David, Stephane Caillouet, ไมเคิล เชาวนาศัย, ศุภร ชูทรงเดช, Nuts Society and Lumiere Twins, วัชระ ประยูรคำและหุ่นละครเล็กคำนาย, JiandYin พรพิลัยและจีรเดช มีมาลัย, Don Maralit Salubayba, Lin Chi Wei,
ยุรี เกนสาคู และ เมธี น้อยจินดา, WAFT-LAB, นายเชยและนายราชันย์ กล่อมเกลี้ยง, Moe Satt, อิ่มหทัย สุวัฒนศิลป์, ปรียาชนก เกษสุวรรณ, ชูศักดิ์ ศรีขวัญ, ประเสริฐ ยอดแก้ว)
ภัณฑารักษ์ : สาครินทร์ เครืออ่อน
ภัณฑารักษ์ร่วม : JiandYin พรพิไล และจิรเดช มีมาลัย
ผู้ดำเนินโครงการ : โครงการห้องทดลองทางศิลปะแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร (SAL),หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำนักงานศิลปะและวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม วัดจอมบึง และเทศบาลอำเภอจอมบึง, สำนักงานสวนรุกชาติถ้ำจอมพล
วันที่ : 6-8 เมษายน 2556
สถานที่ : ถ้ำจอมพล อ.จอมบึง จ.ราชบุรี
ติดต่อโทร : 089-915-9150 (ส้ม)
อีเมล์ : metrosapiens2013@gmail.com
การเดินทางมาที่ถ้ำจอมพล
ที่ตั้ง : บริเวณสวนรุกชาติถ้ำจอมพล อ.จอมบึง จ.จอมบึง จ.ราชบุรี ระยะทางจากกรุงเทพฯ 130 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 50 นาที โดยประมาณ
วิธีเดินทาง
1) รถ บัสบริการ โดยสารฟรี จากหน้าประตูมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ ออกเวลา 9.00 น. เดินทางกลับเวลา 21.00 น. 50 ที่นั่ง (50 ที่นั่ง เฉพาะวันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน)
2) รถตู้โดยสาร จากหน้าโรงแรมรัตนโกสินทร์(โรงแรมรอเยล) วิ่งตรง กรุงเทพฯ-จอมบึง-ออกทุกๆ 30 นาที แจ้งผู้ขับให้ส่งถ้ำจอมพล
อัตราค่าโดยสารคนละ100 บาท *ไม่แนะนำให้ใช้บริการรถบัสประจำทาง เพราะต้องไปต่อรถที่จังหวัดราชบุรี
3) รถส่วนตัว ใช้เส้นทาง กรุงเทพฯ-ราชบุรี-อำเภอจอมบึง เส้นทางถนนบรมราชนนี ทางหลวงหมายเลข 338 และหมายเลข 4 ไปจังหวัดนครปฐม ต่อเนื่องจนถึงจังหวัดราชบุรี ผ่านนอกเมืองราชบุรีมุ่งหน้าจังหวัดเพชรบุรี เลี้ยงขวาแยกเจดีย์หัก เส้นทางหมายเลข 3291 เลี้ยวซ้าย ถนนหมายเลข 3087 ณ สามแยกเขางู จนถึงอำเภอจอมบึง ผ่านมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง เข้าสวนรุกชาติถ้ำจอมพล