วิรัตน์ รัตตากร

แรงบันดาลใจใหม่ๆ หาได้จากสภาพแวดล้อมรอบตัว โอกาสสร้างสรรค์งานเกิดขึ้นได้จากการตกผลึกทางความคิด สถาบันที่จะสามารถดึงศักยภาพและบ่มเพาะความคิดเชิงสร้างสรรค์จากตัวเราออกมาได้ เห็นทีจะต้องนึกถึงมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ที่เป็นมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์ เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกของประเทศไทยที่พร้อมด้วยความแข็งแกร่งของหลักสูตร อาจารย์ผู้สอนมีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ และความพร้อมของสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อแรงบันดาลใจในการจุดประกายสร้างสรรค์งาน รวมไปถึงความทันสมัยเป็นสากล คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงได้เป็นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แนวใหม่ที่เพียบพร้อมที่สุด ด้วยหลักสูตรสากลสองภาษาและสิ่งแวดล้อมสร้างสรรค์ พร้อมทั้งได้เรียนรู้จากสถาปนิกแถวหน้าของวงการ เพื่อสร้างโอกาสให้โดดเด่นกว่าใคร

อาจารย์วิรัตน์ รัตตากร คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบ ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี อาจารย์วิรัตน์ได้เห็นถึงความเติบโตในวิชาชีพด้านการออกแบบ และประเมินความน่าจะเป็นของวงการสถาปัตยกรรมได้เป็นอย่างดี

ซึ่งอาจารย์วิรัตน์ได้เข้ามาเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ภาควิชาการออกแบบภายใน คณะศิลปกรรมศาสตร์ พ.ศ. 2539 และในปี พ.ศ. 2544 รับผิดชอบในฐานะเป็นหัวหน้าภาควิชาการออกแบบภายใน เป็นผู้ช่วยคณบดี เป็นรองคณบดีอยู่ในคณะศิลปกรรมศาสตร์ จนถึง พ.ศ.2554
ช่วงที่ทำงานอาจารย์ได้ทำกิจกรรมทางสังคมมากมาย ในปีพ.ศ. 2543-2546 จึงได้เป็นอุปนายกสมาคมมัณฑนากร ต่อมา ในปีพ.ศ. 2543 ได้รับตำแหน่งสภาสถาปนิก และได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการสภาสถาปนิก และเป็นรองนายกของสภาสถาปนิก สภาสถาปนิกคนที่ 2 ทำหน้าที่ด้านวิชาการหรือทางด้านการศึกษาสถาปัตยกรรมในการจัดการเรียนการสอนทางด้านสถาปัตยกรรมต่างๆของสถาบันการศึกษาในประเทศ นอกจากนั้นยังเป็นกรรมการพัฒนาหลักสูตรต่างๆของคณะสถาปัตยกรรมในมหาวิทยาลัยต่างๆ

การได้รับรางวัลการันตีจำนวนมาก ทำให้อาจารย์สามารถช่วยพัฒนาหลักสูตรให้กับมหาวิทยาลัยอื่นๆได้ อาจารย์วิรัตน์พร้อมๆกับอาจารย์หลายท่าน ซึ่งเป็นวิชาชีพสถาปนิก และออกแบบภายใน จึงเกิดแรงบันดาลใจที่จะก่อตั้งคณะวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ขึ้นในมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เพราะเล็งเห็นว่ามหาวิทยาลัยกรุงเทพมีศักยภาพในการที่จะผลิตบัณฑิตสาขาทางด้านสถาปัตยกรรม ในหลายสาขาเพิ่มขึ้น และในปี พ.ศ.2555 ทางสภามหาวิทยาลัยก็ได้อนุมัติให้จัดตั้งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ขึ้น

เกี่ยวกับคณะสถาปัตยกรรมของ ม กรุงเทพ
เป็นคณะสถาปัตยกรรมหลักสูตรแนวใหม่ ที่ออกแบบรับเทรนด์โลกซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มหาวิทยาลัยกรุงเทพมีพร้อมทุกอย่างเพื่อเตรียมให้บัณฑิตจบไปมีคุณภาพในระดับแนวหน้า นักศึกษาจะได้เรียนรู้งานจากสถาปนิกที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย ตัวจริง เสียงจริง ทำงานจริง อาจารย์ที่เข้ามาสอนเป็นผู้เชี่ยวชาญตัวจริง พร้อมหลักสูตรสากลสองภาษาที่ทันสมัย รองรับ AEC และสามารถทำงานได้ในระดับสากล ผลงานไม่ใช่แค่เพื่อคนไทย แต่ต้องไปไกลถึงระดับโลก นอกจากนั้นหลักสูตรได้ผสมผสานองค์ความรู้ต่างๆ ไว้ด้วยกัน ซึ่งนำไปสู่การสร้างทัศนคติที่เปิดกว้าง อิสรเสรีทางความคิด สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม ที่สำคัญสถานที่ที่เอื้อต่อการสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งาน อาทิ ห้องปฏิบัติการออกแบบ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องพิมพ์งาน ห้องวัสดุก่อสร้าง ห้องทำแบบจำลอง ตลอดจนไปถึงห้องต่างๆ ที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวกับการเรียนโดยตรง แต่ก็มีความเป็นสถาปัตยกรรมที่งดงามและน่าศึกษากระจายอยู่เต็มมหาวิทยาลัย อาทิ อาคาร BU Diamond ที่ได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่นระดับนานาชาติ อาคาร Tourism Tower สุดยอดอาคารด้านการบริการ

คณะสถาปัตยกรรมมีสองสาขา คือสาขาวิชาสถาปัตยกรรม และสาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน ผมได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2555 และในอนาคตเราจะเปิดสาขาด้านภูมิสถาปัตยกรรม ด้านสถาปัตยกรรมการวางผังเมือง และการออกแบบชุมชนเมืองเพิ่มขึ้น

ปัจจุบันเรามีสถาบันการศึกษาทางด้านสถาปัตยกรรมอยู่ 30 กว่าแห่งในประเทศไทย จากในช่วง 20 ปีก่อนมีเพียง 3 แห่ง แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการในการเติบโตของภาคก่อสร้าง ภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมันก็สอดคล้องกับภาคธุรกิจ บริการอุตสาหกรรม ท่องเที่ยว การแพทย์ การสาธารณสุข ปัจจุบันมีคนที่สำเร็จการศึกษาทางด้านสถาปัตยกรรม อินทีเรียดีไซน์ต่อปีประมาณ 1,000 คน ภูมิสถาปัตย์ประมาณ 300 คนต่อปี ซึ่งทางด้านผังเมืองอาจจะมีคนจบจำนวนน้อย เพราะยังไม่เป็นที่รู้จักกว้างขวาง แต่จริงๆจำนวนงานเยอะ

สำหรับ ม.กรุงเทพ เรามีอาคารที่มีอัตลักษณ์ ทั้งทันสมัยและนำสมัยเพื่อใช้ประโยชน์ทางด้านการศึกษา ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่นักศึกษาสถาปัตยกรรมสามารถใช้เพื่อการเรียนรู้และสร้างแรงบันดาลใจ นักศึกษาคณะสถาปัตย์จากที่อื่นๆมีการมาดูงานอาคารเพื่อการศึกษาในมหาวิทยาลัยกรุงเทพโดยตลอด เรามีอาคารที่สร้างขึ้นใหม่ทุกๆ 2 – 3 ปี แต่ละครั้งเราก็พิถีพิถันในการวางแนวความคิดในการสร้างเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ได้สูงสุด เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญที่เรามีพร้อมอยู่แล้ว

ถัดไปคือทรัพยากรบุคคล การที่เรามีเครือข่ายที่เป็นนักวิชาชีพ เป็นสถาปนิกนักออกแบบระดับประเทศ มาช่วยเป็นอาจารย์พิเศษให้อย่างต่อเนื่อง อาทิ คุณประภากร วทานยกุล ประธาน บริษัท A49 คุณนิธิ สถาปิตานนท์ เป็นประธานที่ปรึกษาตั้งแต่ร่างหลักสูตร มาเลคเชอร์ให้เราปีนึงหลายครั้ง หลายวิชาที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการขั้นตอนการออกแบบต่างๆ เป็นอาจารย์ที่นำบรรยายเวลาพานักศึกษาไปดูงานโครงการ ก่อสร้างอาคารต่างๆได้ความรู้ทั้งเด็กทั้งอาจารย์ ถัดมา คุณสมิตร โอบายะวาทย์ นายกสมาคมสถาปนิกสยามคนปัจจุบัน ซึ่งเป็นอาจารย์ของเรามาตั้งแต่สาขาการออกแบบภายใน ช่วยตรวจวิทยานิพนธ์ สอนในวิชาออกแบบขั้นสูงมาโดยตลอด คุณพงศ์เทพ สกุลคู มีประสบการณ์ในต่างประเทศ ด้านโรงแรม รีสอร์ท ถัดไปก็คุณธีรานุช กรรณสูต วงศ์ไวศยวรรณ ด้านการออกแบบภายใน เป็นที่ปรึกษาตรวจธีสีส ด้านสถาปัตยกรรม ปิตุพงศ์ เชาวกุล ซึ่งออกแบบให้มหาลัยหลายที่ คุณจีรเวช หงสสกุล คุณดวงฤทธิ์ บุนนาค และผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงท่านอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลให้นักศึกษาได้รับมุมมองมากกว่าเรา

การเรียนทางด้านสถาปัตยกรรมที่นี่เน้นในเรื่องของการฝึกคิด ฝึกออกแบบ ด้านนึงมันจะเป็นความทันสมัย เป็นประสบการณ์จริง อีกด้านนึงอาจารย์ประจำเราจะเน้นเรื่องวิชาการและอาจารย์พิเศษจะเข้ามาช่วยผสมผสาน เราจะมีโปรแกรมฝึกงานอย่างจริงจังในช่วงปี 4 ตรงนี้อาจารย์ที่สอนจะช่วยแนะนำเด็กไปทำงานที่สตูดิโอในบริษัทออกแบบ ไปดูงานจริง ไปนำเสนองานจริงกับเจ้าของโครงการต่างๆ ซึ่งผมคิดว่ามันทำให้เกิดประโยชน์มากกว่าทำดีไซน์โปรเจคในห้องเรียนอย่างเดียว

ทางมหาวิทยาลัยมีการปรับตัวอย่างไรเพื่อก้าวเข้าสู่ AEC
ใน พ.ศ. 2558 เราจะมีการแลกเปลี่ยนในระดับภูมิภาค AEC และการเตรียมพร้อมเข้าสู้ AEC ระดับแรกที่เราต้องทำคือเรื่องภาษาทางด้านการออกแบบ นักศึกษาจะต้องสามารถนำเสนอผลงานเป็นภาษาไทยและอังกฤษ รวมทั้งการอ่านแบบเขียนแบบสองภาษา เมื่อถึงปี 4 ไม่ว่านักศึกษาจะได้ออกไปทำสหกิจศึกษาในประเทศหรือต่างประเทศก็แล้วแต่ ก็จะสามารถต่อยอดความคิดเพราะการมีพื้นฐานที่ดีซึ่งมหาวิทยาลัยเน้นและปลูกฝัง ตอนปี 4 ปี 5 จะต้องกลับมาทำวิทยานิพนธ์ที่มหาวิทยาลัย ซึ่งจะเป็นการทำโปรเจคใหญ่ ขบวนการเรียนการสอนที่หล่อหลอมมาตลอดระยะเวลา 4 ปี จะทำให้โปรเจคจบมีคุณภาพที่ดีขึ้น โอกาสในการเดินทางไปทำงานยังต่างแดน หรือ AEC ก็ง่ายขึ้นด้วย เพราะนักศึกษาเรามีความเป็นสากล

แล้วปัจจุบันสถาปนิกไทยมีการพัฒนาไปอย่างไร
สถาปนิกเกินครึ่งจะมีการปรับตัวเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา แต่ละคนเค้ามีการบ่มเพาะ มีการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง เรามีนิทรรศการทางด้านการก่อสร้าง ด้านการออกแบบในทุกปี อันนี้คือ นวัตกรรม เทคโนโลยีต่างๆที่สถาปนิกได้อัพเดทตัวเองอยู่เสมอ มันเป็นข้อกำหนด ว่าทุกคนต้องพัฒนาตัวเอง

นักศึกษาที่จบไปแล้วเป็นอย่างไรบ้าง
ด้วยรูปแบบในการจัดการศึกษาของม.กรุงเทพ ซึ่งเน้นเปิดกว้างทางความคิด และบ่มเพาะนักศึกษาให้มีความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งนักศึกษามีเครือข่ายจากทางมหาวิทยาลัย ทำให้ 80% ขึ้นไปได้งานในสำนักงานที่มีคุณภาพ มีชื่อเสียง ทำในสำนักงานใหญ่ๆ ระดับประเทศและระดับโลก
เยาวชนคนรุ่นใหม่ สนใจวิชาสถาปัตยกรรมมากน้อยแค่ไหน

ใน 1 ปี คนที่อยากมาเรียนในสาขาทางสถาปัตยกรรมร่วม 20,000 คน มีที่เรียนอยู่ 3,000 แห่ง ตัวเลขนี้สะท้อนให้เห็นว่าวิชาชีพนี้สามารถที่จะเลี้ยงชีพ เติบโตมีชื่อเสียงได้ เป็นวิชาชีพที่มีเกียรติ แต่รู้หรือไม่ว่าคนที่จะทำตรงนี้ได้ ต้องผ่านกระบวนการเต็มไปหมด เรียนหนัก สอบเข้ายาก ต้องไปสอบใบอนุญาต แต่มันเป็นความภูมิใจที่ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ มีอิสระ และวิชาชีพนี้ก็มีจำนวนเด็กสนใจเรียนสถาปัตยกรรมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ทำไมต้องมาเรียนสถาปัตยกรรมที่ ม กรุงเทพ
ม.กรุงเทพ เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกที่ก่อตั้งมายาวนาน มีความคิดก้าวหน้า มีองค์ประกอบที่เป็นคณะวิชาสำคัญให้เลือกเรียนได้อย่างไม่จำกัด มีสภาพแวดล้อมที่ดี มีสิ่งอำนวยความสะดวก มีแหล่งเรียนรู้ทางด้านความทันสมัย มีพื้นที่มากมาย มีความพร้อมหมดทุกอย่าง เป็นมหาวิทยาลัยแห่งอนาคต สามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพออกไป นี่คือผลสำเร็จทางการศึกษา ที่วางให้นักศึกษาได้ออกไปเป็นคนคุณภาพได้อย่างมั่นใจ

การวางรากฐานที่แข็งแรงให้กับตนเองตั้งแต่อยู่ในรั้วมหาวิทยาลัย เพื่อที่จะก้าวเข้าสู่ผู้ประกอบการมืออาชีพนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยาก ยิ่งถ้ามีมหาวิทยาลัยชั้นนำอย่างมหาวิทยาลัยกรุงเทพที่ยินดีสนับสนุนนักศึกษาในทุกด้าน เส้นทางแห่งความฝันของเราคงไม่ไกลเกินไปนัก

สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ : 02-350-3500
โทรสาร : 02-249-6274
อีเมล์ : info@bu.ac.th
เว็บไซต์ : http://admission.bu.ac.th/

You may also like...