สมาคมนักออกแบบอักษรศิลป์แห่งนครมิวนิค จับมือกับภาคีภาครัฐและเอกชนในประเทศไทย จัดงาน “GRANSHAN 2013” เทศกาลออกแบบตัวอักษร ประเภท Non-Latin (ตัวอักษรนอกตระกูลโรมัน) ระดับนานาชาติ ซึ่งจะจัดขึ้นครั้งแรกในไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นายบอริส โกชาน นายกสมาคมนักออกแบบอักษรศิลป์แห่งนครมิวนิค กล่าวว่า “GRANSHAN 2013 Thailand เป็นกิจกรรมครั้งสำคัญที่จะเปิดมุมมองใหม่ของโลกแห่งการออกแบบ กับการค้นพบตัวตน ผ่านอักขระแห่งภูมิภาคอันล้ำค่า รวมถึงการสะท้อนวิถีการออกแบบจากรากไปสู่อัตลักษณ์ของนักออกแบบไทย โดยเราได้รวบรวมกิจกรรมหลากหลายที่จะกระตุ้น ส่งเสริม ถ่ายทอดความรู้ ทัศนะ และแลกเปลี่ยนมุมมองของกลุ่มนักออกแบบตัวอักษรในระดับโลก เพื่อช่วยจุดประกายให้อุตสากรรมการออกแบบตัวอักษรในประเทศไทยและในภูมิภาคได้รับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิด “Design & Identity” หรือ “ออกแบบอักขระ ออกแบบอัตลักษณ์” กับหลากหลายกิจกรรมที่ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่แวดวงการออกแบบตัวอักษร แต่ยังนำเสนอถึงเรื่องราวและบทบาทของตัวอักษรที่มีอิทธิพลครอบคลุมตั้งแต่ ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต เศรษฐกิจ และสังคม อีกด้วย”
การจัดงานในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากภาคีภาครัฐและเอกชนไทย ได้แก่ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (SAC) ภาควิชาศิลปะ ดนตรีและนาฏศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ สถาบันเกอเธ่ และ ร้านอาหาร บราวน์ชูการ์
ซึ่งภายในงาน เป็นการรวมตัวครั้งสำคัญของนักออกแบบตัวอักษรและผู้เชี่ยวชาญด้าน Non-Latin Typefaces จากทั่วโลก ที่จะมาร่วมกันถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ของ “ตัวอักษร” (Typefaces) ตั้งแต่ การประชุมสัมมานาเชิงวิชาการ ในหัวข้อ “A Seismograph for typographic trends and interdisciplinary dialogue” ซึ่งเป็นการระดมนักออกแบบตัวอักษรที่มีชื่อเสียงจากทั่วโลกมาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์และแลกเปลี่ยนมุมมองอันหลากหลายของ “ตัวอักษร”ประเภทต่างๆ จากทั่วทุกมุมโลก โดยเฉพาะอักขระกลุ่มประเภท Non-Latin typeface เช่น อักขระชนชาวเอเชียที่มีเอกลักษณ์อย่างโดดเด่น
ทั้งนี้ ยังได้รับเกียรติจากนักออกแบบตัวอักษรระดับแถวหน้าเข้าร่วม อาทิ Stefan Sagmeister ศิลปินจากนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกาMyung Jin Kim และ Ahn Sang Soo ศิลปินจากประเทศเกาหลี Lar Harmsem ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ Magma Brand Design จากประเทศเยอรมนี Gerard Unger ศาสตราจารย์ด้าน Typography แล Graphic Communication จากมหาวิทยาลัยเรดดิ้ง และ Gerry Leonidas คณบดีวิทยาลัยการออก Masterclass Type Design จากมหาวิทยาลัยเรดดิ้ง Ben Mitchell นักออกแบบอักษรอิสระจากประเทศอังกฤษ มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์และแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้สนใจในกิจกรรมเวิร์คช็อปในหัวข้อต่างๆ อาทิ สัญลักษณ์ขนาดเล็กเพื่อการสื่อสาร – การออกแบบอักษรสำหรับสมาร์ทโฟน, การผลิตฟ้อนต์จากร่างไปสู่แบบที่สมบูรณ์ เป็นต้น โดยการเวิร์คช็อปจะจัดขึ้น ที่คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะจิตกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ในวันพุธที่ 24 กรกฎาคม 2556
นอกเหนือจากกิจกรรม Conference, Symposium และ Workshop แล้ว ตลอดระยะเวลา 1 เดือนของการจัดงาน ผู้ที่สนใจจะได้สัมผัสกับ 5 นิทรรศการที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบตัวอักษรและอำนาจของตัวพิมพ์ที่ส่งต่อวิถีชีวิตของผู้คน โดยเฉพาะการส่งเสริมการพัฒนาตัวอักษรที่ไม่ใช่ละติน เช่น อักษรไทย ลาว เกาหลี หรืออาหรับ เป็นต้น โดยระยะเวลาการจัดงานแบ่งออกเป็น 3 ช่วงด้วยกัน ประกอบด้วย
Pre Conference: History and Current Results of GRANSHAN 2008 to 2012
ปูพื้นฐานความเป็นมาของงาน GRANSHAN ผ่านนิทรรศการความเป็นมาของงาน GRANSHAN ที่ได้รวบรวมผลงานของสี่ปีแรก เริ่มตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปี 2554 อีกหนึ่งนิทรรศกาลเป็นการจัดแสดงผลงานของปี 2555 ซึ่งถือเป็นงานล่าสุดของ GRANSHAN โดยผลงานที่คัดเลือกมาจัดแสดงสะท้อนให้เห็นว่า ความงามของภาษาพัฒนาไปได้มากน้อยเพียงใดโดยผ่านชุดตัวอักษรระหว่างวันที่ 19 กรกฎาคม – 18 สิงหาคม 2556 ณ สถาบันเกอเธ่
During the Conference: TypoLyrics by Lars Harmsen/slanted
เมื่อดนตรีมาพบกับอักษร และอักษรพบกับดนตรี แรงบันดาลใจจากดนตรีสู่การออกแบบตัวอักษร การผสมผสานของสองศาสตร์ศิลป์นำเสนอประสบการณ์ใหม่ที่น่าติดตามชม งานแสดงชิ้นนี้แสดงให้เห็นถึงผลงานที่เลือกสรรมาแล้วว่ามีความเฉพาะตัว แสดงถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างการออกแบบตัวอักษรและดนตรี นำความรื่นรมย์มายังโสตประสาททางสายตาและการสดับรับฟัง ลองใส่หูฟัง มองด้วยตา กดปุ่มเพลย์ และให้ตัวอักษรล้อไปกับดนตรีในจังหวะร็อค สวิง และโปโก อีกทั้งมีผลงานจาก workshopจัดโดย “อาจารย์อำมฤต ชูสุวรรณ” คณะจิตกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ Curator งานแสดงนี้อีกด้วย โดยนิทรรศการจัดแสดงระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคม – 18 สิงหาคม 2556 ณ ร้านบราวน์ชูการ์ ถนนพระสุเมรุ
Post Conference: From Hot Metal to Open Type – University of Reading และ Letter.2 of ATypI
จากเหล็กร้อนมาเป็นตัวอักษรสาธารณะ – University of Reading สถาบัน Institute for Typography มหาวิทยาลัยรีดดิ้ง (University of Reading) จะเปิดเผยคลังชุดตัวอักษรที่ไม่ใช่ละติน ที่จะทำให้เราตื่นตาตื่นใจไปกับชุดตัวอักษรที่ปกติแล้วจะมีเพียงนักศึกษาและนักวิจัยเท่านั้นที่ได้ชม ส่วน Letter.2 of ATypI เป็นการจัดแสงผลงาน Letter.2 ที่ตั้งใจให้เห็นมุมวงกว้างของการออกแบบตัวอักษรทั่วโลกในช่วงหลังการแข่งขันปีพ.ศ. 2544 และมุ่งส่งเสริมความเป็นเลิศในการออกแบบตัวอักษร และแนวปฏิบัติในวิชาชีพที่ดีที่สุด นอกจากนี้ ยังมุ่งสร้างการรับรู้เกี่ยวกับบทบาทการออกแบบตัวอักษร เพื่อกระตุ้นให้มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม และรักษาให้คงอยู่ต่อไป โดยทั้งสองนิทรรศกาลจัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 กรกฎาคม – 18 สิงหาคม ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษา คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้สนใจสามารถเข้าชมกิจกรรมฟรีตลอดงาน และสามารถติดตามรายละเอียดกิจกรรมและสถานที่จัดกิจกรรมทั้งหมด ได้ทาง www.granshan.com , www.facebook.com/GRANSHAN2013
สำรองที่นั่งการประชุม และ เวิร์คช็อป โทร. 02-278-0944 จันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00-18.00น.
GRANSHAN 2013 Background and Outlook
1.อธิบายที่มาของการก่อตั้งและคำจำกัดความของ GRANSHAN โดยสังเขป
GRANSHAN มีจุดกำเนิดจากประเทศอาร์เมเนีย ด้วยความร่วมมือของ กระทรวงวัฒนธรรมแห่งประเทศอาร์เมเนีย และสมาคมนักออกแบบอักษรศิลป์แห่งนครมิวนิค (tgm) ที่ได้ริเริ่มการแข่งขันการออกแบบตัวอักษรภายในประเทศ จนไปถึงการประชุมระดับนานาชาติ โดยเกิดขึ้นครั้งแรกที่ Yerevan เมืองหลวงของประเทศอาร์เมเนีย หลังจากนั้นได้จัดงานเป็นประจำต่อเนื่องทุกปีโดยมุ่งไปที่หัวข้อ Non-Latin Typefaceหรือ “ตัวอักษรนอกตระกูลโรมัน” และที่กรุงเทพมาหนครในวันที่ 24-27 กรกฎาคมGRANSHAN 2013 Thailand อีกหนึ่งปรากฎการณ์ครั้งสำคัญที่จะเปิดมุมมองใหม่ของโลกแห่งการออกแบบ ซึ่งมี กิจกรรมที่จะกระตุ้น ส่งเสริม ถ่ายทอดความรู้ ทัศนะ และแลกเปลี่ยนมุมมองของกลุ่มนักออกแบบตัวอักษรในระดับโลก ภายใต้แนวคิด “Design & Identity” หรือ “ออกแบบอักขระ ออกแบบอัตลักษณ์” กับหลากหลายกิจกรรมที่ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่แวดวงการออกแบบตัวอักษร แต่ยังนำเสนอถึงเรื่องราวและบทบาทของตัวอักษรที่มีอิทธิพลครอบคลุมตั้งแต่ ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต เศรษฐกิจ และสังคม ที่มีมุ่งเน้นมุมมองไปที่การออกแบบตัวอักษรนอกตระกูลโรมัน
2.บทบาทของ TGM ที่มีต่ออุตสาหกรรมการออกแบบตัวอักษรและ GRANSHAN
โดยทั่วไป ภารกิจของสมาคมนักออกแบบอักษรศิลป์แห่งนคร (Typographical Society in Munich) หรือเรียกอย่างย่อว่า tgm คือ การเป็นศูนย์กลางที่คอยขับเคลื่อน ผลักดัน และให้การสนับสนุนส่งเสริมอุตสาหกรรมการออกแบบอักขรศิลป์อย่างเปิดกว้าง โดยได้ใช้สหวิทยาการที่หลากหลายทั้งในเชิงแนวคิดและแนวปฏิบัติ ผ่านการแลกเปลี่ยนในด้านเนื้อหาและรูปแบบ การสื่อภาพและข้อความ การนำเสนอทั้งในแบบขนบและนวัตกรรมด้านการออกแบบและเทคโนโลยี
ส่วนที่เกี่ยวกับ Non-Latin typeface(การออกแบบตัวอักษรนอกตระกูลโรมัน) คือ การสร้างความตระหนักในความสัมพันธ์ที่ต้องพึ่งพากันระหว่างตัวอักษรและอัตลักษณ์ในกลุ่มนักวิชาการ และผู้ที่ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบตัวอักษร โดยเราพุ่งความสนใจไปที่ส่วนที่ใช้ในชีวิตประจำวันซึ่งมักถูกละเลย และหยิบยกแง่มุมนี้มาเป็นประเด็นที่เปิดกว้างให้กับหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิ ภาควิชาการ และภาคอุตสาหกรรม
3.การจัดตั้ง GRANSHAN และ TGM มีวัตถุประสงค์ด้านใดบ้าง
GRANSHAN 2013 เทศกาลออกแบบตัวอักษรระดับนานาชาติ เป็นโครงการที่เกิดจากความร่วมมือจากหลายฝ่าย ทั้งภายในประเทศและทั่วโลก ที่ร่วมการสร้างศูนย์กลาง การออกแบบ การส่งเสริมการสร้างเอกลักษ์การออกแบบตัวอักษร โดยวัตถุประสงค์คือ
- GRANSHAN มุ่งหมายให้เรื่องตัวอักษรเป็นเรื่องเข้าถึงง่าย
- GRANSHAN มุ่งหมายให้รักษาความหลาหลายของภาษาเขียน ให้มีชีวิต และเป็นการแลกเปลี่ยนเชิงวัฒนธรรม
- หัวใจของ GRANSHAN คือ การเพิ่มความหลากหลายในหลายกิจกรรมอย่างแข้มแข็งทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ
- GRANSHAN มุ่งหมายที่จะทำให้ความสำคัญของความเข้าใจในเชิงวัฒนธรรมให้เข้าถึงง่ายมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีความแตกต่างในภาษาอ่านที่อยู่ในชุดความต่างของวัฒนธรรม ซึ่งเป็นพื้นฐานของความประสบความสำเร็จของการสื่อสาร
4.บทบาทของนักออกแบบตัวอักษรในระดับนานาชาติและ การออกแบบตัวอักษรนอกตระกูลโรมัน (Non-Latin Typeface) (มีอิทธิพลอย่างไร อาทิ ต่อมนุษยชาติ สังคม เศรษฐกิจ และวงการอุตสาหกรรมการออกแบบ)
ปัจจุบัน ตัวอักษรนอกตระกูลโรมัน ได้รับความสนใจอย่างมาก และกลายเป็นหัวข้อของการประชุมการออกแบบตัวอักษรระดับนานาชาติ อีกทั้งยังมีความเป็นไปได้ในการออกแบบตัวอักษรดิจิตัล (Digital Typeface) และ OpenType เข้าด้วยกันกับระบบ Unicode ซึ่งจะช่วยให้กลุ่มนักออกแบบและองค์กรต่างๆเข้าถึงการใช้งานได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม นี่ยังเป็นเรื่องใหม่ที่ต้องใช้เวลาในการพัฒนาอีกมาก ซึ่ง GRANSHAN เป็นอีกก้าวหนึ่งในการพัฒนา
5.อะไรคือพลังของอุตสาหกรรมการออกแบบตัวอักษร /บทบาท ความสำคัญของอุตสาหกรรรมออกแบบตัวอักษรในเชิงการขับเคลื่อนธุรกิจโลก
ทั้งองกรค์ขนาดเล็ก บริษัทระดับโลก และมหาวิทยาลัยชั้นนำ ต่างร่วมมือกันในการสนับสนุนเรื่อง “ตัวอักษรนอกตระกูลโรมัน” ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาศักยาภาพทางเศรษฐกิจ และโอกาสที่งดงามของนักออกแบบ
ยกตัวอย่างจากบริษัทอย่างเช่น Nokia หรือ Bosch ท่ามกลางการเดินทางอยู่ในยุคโลกาภิวัฒน์ที่ภาษาอังกฤษกลายเป็นหลักในการสื่อสารของคนทั้งโลก มุมมองของแบรนด์เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อบทบาทของแบรนด์ ซึ่งทั้ง Nokia และ Bosch พวกเขาต่างตัดสินใจสร้างตัวตนของแบรนด์ในแต่ละประเทศที่เข้าไปทำตลาดด้วยการใช้ชื่อตราสินค้าเป็นตัวอักษรท้องถิ่น เช่นเดียวกับ ตัวอักษรประจำองค์กรที่ใช้ในภาษาเขียน พวกเขาพัฒนาตัวอักษรเหล่านี้ขึ้นมาโดยเฉพาะในแต่ละประเทศ เพื่อแสดงให้เห็นถึงตัวตนของแบรนด์
การสื่อสารระหว่างประเทศไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ถ้าปราศจากตัวอักษรนอกตระกูลโรมัน ยิ่งคุณรู้เยอะเท่าไร ความสำเร็จก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม
6. อัตราการเติบโตและการเติบโตของอุตสาหกรรมการออกแบบตัวอักษรระดับนานาชาติ (อดีต ปัจจุบัน และอีกภายใน 5-10 ปีข้างหน้า)
ในขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลของอัตราการเติบโตในส่วนของ ตัวอักษรนอกตระกูลโรมัน แต่ในส่วนของอุตสาหกรรมการออกแบบและการส่งออกตัวอักษรในภาพรวมนั้น มีหน่วยงานและองค์การที่เกี่ยวข้อง อาทิ MyFonts, Fontshop, Adobe and Google ซึ่งมีมูลค่ามหาศาล อีกทั้งยังมี กองทุนย่อยอย่าง Type Together, Volcano Type ซึ่งแนวทางการทำงานของบริษัทเหล่านี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการเขียนเพื่อการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นภาษาใดๆ ดังนั้นลองจิตนาการว่าถ้าโลกเราไม่มีตัวอักษรแล้วเราจะสามารถสื่อสารกันได้อย่างไร
7. ทำไม GRANSHAN ถึงให้ความสำคัญกับการออกแบบตัวอักษร ที่เป็น Non Latin Typeface เป็นพิเศษ
ชุดอักษร (TYPE) อาจมีลักษณะ (FACE) ต่างกันไป และพูดกันคนละภาษา ขณะที่การเขียนเป็นการแสดงออกซึ่งความเป็นปัจเจกบุคคล ส่วนการอ่านเป็นการเปิดประตูไปสู่โลกใบใหม่
การออกแบบทุกวันนี้ จึงหมายถึง การสับเปลี่ยนระหว่างภาษาแม่และภาษาต่างประเทศ ซึ่งอักษรละตินมีบทบาทหลัก อย่างไรก็ดี ในอนาคต ก็ขึ้นอยู่กับความหลากหลายของอัตลักษณ์อักษรในภาษาแต่ละประเทศ ดังนั้นในบริบทโลกาภิวัตนที่นำไปสู่การขาดหายของเสน่ห์ทั่วไปของท้องถิ่น การตระหนักถึงตัวอักษรนอกตระกูลโรมันส่งผลให้เกิดการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานในเชิงวัฒนธรรมที่เป็นระบบและมีเอกลักษณ์ยิ่งขึ้น
8. คาดหวังว่าสิ่งที่ได้รับจากการจัด GRANSHAN ครั้งนี้ที่เมืองไทย
เรามีความมั่นใจว่า GRANSHAN 2013 เทศกาลและงานประชุมการออกแบบตัวอักษร ประเภท Non-Latin นานาชาติ ซึ่งจะจัดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยและในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ จะมีการสร้างการตระหนักและการรับรู้เกี่ยวกับการออกแบบ การเขียน ควบคู่ไปกับ เทคนิคการจัดเก็บข้อมูลในเชิงวัฒนธรรม อีกทั้งมุมมองของ เศรษฐกิจ สังคม สาธารณะ ที่ถูกเพิกเฉยเป็นเวลานาน จะเป็นส่วนสนับสนุนในความก้าวหน้่าในสมาคมอาเซียนที่ใกล้เข้ามา ซึ่งการออกแบบนั้นเป็นปัจจัยหนึ่งในการขับเคลื่อนโลกให้พัฒนาเร็วขึ้น
9. มองงานออกแบบ/นักออกแบบไทยและเอเชีย (หรือควรเป็นอาเซียนดี?) เป็นอย่างไร และมีศักยภาพแค่ไหน
อาเซียน คือหนื่งในภูมิภาคที่มีมุมมองของการออกแบบที่ดีสุด ซึ่งมุมมองที่โดดเด่นที่สุด คือ การเกิดขึ้นของเศรษฐกิจชุมชน ขณะที่ความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้กลายเป็นความท้าทายในการพัฒนาระบบตัวอักษร
10. เทรนด์การออกแบบตัวอักษรทั่วโลกในปัจจุบันมีแนวโน้มเป็นอย่างไร
- The ‘Unicode Trend’ ตาราง Unicode ช่วยให้นักออกแบบสร้างสรรค์ตัวอักษรได้หลากหลาย และง่ายสำหรับผู้ใช้ในการเพิ่มผลประโยชน์จากความหลากหลายนี้
- Yesterday’s alive มีการออกแบบตัวอักษรใหม่ๆที่มีการอ้างอิงตัวอักษรเชิงประวัติศาสตร์ในอดีต โดยผู้สร้างเชื่อมโยงงานจากอดีตถึงแนวคิดที่มีมิติในโลกปัจจุบัน และยังมีความเป็นการค้นพบวิธีการเขียนลายมือในเชิงประวัติศาสตร์
- Form follows sense ในด้านหนึ่งมีการพัฒนาอย่างน่าเหลือเชื่อการออกแบบตัวอักษรสำหรับเนื้อหาต่างๆ อีกทั้งปัจจุบันยังมีการพัฒนาเทคนิคที่เอื้อต่อนักออกแแบบให้สร้างสรรผลงานให้มีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งเท่ากับว่า จำนวนของฟอนต์ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่เติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่ง จากคำแถลงของKurt Weidemann, Massimo Vignelli and other »forebears« กล่าวว่า “จริงๆแล้วพวกเราไม่จำเป็นต้องมีแบบของตัวอักษรมากไปกว่า 6 แบบ ซึ่งไม่เข้ากับโลกแห่งความเป็นจริงอีกต่อไป” ขณะเดียวกัน นักออกแบบในปัจจุบันกำลังเผชิญกับความท้าทายครั้งสำคัญ เมื่อตัวอักษรที่พวกเขาออกแบบต้องสามารถตอบโจทย์บางอย่างที่เฉพาะเจาะจงได้ ไม่ใช่ตัวอักษรเดียวแต่ใช้ได้ครบทุกความต้องการอีกต่อไป
- Non-Latin Typefaces ซึ่งจากที่กล่าวมาข้างต้น ทุกคนคงเข้าใจดีแล้วว่า ทำไมตัวอักษรนอกตระกูลโรมัน ถึงกลายเป็นเทรนด์
11. ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่จะช่วยผลักดันให้อุตสาหกรรมการออกแบบตัวอักษรเป็นที่ยอมรับและประสบความสำเร็จ
ปัจจุบัน รูปแบบต่างๆของตัวอักษรละตินมีมากจนเกินพอ แต่ในอนาคตอันใกล้ เราอาจเห็น ตัวอักษรนอกตระกูลโรมัน อาทิ ตัวอักษรจีน ไปปรากฎอยู่ในเมนูอาหารอิตาเลี่ยน นอกเหนือจากภาษาอิตาลี และภาษาอังกฤษ นั่นเป็นเพราะจีนเป็นประเทศที่เศรษฐกิจมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และทรงอิทธิพลในโลกมาขึ้นเรื่อยๆ
12. ในยุโรปกลุ่มนักออกแบบได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลหรือไม่ อย่างไร
ยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจนจากภาครัฐแต่ในประเทศที่พัฒนาแล้วได้มีการตระหนักถึงความสำคัญถึงในอุตสาหกรรมการสร้างสรรค์ต่างๆ รวมทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งภาครัฐยังมีการลงทุนและให้ความสำคัญในเรื่องของการออกแบบด้วยงบประมาณที่มากอีกด้วย
13. ในประเทศไทยและอาเซียนคิดว่ารัฐควรให้การสนับสนุนอย่างไรบ้างกับกลุ่มนักออกแบบตัวอักษร
1) ควรส่งเสริมให้มีการจัดการแข่งขันการออกแบบระดับนานาชาติ ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้ไทยและอาเซียนได้เปิดมุมมองใหม่ๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
2) ส่งเสริมความพยายามในการรวบรวมตัวอักษรไทยจากความหลากหลายกลุ่มในประวัติศาสตร์ซึ่งมีความสำคัญในเชิงวัฒนธรรมและแนวคิดของสังคม ยกตัวอย่างเช่น ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร องค์การมหาชน (SAC) ที่มุ่งสนใจในเรื่องนี้และมีการวิจัยในเชิงลึกเกี่ยวกับที่มาของตัวอักษรไทย ทั้งนี้ จะเป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่งถ้าประเทศไทยสามารถเป็นผู้นำและผู้บุกเบิกในการสร้างความตระหนักและส่งเสริมความหมายของการออกแบบตัวอักษรและการสร้างเอกลักษณ์
สัมภาษณ์ คุณบอริส โกชาน (Boris Kochan)
ผู้อำนวยการ Typographische Gesellschaft München e.V. (tgm: the Munich Typography Society)
บอริส โกชาน (Boris Kochan) (พ.ศ. 2505)
ผู้อำนวยการ Typographische Gesellschaft München e.V. (tgm: the Munich Typography Society)
นอกจากบทบาทในตำแหน่งผู้อำนวยการ Munich Typography Society หรือ tgm หมวกอีกใบของเขาคือ CEO และผู้ก่อตั้ง Kochan & Partner บริษัทเอเยนซีด้านออกแบบและสื่อสารแถวหน้าของเยอรมนี
Kochan สั่งสมประสบการณ์ในวงการนักออกแบบตัวอักษรและคนทำหนังสือมาอย่างโชกโชน ภายหลังจากได้ฝึกงานด้านการออกแบบสิ่งพิมพ์และออกแบบตัวอักษรที่ Wieland Sternagel เขาได้เริ่มงานในวงการสื่อสารมวลชนที่หนังสือพิมพ์รายวันระดับประเทศ Süddeutsche Zeitung รวมทั้งประสบการณ์ในสตูดิโอออกแบบตัวอักษร Lothar Wolf และงานพิมพ์ที่ Jürgen Höflich ที่ให้บริการพิมพ์ออฟเซ็ทและพิมพ์สกรีน
ปี พ.ศ. 2524 Kochan รวมตัวกับเพื่อนๆ ก่อตั้งสตูดิโอออกแบบกราฟิกและออกแบบตัวอักษร ก่อนขยายสู่ธุรกิจด้านงานอักขรศิลป์และงานพิมพ์เต็มตัวอีกสองปีต่อมา และในปีพ.ศ.2538 ยังก่อตั้งโรงพิมพ์ ZELIG-DRUCK ตามด้วย PEPPERMIND ธุรกิจด้านอินเทอร์แอคทีฟ ปัจจุบัน Kochan & Partner เป็นเอเยนซีด้านสื่อสารและการออกแบบ (CD/CI) ที่มีพนักงาน 60 ชีวิต และนับเป็นหนึ่งในสิบเอเยนซีงานสื่อสารออกแบบที่ใหญ่ที่สุดในเยอรมนี
นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2529 เป็นต้นมา Kochan ได้เริ่มหันมาบุกเบิกงานด้านสังคมมากขึ้น โดยเขามักได้รับเชิญเป็นวิทยากรผู้บรรยายและเป็นผู้จัดสัมมนาทางด้านการออกแบบสื่อสารองค์กรและสื่อสารการตลาดและการตลาดเชิงสังคม (Social Marketing) อย่างต่อเนื่อง Kochan ยังรับบทบาทเป็นทั้งประธานผู้จัดงานและผู้ตัดสินในการแข่งขันการเขียน ของGRANSHAN และยังเป็นกรรมการในการประกวดอีกหลายรายการ รวมถึงการแข่งขันออกแบบตัวอักษร The Berliner Type
ปี 2550 Kochan ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานบริหารคนแรกของ Typographische Gesellschaft München e.V. (the Munich typography society) ซึ่งในเดือนมิถุนายนปีเดียวกัน เขายังได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการ Type Directors Club of New York และได้รับคัดเลือกให้เป็นกรรมการสมาคม iF Industrie Forum Design eV ในปี พ.ศ. 2554
Boris Kochan
President – Typographic Society Munich
kochan@tgm-online.de
Munich, Germany
Typographische Gesellschaft München e.V.
www.tgm-online.de
tgm – Typographische Gesellschaft München (Typographic Society Munich)
“เราให้ความสำคัญกับการออกแบบตัวอักษร!”
Typographische Gesellschaft München e.V. หรือสมาคมนักออกแบบอักษรศิลป์แห่งนครมิวนิค (tgm:Typographic Society Munich) มีแนวคิดริเริ่ม ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในงานด้านสื่อสารที่ดีมีคุณภาพ
ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2433 โดยกลุ่มผู้เรียงพิมพ์อักษรและผู้จัดพิมพ์ แต่ในปัจจุบันองค์กรแห่งนี้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ในฐานะสมาคมที่รวมตัวของผู้หลงใหลในงานอักขรศิลป์ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป
เป้าหมายและภารกิจในวันนี้ของ tgm จึงทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางที่คอยขับเคลื่อน ผลักดันให้การสนับสนุนส่งเสริมอุตสาหกรรมการออกแบบอักขรศิลป์อย่างเปิดกว้าง โดยได้ใช้สหวิทยาการที่หลากหลายทั้งในเชิงแนวคิดและแนวปฏิบัติ ผ่านการแลกเปลี่ยนในด้านเนื้อหาและรูปแบบ การสื่อภาพและข้อความ การนำเสนอทั้งในแบบขนบและนวัตกรรมด้านการออกแบบและเทคโนโลยี
ในแต่ละปี tgm มีการจัดงานและกิจกรรมต่างๆ มากมายถึง 120 งาน รวมทั้ง การจัดการประชุมเกี่ยวกับการออกแบบตัวอักษรในระดับนานาชาติ 3-5 ครั้งต่อปี โดยทุกกิจกรรมที่ tgm จัดขึ้น คือผลพวงของความร่วมมือร่วมใจของเหล่าอาสาสมัครผู้อุทิศตน เวลาและทรัพยากรที่มีเจนารมย์เดียวกัน ด้วยเหตุนี้ tgm จึงแสดงให้เห็นถึงศักยภาพ ความสามารถ และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของอุตสาหกรรมนี้
5 นิทรรศการใน GRANSHAN 2013 Thailand
เทศกาลออกแบบตัวอักษรระดับนานาชาติครั้งแรกในไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ว่าด้วยการออกแบบตัวอักษรและอิทธิพลของตัวพิมพ์ที่มีต่อวิถีชีวิต จะเริ่มจัดแสดงตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม ไปจนถึงวันที่ 18 สิงหาคม 2556 ณ หอศิลป์และอาร์ตแกลอรี่ ในกรุงเทพมหานคร
นี่คือนิทรรศการทั้ง 5 ที่รอคอยให้คุณมาร่วมสัมผัส
History and Current Results of GRANSHAN 2008 to 2012
1. นิทรรศการ ความเป็นมาของงาน GRANSHAN ปีพ.ศ. 2551 ถึง 2554
2. นิทรรศการ การจัดแสดงผลงานปี พ.ศ.2555 อันถือเป็นงานล่าสุดของ GRANSHAN
When: 19 กรกฎาคม – 18 สิงหาคม 2556
Time: วันจันทร์-วันศุกร์ 9.00-18.00น.
วันเสาร์ 9.00- 16.00 น.
วันอาทิตย์ 9.00 – 12.00น.
Where: สถาบันเกอเธ่ สาทร 1 กรุงเทพฯ
Info: 02 287 0942-4, www.goethe.de/bangkok
ปฐมบทที่จะแนะนำให้รู้จักกับความเป็น GRANSHAN ผ่านการนำเสนอผลงานของผู้ชนะและเข้ารอบจากการประกวด GRANSHAN Competition “Non-Latin Typefaces” การแข่งขันออกแบบตัวอักษรงานเดียวในโลกที่เชิดชูอุตสาหกรรมการออกแบบตัวอักษรที่ไม่ใช่ตัวอักษรละติน ซึ่งจัดมาตั้งแต่ปี 2551 อาทิ Armenian, Cyrillic และ Greek
นอกจากเป็นการรวบรวมผลงานตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 จนถึง 2554 แล้ว สิ่งที่พิเศษยิ่งกว่า คือในครั้งนี้ผู้ชมจะได้มีโอกาสยลผลงานชนะเลิศครั้งล่าสุดในปี 2555 ด้วย ซึ่งแต่ละผลงานที่ได้รับคัดเลือกมาจัดแสดงในครั้งนี้ จะสะท้อนให้เห็นถึงความงดงาม ความแตกต่างและหลากหลายของตัวอักษรต่างๆ ของวิวัฒนาการภาษาและอักขรศิลป์อันน่าทึ่ง ผ่านชุดตัวอักษรรูปแบบต่างๆ ในกลุ่ม Non-Latin Typefaces
3. นิทรรศการTypoLyrics by Lars Harmsen/slanted/อาจารย์อำมฤต ชูสุวรรณ
When: 20 กรกฎาคม– 18 สิงหาคม 2556
Time : ทุกวัน 10.00 – 22.00 น.
Where: ร้านบราวน์ชูการ์ ถนนพระสุเมรุ
Info: 0 2250 1826, 0 2282 0396 ,www.brownsugarbangkok.com, www.facebook.com/brownsugarbangkok
เมื่อดนตรีมาพบกับอักษร และอักษรพบกับดนตรี
แรงบันดาลใจจากดนตรีสู่การออกแบบตัวอักษร การผสมผสานของสองศาสตร์ศิลป์นำเสนอประสบการณ์ใหม่ที่น่าติดตามชม นิทรรศการตัวอักษรแบบเข้าจังหวะ ที่จะมาแสดงถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวอักขรและดนตรี Typolyrics ไม่ได้ใช้เพียงแค่ตาทัศนา จงลองใส่หูฟัง กดปุ่มเพลย์ แล้วปล่อยให้ตัวอักษรล้อไปกับดนตรีในจังหวะร็อค สวิง และเทคนิคการมิกซ์เสียงสนุกๆ สไตล์โปโก (POGO) อาจได้ค้นพบความรื่นรมย์มายังโสตสัมผัสทางสายตาและการสดับรับฟังไม่น้อย อีกทั้งมีผลงานจาก workshopจัดโดย “อาจารย์อำมฤต ชูสุวรรณ” คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ curator งานแสดงนี้อีกด้วย
4. นิทรรศการ From Hot Metal to Open Type – University of Reading จากเหล็กร้อนมาเป็นตัวอักษรสาธารณะ – University of Reading
When: 27 กรกฎาคม – 18 สิงหาคม 2556
Time : วันจันทร์-วันศุกร์ 8.00 -19.00น.
วันเสาร์-วันอาทิตย์ 9.00-18.00 น.
Where: ชั้น G ศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Info: http://lib.edu.chula.ac.th/
สถาบันอักขรศิลป์ (Institute for Typography) แห่งมหาวิทยาลัยรีดดิ้ง (University of Reading) สหราชอาณาจักร จะมาเปิดกรุ ขนขบวนชุดตัวอักษรประเภท Non-Latin Typefaces ให้ตื่นตาตื่นใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะปกติแล้วชิ้นงานดังกล่าวจะมีเพียงนักศึกษาด้าน Typography และนักวิจัยเท่านั้นที่จะมีโอกาสได้ชม
5. นิทรรศการ Letter.2 of AtypI
When: 27 กรกฎาคม – 18 สิงหาคม 2556
Time : วันจันทร์-วันศุกร์ 8.00 -19.00น.
วันเสาร์-วันอาทิตย์ 9.00-18.00 น.
Where: ชั้น 3 ศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Info: http://lib.edu.chula.ac.th
ผลงาน Letter.2 ตั้งใจที่จะเผยให้เห็นภาพมุมกว้างและวิวัฒนาการของการออกแบบตัวอักษรทั่วโลกในรอบทศวรรษ นับตั้งแต่หลังการแข่งขันออกแบบตัวอักษรในปี 2544 เป็นต้นมา ทั้งยังมุ่งส่งเสริมการสร้างสรรค์การออกแบบตัวอักษรที่เป็นเลิศและแบบอย่างของงานที่ดี นอกจากนี้ ยังมุ่งสร้างการรับรู้เกี่ยวกับบทบาทการออกแบบตัวอักษร เพื่อกระตุ้นให้มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม และรักษาให้คงอยู่ต่อไป
tgm หรือสมาคมนักออกแบบอักษรศิลป์แห่งนครมิวนิค ผู้ริเริ่มจัดงาน GRANSHAN (กรอนฌอน)เคยกล่าวไว้ว่า “เราให้ความสำคัญกับการออกแบบตัวอักษร!” นั่นเพราะทั้งงานออกแบบและตัวอักษรถือเป็นอำนาจอย่างหนึ่งที่ช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตสมัยใหม่ได้อย่างไม่น่าเชื่อ เพราะเล็งเห็นถึงความสำคัญของการออกแบบตัวอักษร พร้อมเข้าใจดีว่าโลกไม่ได้มีแค่ A B C D หรือตัวอักษรละตินเท่านั้น ทางผู้จัดงาน GRANSHAN จึงริเริ่มงานประชุมและสัมมนาระดับนานาชาติในหัวข้อเกี่ยวกับอักษร Non-Latin Typefaces หรือ “ตัวอักษรนอกตระกูลโรมัน” ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขึ้น โดยความพิเศษคือ นี่คือครั้งแรกของงานนี้ในภูมิภาคนี้
GRANSHAN เป็นคำในภาษาอาร์เมเนีย มีความหมายว่า “ตัวอักษร” โดยผู้ก่อตั้ง GRANSHAN ซึ่งได้แก่ กระทรวงวัฒนธรรมแห่งประเทศอาร์เมเนีย และสมาคมนักออกแบบอักษรศิลป์แห่งนครมิวนิค มีความมุ่งหวังว่าจะทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างกันที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจและทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งนี้ ต้องอาศัยเวทีระดับนานาชาติด้านการออกแบบอักษร ที่มีเนื้อหาและหัวข้อเหมาะสมรองรับกับอุตสาหกรรม โดยเฉพาะตัวอักษรนอกตระกูลโรมัน ซึ่งประเทศอาเมเนีย เป็นหนึ่งในประเทศบนมีภาษาเขียนและตัวอักษรเป็นของตนเองไม่ได้ใช้ตัวอักษรโรมันแต่อย่างใดมาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 5 (405 – 406) การประกอบคำของภาษาอาร์เมเนียขึ้นอยู่กับ 36 สัญลักษณ์เสียง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความน่าตื่นตะลึงของ Mesrop Mashtots ผู้คิดค้นตัวอักษร ซึ่งไม่เพียงแต่พัฒนาตัวอักษรที่สวยงามแล้ว แต่ยังสามารถอ่านออกเสียงได้อีกด้วย
GRANSHAN เป็นโครงการที่เกิดจากความร่วมมือจากหลายฝ่าย รูปแบบงานเต็มไปด้วยความหลากหลาย มีทั้งสัมมนา, การประชุม,สัมมนาเชิงปฏิบัติการ, การแสดงผลงาน, และงานเลี้ยงพบปะสังสรรค์ของกลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพในวงการ
จากแรงบันดาลใจ สู่ที่มาของ GRANSHAN 2013 :Non-Latin Typefaces – Design & Identity
TYPE HAS MANY DIFFERENT FACES AND SPEAKS MANY LANGUAGES.
WRITING EXPRESSES INDIVIDUALITY
READING OPENS UP NEW WORLDS.
เพราะการเขียนเป็นการแสดงออกซึ่งความเป็นตัวตนและปัจเจกของบุคคล การเขียนยังเป็นการสื่อสารที่ทรงประสิทธิภาพรูปแบบหนึ่งของโลกยุคใหม่ การส่งเสริมระบบการเขียนในประเทศ จะก่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพด้านสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งสะท้อนวัตถุประสงค์หนึ่งของ GRANSHAN ในการสื่อสารให้นักออกแบบและผู้เกี่ยวข้องต่างๆ ในอุตสาหกรรมเห็นถึงความสำคัญนี้
GRANSHAN จึงมุ่งหวังจะเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของตัวอักษรและอัตลักษณ์ในกลุ่มนักวิชาการ ผู้ประกอบวิชาชีพ รวมไปถึงบุคคลทั่วไป ด้วยการสร้างแรงจูงใจใหม่ๆ และเปิดมุมมองใหม่ให้แก่ผู้มีความรู้ความสามารถที่จะเข้ามามีบทบาทในวงการในอนาคต GRANSHAN จึงมุ่งเน้นบทบาทของตัวอักษรและอัตลักษณ์ในชีวิตประจำวันที่มักถูกมองข้ามไป แล้วจึงขยายเนื้อหาให้ครอบคลุมประเด็นที่อุตสาหกรรม ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และวงการวิชาการให้ความสนใจ
เกี่ยวกับ GRANSHAN 2013 Thailand
GRANSHAN 2013 Thailand อีกหนึ่งปรากฎการณ์ครั้งสำคัญที่จะเปิดมุมมองใหม่ของโลกแห่งการออกแบบ กับการค้นพบตัวตน ผ่านอักขระแห่งภูมิภาคอันล้ำค่า การสะท้อนวิถีการออกแบบจากรากไปสู่อัตลักษณ์ของนักออกแบบไทย ใน GRANSHAN 2013 Thailand กิจกรรมที่จะกระตุ้น ส่งเสริม ถ่ายทอดความรู้ ทัศนะ และแลกเปลี่ยนมุมมองของกลุ่มนักออกแบบตัวอักษรในระดับโลก ภายใต้แนวคิด “Design & Identity” หรือ “ออกแบบอักขระ ออกแบบอัตลักษณ์” กับหลากหลายกิจกรรมที่ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่แวดวงการออกแบบตัวอักษร แต่ยังนำเสนอถึงเรื่องราวและบทบาทของตัวอักษรที่มีอิทธิพลครอบคลุมตั้งแต่ ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต เศรษฐกิจ และสังคม
GRANSHAN จัดโดยสมาคมนักออกแบบตัวอักษรแห่งนครมิวนิค สหพันสาธารณรัฐเยอรมนี (Typographical Society in Munich: tgm) ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2433 โดยกลุ่มนักออกแบบ โรงพิมพ์และสำนักพิมพ์ที่มีความสนใจด้านตัวอักษร ได้ดำเนินการส่งเสริม เผยแพร่ด้านการออกแบบตัวอักษร โดยร่วมมือกับองค์กรต่างๆ ทั่วโลก ภายใต้ความร่วมมือของกระทรวงวัฒนธรรมแห่งอาร์เมเนีย จึงได้จัด GRANSHAN โครงการสัมมนาเชิงวิชาการ การอบรมและประกวดนักออกแบบตัวอักษรขึ้นเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา
โดยในปีนี้ GRANSHAN มีแนวคิดที่จะขยายไปยังภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก ด้วยแรงจูงใจที่จะพัฒนาระบบการเขียนและอุตสาหกรรมนักออกแบบตัวอักษรให้เป็นไปอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะตัวอักษรประเภท Non-Latin Typefaces ซึ่ง GRANSHAN เป็นองค์กรแรกและองค์กรเดียวที่เล็งเห็นความสำคัญของการสนับสนุนตัวอักษรที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอักษรลาติน จึงได้เลือกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นจุดหมายแห่งแรก นอกเหนือยุโรป
จากความเป็นศูนย์กลางแห่งภูมิภาคและความพร้อมในด้านสาธารณูปโภค กรุงเทพมหานคร-ประเทศไทย จึงได้รับคัดเลือกให้เป็นสถานที่จัดงานประชุมนักออกแบบตัวอักษรนานาชาติ GRANSHAN 2013 โดยได้รับความร่วมมือจากภาคีภาครัฐและเอกชนไทย ได้แก่ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (SAC) ภาควิชาศิลปะ ดนตรีและนาฏศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ สถาบันเกอเธ่ และ ร้านอาหาร บราวน์ชูการ์ โดยกิจกรรมจะมีต่อเนื่องในระหว่างวันที่ 18 กรกฎาคม – 18 สิงหาคม 2556
GRANSHAN 2013 จะเป็นการระดมนักออกแบบตัวอักษรแถวหน้าจากทั่วโลก ร่วมด้วย ผู้เชี่ยวชาญหลากหลายศาสตร์และแขนง ทั้งนักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ และนักการตลาด มาร่วมกันถ่ายทอดประสบการณ์และแลกเปลี่ยนมุมมองอันหลากหลายมิติของ “ตัวอักษร” หรืออักขระประเภท Non-Latin typeface จากทั่วทุกมุมโลก โดยเฉพาะ อักขระชนชาวเอเชียที่มีเอกลักษณ์อย่างโดดเด่น เพื่อไขความทุกความลับที่ข้องเกี่ยวกับโลกของตัวอักษร
สิ่งที่จะเกิดขึ้นทั้งหมดใน GRANSHAN 2013 Thailand
การจัดประชุมออกแบบตัวอักษรระดับนานาชาติที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ใน GRANSHAN 2013 จะได้พบกับความคับคั่งของตัวอักษรจากทั่วทุกมุมโลกที่ถูกขุดคุ้ย หยิบยก กระเทาะเปลือก และเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน ด้วยสหวิทยา ไม่ว่าจะเป็นวิถีแห่งการสื่อสาร นักสัญศาสตร์ นักออกแบบชั้นนำ นักวิจัยตัวเขียน และนักออกแบบตัวอักษร
นอกเหนือจากการจัดประชุมนักออกแบบตัวอักษรนานาชาติ ในหัวข้อ “A Seismograph for typographic trends and interdisciplinary dialogue” ซึ่งเป็นกิจกรรมหลัก ใน GRANSHAN 2013 ยังประกอบด้วยกิจกรรมหลากหลายที่สามารถต่อยอด และจุดประกายให้เกิดการขับเคลื่อนในวงการอุตสาหกรรมออกแบบตัวอักษรทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน
งานประชุมนี้เป็นเวทีการประเมินกระแสแนวโน้มในอุตสาหรรมการออกแบบตัวอักษร และกระตุ้นให้เกิดการหารือกันระหว่างวิชาชีพจากหลายวงการที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ รวมถึงผู้สนใจโดยทั่วไปด้วย
GRANSHAN ค้นหาความแตกต่างทางภาษา โลกที่สื่อสารต่างกัน ให้มาพบกัน เชื่อมโยงกันได้ ประกอบไปด้วยวงการนักออกแบบ ผู้วิจัยด้านภาษา และนักออกแบบตัวอักษรจากทั่วโลกที่แสดงให้เห็นถึงความงามของภาษานั้น มีมากมายหลายแบบ ที่แสดงออกมาโดยผ่านตัวอักษร โดยเฉพาะเมื่อตัวอักษรหรือภาษามีความแตกต่างกัน ไม่เหมือนกัน ตัวอักษรทำให้เราสัมผัสได้ถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม รับรู้ได้ถึงความเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้ภาษาและท้องถิ่นของพวกเขา งานประชุมของ GRANSHAN จึงจะทำให้เรามองเห็นและเข้าใจปรากฎการณ์ของความแตกต่างและหลากหลายในเชิงลึกมากขึ้น
ส่วนที่ 1การอ่านและรับรู้
การอ่านเปิดประตูไปสู่โลกใบใหม่
ไก่หรือไข่? การอ่านหรือชุดอักษร?
ก่อนที่ตัวอักษรจะถือกำเนิดขึ้นมา มนุษย์เราก็รู้จักการอ่านความหมายของฤดูกาล ดวงดาว กระแสน้ำ และร่องรายของเส้นทางต่างๆ แล้ว ปัจจุบันเมื่อเราอ่านข้อความต่างๆ ตอนแรกเราจะรับรู้ จากนั้นจะนึกถึงความหมาย และท้ายที่สุดจะแปลความหมายของสัญลักษณ์ได้ การแปลส่งผลออกมาเป็นเนื้อหา ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเราต่างเข้าใจตัวอักษร “A” กันดี แต่การตีความภาษาเขียนของแต่ละคนนั้นต่างกันไป ดังนั้นการอ่านจึงเป็นการแปลที่มีกระบวนการซับซ้อน ทำให้เกิดอิสระในการสร้างสรรค์อย่างมากมาย โดยเฉพาะสำหรับนักออกแบบ
ส่วนที่ 2 การเขียนและสรุปความ
การเขียนแสดงออกถึงความเป็นปัจเจก
ภาษาเขียนเป็นการแสดงให้เห็นบุคลิก ลายมือของคนๆ หนึ่งจะถูกบันทึกไว้ในความจำ และเป็นส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์บุคคล อักษรแต่ละตัวในภาษาเขียนจะถูกเก็บไว้รวมกับในความจำของสังคมนั้นๆ และกล่อมเกลาขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งของดีเอ็นเอในสังคมนั้นเช่นกัน
ลายมือและการเขียนด้วยอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ เป็นทั้งการแสดงออกทางเทคนิคและเป็นศิลปะ ถือเป็นระบบการจัดทำเอกสารและหัตถศิลป์ ส่วนการเขียนและสรุปความเป็นพัฒนาด้านตรรกะของการอ่าน เช่นเดียวกับการใช้ภาษาเขียนในสื่อมัลติมีเดียของโลกการสื่อสารในปัจจุบัน
นักออกแบบเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านชุดอักษร และการตีความของพวกเขาก็ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของสาธารณชนต่อวัฒนธรรมนั้นๆ
ส่วนที่ 3 การออกแบบ
เวทีที่เปิดกว้างสำหรับการออกแบบ
จุดที่เชื่อมโยงระหว่างภาษาแม่กับภาษาต่างประเทศ ระหว่างพหุภาษากับสัญลักษณ์ที่เป็นตัวแทนนั้น เราพบว่ามีหลักการที่นำมาสื่อถึงกันได้ผ่านการออกแบบตัวอักษร ทั้งนี้เทคโนโลยีใหม่ๆ ทำให้เกิดการสื่อสารรูปแบบใหม่ ขณะที่อักษรที่ไม่ใช่ละตินกลับยังมีการใช้ในวงจำกัด
ทุกวันนี้ บริษัทและองค์กรต่างๆ เข้าใจคุณค่าของการออกแบบข้อมูลต่างๆ มากขึ้น แต่แม้เทคโนโลยีจะก้าวหน้าไปมาก แต่อุตสาหกรรมก็ยังขาดนักออกแบบที่กล้าสร้างสรรค์ผลงานอีกมาก โดยควรเป็นผู้ประกอบวิชาชีพที่สามารถออกแบบอินเตอร์เฟซให้การสื่อสารระหว่างคนกับเครื่อง และระหว่างคนกับคนด้วยกันนั้น เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต
SYMPOSIUM
การประชุมนี้เป็นเวทีเพื่อการสร้างสรรค์และแลกเปลี่ยนความรู้ ความเชี่ยวชาญ และข้อมูล ระหว่างกัน ไม่ว่าจะเป็นนักออกแบบ นักวิทยาศาสตร์ นักการตลาด ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยี นักศึกษา ซึ่งประเทศไทยเป็นที่รวบรวมคนจากหลายเชื้อชาติ จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการพัฒนาและศึกษาชุดอักษรที่ไม่ใช่ละตินประเภทต่างๆ ให้มากขึ้น ดังนั้นการประชุม GRANSHAN จึงเป็นการรวมตัวของนักวิทยาศาสตร์ นักออกแบบตัวอักษร และนักวิชาการ จากนานาประเทศ โดยมุ่งเน้นที่ภาษาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหลัก
ภาษาเป็นแหล่งสั่งสมทางวัฒนธรรม
ในประเทศแห่งชุดอักษร
การเข้าใจว่าชุดอักษรเป็นเหมือนดั่งการสั่งสมทางวัฒนธรรม จะทำได้ง่ายมากขึ้นหากเราพิจารณาบริบทของประเทศนั้นๆ ภาษาอังกฤษนั้นมีบทบาทเป็นภาษาสากลที่ใช้กันระหว่างประเทศ แต่ในทางกลับกัน ความเป็นโลกาภิวัตน์ทำให้ภาษาท้องถิ่นสูญเสียความเป็นตัวเองไป ด้วยเหตุนี้ รวมทั้งเพราะอักษรที่ไม่ใช่ละตินก็มีความสำคัญ การประชุมนี้จึงเป็นจังหวะที่เหมาะสมในการพิจารณาแนวคิดของภาษาและตัวอักษรในแง่การสั่งสมทางวัฒนธรรมกันอีกครั้ง
ชุดอักษรในฐานะองค์ประกอบทางวัฒนธรรม
คลังเก็บความจำของมนุษย์
ชุดตัวอักษรได้รับการยอมรับว่าเป็นองค์ประกอบทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง ดังนั้นจึงถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการบันทึกของมนุษย์ มีเดียหรือสื่อต่างๆ ตั้งแต่หนังสือไปถึงเว็บไซต์ จึงควรพิจารณาว่าเป็นพื้นฐานทางวัฒนธรรม สังคมหรือการเมืองด้วย นอกจากนี้ ยังควรพิจารณาบริบทด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับชุดอักษร รวมถึงผลกระทบที่มีต่อกิจกรรมด้านวัฒนธรรมด้วย
วิทยากร GRANSHAN 2013 Thailand
งานประชุมและสัมมนา: GRANSHAN เป็นเวทีนานาชาติรายการแรกด้านการออกแบบตัวอักษร Non-Latin Typefaces ที่จัดขึ้นในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เราภูมิใจที่นำผู้มีชื่อเสียงด้านการออกแบบตัวอักษรและนักออกแบบ นักเขียนระดับโลก และผู้เชี่ยวชาญอักษร Non-Latin Typefaces มาประชุมร่วมกันที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 24 กรกฎาคม ถึง 27 กรกฎาคม 2556
วิทยากรผู้สร้างแรงบันดาลใจจากหลากหลายสาขา อาทิ
ตรงใจ หุตางกูร,ดอกรัก พยัคศรีม, พงศธร บัวคำปัน, อนุทิน วงศ์สรรคก, Stefan Sagmeister, Lars Harmsen, Alberto Manguel ,Gerry Leonidas,Ben Mitchell, MyungJin Kim, Ahn Sang-Soo, Sibylle Krämer, Oliver Linke , Gerard Unger, Hrant Papazian, Robert Bringhurs, และอีกหลายท่าน
ข้อมูลเกี่ยวกับวิทยากร
1. ตรงใจ หุตางกูร (*พ.ศ. 2517)
SYMPOSIUM:
วันเสาร์ 27 ก.ค. 2556 สถานที่ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หัวข้อ: King Ramkhamhaeng’s Inspiration for the Design of the Prototype of the Thai Alphabet
ดร.ตรงใจ หุตางกูร, จบจากคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ด้วยความสนใจที่จะประยุกต์วิชาโบราณคดีเข้ากับการศึกษาสภาพแวดล้อมในอดีตของมนุษย์ จึงได้เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท ที่คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จากนั้นจึงได้ศึกษาต่อระดับปริญญาเอก สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนีสโซเฟียอ็องติโปลิส ประเทศฝรั่งเศส เรื่องที่คือศึกษาการเปลี่ยนแปลงของภูมิศาสตร์พืชพรรณโบราณในช่วงระยะเวลา 10,000 ปีจนถึงปัจจุบันของที่ราบภาคกลางประเทศไทย โดยประยุกต์ใช้วิชาเรณูวิทยา โบราณคดี และธรณีวิทยา อธิบายปรากฎการณ์ของการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเลยุคโบราณ และได้สำเร็จการศึกษาเมื่อเดือนกันยายน 2555 ที่ผ่านมา ปัจจุบัน ดร.ตรงใจ หุตางกูร เป็นนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ด้วยความสนใจในรูปอักษรและเนื้อหาของศิลาจารึกโบราณที่พบในประเทศไทย ดร.ตรงใจ หุตางกูร จึงเริ่มต้นศึกษางานด้านจารึกวิทยา เพื่อผสมผสานกับความรู้ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่มี โดยมีผลงานที่กำลังดำเนินการวิจัยในขณะนี้คือ “โครงการวิจัยศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง” ด้วยต้องการหาคำตอบว่า อักษรไทยที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ มีต้นกำเนิดมาจากไหน และพ่อขุนรามคำแหงมีแรงบันดาลใจอะไร ที่ทำให้พระองค์ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นมาสำหรับเขียนภาษาไทยเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชาติไทย นอกจากนี้ ดร.ตรงใจ หุตางกูร ยังมีความสนใจศึกษาชื่อเมืองต่างๆ แผนที่โบราณที่เกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอกสารโบราณของไทย และการศึกษาที่มาของคำศัพท์ต่างๆ ในภาษาไทย
กรุงเทพฯ ประเทศไทย
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) SAC
www.sac.or.th
2. ดอกรัก พยัคศรี (*พ.ศ. 2521)
SYMPOSIUM:
วันเสาร์ 27 ก.ค. 2556 สถานที่ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หัวข้อ: Transmission and Survival of the Khom-thai Script in Sacred Context
ดอกรัก พยัคศรี, จบการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาจารึกภาษาไทย จากคณะโบราณคดี มหาวิทยาศิลปากร มีความสนใจในเอกสารโบราณประเภทสมุดข่อยและใบลานของท้องถิ่น ซึ่งอุดมไปด้วยเนื้อหาที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น อาทิ ตำรายา ตำราโหราศาสตร์ ตำราไสยศาสตร์ วรรณคดี วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา เป็นต้น นอกจากนี้ ดอกรัก พยัคศรี ยังสนใจกระบวนการอนุรักษ์เนื้อหาของเอกสารโบราณเหล่านี้ ด้วยวิธีการถ่ายภาพดิจิทัล และจัดทำเป็นฐานข้อมูลเพื่อรวบรวมองค์ความรู้เหล่านี้ให้แก่อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา ปัจจุบัน ดอกรัก พยัคศรี เป็นนักวิชาการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) และกำลังดำเนินโครงการสำรวจรวบรวม และศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่นภาคตะวันตกของประเทศไทย ข้อมูลที่ได้จะนำไปจัดทำฐานข้อมูลดิจิทัลเพื่อให้บริการแก่บุคคลที่สนใจทางอินเตอร์เน็ท และผลงานชิ้นล่าสุดคือการถ่ายถอดอักษรขอมไทยเป็นอักษรไทย จากเอกสารโบราณเรื่องพระมาลัย ฉบับวัดดอนขนาก ต.ดอนยายหอม อ.เมือง จ.นครปฐม สำหรับความสนใจเรื่องตัวอักษรโบราณนั้น ดอกรัก พยัคศรี มีความชำนาญในการอ่านอักษรขอมไทย ซึ่งถือกันว่าเป็นอักษรศักดิ์สิทธิ์ นั่นก็เพราะเป็นตัวอักษรที่ใช้เขียนเนื้อความจากพระไตรปิฎกและยันต์กันภัยต่างๆ มาตั้งแต่สมัยโบราณ ปัจจุบัน การใช้อักษรขอมไทยก็ยังคงมีอยู่ โดยเฉพาะในกลุ่มของคนที่มีความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ เช่น การเขียนผ้ายันต์ หรือ การสักยันต์ลงบนร่างกาย ด้วยถือกันว่า ตัวอักษรเหล่านี้มีอำนาจวิเศษ สามารถให้คุณแก่ผู้นับถือและให้โทษแก่ศัตรูได้ สิ่งที่ ดอกรัก พยัคศรี สนใจ ในประเด็นนี้คือ เหตุใดอักษรขอมไทยจึงยังคงอยู่รอดได้ท่ามกลางการใช้อักษรไทยเป็นอักษรกระแสหลัก
กรุงเทพฯ ประเทศไทย
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) SAC
www.sac.or.th
3. พงศธร บัวคำปัน (*พ.ศ. 2522)
SYMPOSIUM:
วันเสาร์ 27 ก.ค. 2556 สถานที่ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หัวข้อ: Hidden Cultural Diversity in the Tham-Lanna Script
พงศธร บัวคำปัน, จบการศึกษาระดับปริญญาตรี จากโปรแกรมวิชาวัฒนธรรมศึกษา (ประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดี) มหาวิทยาราชภัฏเชียงใหม่ ขณะนี้เป็นนักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาจารึกศึกษา คณะโบราณโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร พงศธร บัวคำปัน มีความสนใจในวัฒนธรรมล้านนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวอักษรธรรมล้านนา ซึ่งเป็นอักษรที่เคยเป็นทีนิยมใช้กันทางภาคเหนือของไทยในสมัยที่ยังเป็นอาณาจักรล้านนา ในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่ทางภาคเหนือของไทย อ่านเขียนอักษรธรรมล้านาไม่ได้แล้ว นั่นก็เพราะมีการรณรงค์ให้ใช้ตัวอักษรไทยแทนอักษรธรรมล้านนามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ อย่างไรก็ตาม ด้วยกระแสท้องถิ่นนิยมเมื่อราว 10 – 15 ปีมานี้ ทำให้พื้นที่ทางภาคเหนือของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เชียงใหม่ มีการฟื้นฟูการใช้อักษรธรรมล้านนาให้เห็นปรากฎในชีวิตประจำวันมากขึ้น เช่น ป้ายชื่อวัด ป้ายชื่อถนน อักษรบนเสื้อยืด เป็นต้น พงศธร บัวคำปัน จึงมีความสนใจว่า แนวโน้มการใช้ตัวอักษรล้านนาในปัจจุบันนี้จะไปในทิศทางใด ท่ามกลางกระแสการส่งเสริมความเป็นท้องถิ่นล้านนา ความสนใจอีกประการหนึ่งของพงศธร บัวคำปัน คือ การสืบเสาะว่า ต้นกำเนิดของอักษรธรรมล้านนานั้น มาจากไหน ถ้ามาจากอักษรมอญโบราณตามที่เชื่อกันแล้ว เราจะอธิบายถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงรูปอักษรจากอักษรมอญโบราณมาเป็นรูปอักษรธรรมล้านนาอย่างเป็นเหตุเป็นผลได้อย่างไร
ลำพูน ประเทศไทย
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) SAC
www.sac.or.th
4.อนุทิน วงศ์สรรคกร (*พ.ศ. 2516)
CONFERENCE:
วันศุกร์ที่ 26ก.ค. 2556 สถานที่ TCDC, โรงภาพยนต์ ที่ 5 SFX ดิ เอ็มโพเรียม
หัวข้อ: The missing handbook for designing Thai script 10 useful things you might want to know before designing Thai
อนุทิน วงศ์สรรคกร เป็นหุ้นส่วนในสตูดิโอออกแบบและให้คำปรึกษาด้านกลยุทธ์การออกแบบชื่อ Cadson Demak มีสำนักงานอยู่ในกรุงเทพฯ ประเทศไทย เขาเป็นหนึ่งในผู้ผลักดันโครงสร้างการออกแบบตัวพิมพ์ไทยใหม่ๆ และช่วยพัฒนาการออกแบบตัวอักษรไทยสมัยใหม่ นอกจากนี้ เขายังเป็นที่รู้จักในด้านการออกแบบอักขระสำหรับองค์กร โดยทำงานให้กับองค์กรใหญ่ๆ หลายแห่งในประเทศไทย เช่น AIS (กิจการโทรศัพท์มือถือที่ใหญ่ที่สุดในไทย), dtac (Telenor Thailand), การสื่อสารแห่งประเทศไทย โนเกีย และนิตยสารต่างประเทศ ฉบับภาษาไทย เช่น Vogue และ Wallpaper เมื่อเร็วๆ นี้ เขาได้ออกแบบอักษรคลาสสิคอย่าง Helvetica และ Neue Helvetica ให้เป็นแบบ Linotype อนุทินเป็นผู้ริเริ่มจัดงานประชุมนานาชาติด้านการออกแบบตัวอักษรครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในชื่อ Bangkok International Typographic Symposium ปัจจุบัน เขาสอนหนังสือที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะสถาปัตยกรรม หลักสูตรนานาชาติด้านการออกแบบเพื่อการสื่อสาร (School of Architect International Program for Communication Design)
กรุงเทพฯ ประเทศไทย
Cadson Demak
www.cadsondemak.com
5.Stefan Sagmeister (*พ.ศ. 2505)
CONFERENCE:
วันพฤหัสที่ 25ก.ค. 2556 สถานที่ ร้านบราวน์ชูการ์ ถนนพระสุเมรุ
หัวข้อ: Happiness with letters
Stefan Sagmeister ศึกษาด้านศิลปะกราฟิกและการอออกแบบจาก University of Applied Arts ในกรุงเวียนนา โดยได้รับทุนฟูลไบรท์จนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทที่ Pratt Institute กรุงนิวยอร์ก เมื่ออายุ 29 ปี เขาย้ายมาทำงานที่ฮ่องกง ในตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ของ Leo Burnett ต่อมาปี 2536 เขาย้ายกลับมายังนิวยอร์ก หลังจากทำงานกับสตูดิโอของ Tibor Kalman ไม่นาน โดยได้ก่อตั้ง Sagmeister Inc. ซึ่งนิตยสาร ID เขียนถึงผลงานของ Stefan ไว้ว่า งานออกแบบแพ็คเกจซีดีของเขาเป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ให้แก่วงการ มีความงดงามดั่งบทกวีที่เรียงร้อยกัน ทั้งเข้มข้น หลอกล้อ ทรงพลัง และสมบูรณ์แบบที่สุด เขาได้รับเสนอชื่อชิงรางวัลแกรมมี่ 6 ครั้ง และได้รับรางวัลการออกแบบสำหรับอัลบั้มของ Talking Heads ชุด »Once In A Lifetime« และอัลบั้ม »Everything That Happens Will Happen Today« โดย Brian Eno และ David Byrne
นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
Sagmeister Inc.
www.sagmeister.com
6. Lars Harmsen (*พ.ศ. 2507)
CONFERENCE:
วันศุกร์ที่ 26ก.ค. 2556 สถานที่ TCDC, โรงภาพยนต์ ที่ 5 SFX ดิ เอ็มโพเรียม
หัวข้อ: Slanted goes TypoLyrics Identity and Culture
WORKSHOP:
วันพุธที่ 24 ก.ค. 2556 คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
หัวข้อ: The TypoLyrics Project Realtime
EXHIBITION:
TypoLyrics by Lars Harmsen/slanted/อาจารย์อำมฤต ชูสุวรรณ
วันเสาร์ 20 กรกฎาคม– วันอาทิตย์ 18 สิงหาคม 2556 ทุกวัน 10.00 – 22.00 น. ร้านบราวน์ชูการ์ ถนนพระสุเมรุ
Lars Harmsen เป็นผุ้อำนวยการบริหารสถาบัน MAGMA Brand Design (ร่วมกับ Ulrich Weiss และ Florian Gaertner) ซึ่งก่อตั้งที่เมือง Karlsruhe ในปี 2539 ผลงานเด่นของเขาคือ การออกแบบตัวอักษร ออกแบบอัตลักษณ์ขององค์กรและดูแลเนื้อหา เขายังเป็นหุ้นส่วนและผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ของสถาบัน Melville Brand Design ที่เมืองมิวนิค ตั้งแต่ปี 2554 เขาเป็นศาสตราจารย์สอนวิชาการออกแบบตัวอักษรและการออกแบบทั่วไปที่ University of Applied Sciences and Arts Dortmund ในปี 2547 สถาบัน MAGMA เปิดตัวเว็บไซต์ด้านการออกแบบตัวอักษร Slanted (www.slanted.de) ในปีถัดมา ก็ออกนิตยสารรายไตรมาส SLANTED MAGAZINE นอกจากนี้ เขายังเป็นผู้คิดค้นฟ้อนท์ Volcano-Type ด้วย Harmsen เป็นผู้แต่งหนังสือด้านการดีไซน์และการออกแบบตัวอักษรหลายเล่ม โดยหนังสือของเขาได้รับรางวัลกว่า 100 รางวัลทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ
เมือง Karlsruhe ประเทศเยอรมัน
สถาบัน MAGMA Brand Design
www.magmabranddesign.de
7. Alberto Manguel (*พ.ศ. 2491 ที่ Buenos Aires)
CONFERENCE:
วันศุกร์ที่ 26ก.ค. 2556 สถานที่ TCDC, โรงภาพยนต์ ที่ 5 SFX ดิ เอ็มโพเรียม
หัวข้อ: How does a character acquire meaning? The History of Reading
Alberto Manguel ปัจจุบันอาศัยอยู่ในประเทศฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี ตาฮิติ โดยทำงานทั้งตรวจงาน แปลงาน อ่าน และเป็นบรรณาธิการ ในปี 2523 Manguel และ Gianni Guadalupi รวมรวมเนื้อหาพจนานุกรม Dictionary of Imaginary Places ทำให้ Manguel ได้เริ่มต้นทำงานกับสำนักพิมพ์และบรรณาธิการ Louise Dennys มาอย่างยาวนาน
Manguel เขียนบทความให้กับหนังสือพิมพ์แคนานาอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งยังทำงานให้ Canadian Broadcasting Corporation, New York Times และ Svenska Dagbladet ในปี 2535 นิยายของ Manguel เรื่อง News from a Foreign Country Came ได้รับรางวัล McKitterick Prize เขายังทำหน้าที่ดูแลหลักสูตร Maclean Hunter Arts Journalism ให้กับ Banff Centre for the Arts เป็นเวลาห้าปี และได้รับแต่งตั้งเป็นนักเขียนผู้ทรงคุณวุฒิของหลักสูตร Markin-Flanagan Program มหาวิทยาลัย University of Calgary เขาได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย รวมถึงรางวัล Guggenheim Fellowship ได้รับดุษฎีบัณฑิตกิติมศักดิ์จาก universities of Liège and Anglia Ruskin เมืองเคมบริดจ์ in Cambridge และได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ Officier de l’Ordre des Arts et des Lettres
เมือง Mondion ประเทศฝรั่งเศส
Alberto Manguel
www.alberto.manguel.com/
8. Gerry Leonidas (*พ.ศ. 2511)
CONFERENCE:
วันศุกร์ที่ 26ก.ค. 2556 สถานที่ TCDC, โรงภาพยนต์ ที่ 5 SFX ดิ เอ็มโพเรียม
หัวข้อ: You make it happen: document demand, typeface supply
WORKSHOP:
วันพุธที่ 24 ก.ค. 2556 คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หัวข้อ: Type and typography materclass
Gerry Leonidas เป็นอาจารย์อาวุโสด้านการออกแบบตัวอักษรที่ University of Reading ประเทศอังกฤษ โดยทำหน้าที่สอน ดูแลการสอน และบรรยายเกี่ยวกับการออกแบบตัวอักษรแลตัวพิมพ์ เขียนบทความเกี่ยวกับการออกแบบตัวพิมพ์ และมักถูกขอให้วิจารณ์งานออกแบบ เขาใช้ช่วงเวลาส่วนใหญ่ทำโครงการกับองค์กรต่างๆ ในการถ่ายทอดความรู้ เขาสนใจวิจัยในเรื่องแนวปฏิบัติการออกแบบตัวพิมพ์ เพื่อตอบสนองบริบทในวงกว้างขึ้น หรือในประเด็นที่เกี่ยวกับอักษร Greek เขาเป็นผู้อำนวยการหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิตด้านการออกแบบตัวพิมพ์ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ได้รับการยอมรับในแง่การสอนที่เน้นงานวิจัยเชิงปฏิบัติ เขาได้พัฒนาหลักสูตรภาคฤดูร้อนด้านการออกแบบตัวพิมพ์มาเป็นเวลาห้าปีจนถึงขั้นตอนสุดท้ายในปัจจุบัน ก่อนที่จะสามารถผลิตหลักสูตรใหม่ด้านการออกแบบตัวพิมพ์ที่เน้นการวิจัยและได้รับการรับรอง
เมืองรีดดิ้ง อังกฤษ
University of Reading, UK
www.reading.ac.uk
9. Ben Mitchell (*พ.ศ. 2519)
WORKSHOP:
วันพุธที่ 24 ก.ค. 2556 :10.00-15.00 น. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หัวข้อ: Practical Thai typeface design
Ben Mitchell มีประสบการณ์ทำงานด้านการออกแบบมาหลายด้าน ก่อนที่จะมาศึกษาหลักสูตร MA in Typeface Design ที่ University of Reading ผลงานขณะศึกษาของเขาคือ การสร้างชุดตัวอักษรทั้งละติน พม่า และไทย ซึ่งเป็นก้าวใหม่อันนำไปสู่การเจรจาที่ดีขึ้น เนื่องจากพม่าเริ่มพัฒนาอย่างระมัดระวังหลังจากปิดตัวเองจากสังคมโลกหลายทศวรรษ ประสบการณ์การใช้ชีวิตในประเทศไทยระหว่างปี 2545 – 2549 และการเดินทางไปพม่าหลายครั้ง ทำให้เบนสามารถประมวลระบบการเขียนของภาษาเหล่านี้ออกมาได้อย่างงดงาม โดยไม่ทำให้เกิดความเอนเอียงไปทางภาษาละติน
เบนศึกษาองค์ประกอบแวดล้อมของภาษาเขียนพม่า เช่น อักขระ อักษรคัมภีร์ใบลาน และหนังสือพับ เพื่อเป็นแนวทางการศึกษาภาษาพม่าที่มีความคุ้นเคยน้อยกว่า นอกจากนี้ เขายังสำรวจตัวพิมพ์ของพม่าทั้งหมดที่ทำด้วยโลหะ นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2319 – 2519 เพื่อจัดทำผังอธิบายการพัฒนาของภาษาพม่าในเชิงวิชาการเป็นครั้งแรก โดยเริ่มตั้งแต่รากภาษาพราหมณ์จนมาเป็นตัวพิมพ์ภาษาพม่าที่ใช้กันทุกวันนี้ ปัจจุบัน เบนอาศัยอยู่ในเมือง Brighton ประเทศอังกฤษ โดยทำงานเป็นนักออกแบบตัวพิมพ์อิสระ
เมือง Brighton ประเทศอังกฤษ
MATD Blog
ohbendy.tumblr.com
10. Prof. Sybille Krämer (*พ.ศ. 2494)
SYMPOSIUM:
วันเสาร์ 27 ก.ค. 2556 สถานที่ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หัวข้อ: Keynote – Notational Iconicity: a New Concept in the Humanities
Prof. Sybille Krämer เป็นศาสตราจารย์สาขาปรัชญาที่ FU Berlin ตั้งแต่ปี 2532 เป็นต้นมา เธอทำหน้าที่เป็นอาจารย์พิเศษให้แก่สถานศึกษาในกรุงโตเกียว เวียนนา กราซ ซูริค และลูเซิร์น อีกทั้งเป็นสมาชิกสมาพันธ์ German Council of Science and Humanities ตั้งแต่ปี 2543 ถึง 2549 เป็นสมาชิกถาวรสถาบัน Institute for Advanced Study Berlin ระหว่างปี 2549 ถึง 2551 เป็นสมาชิก Scientific Panel of the European Research Council ตั้งแต่ปี 2550 เป็นหัวหน้าโครงการ TOPI research network ตั้งแต่ปี 2551 เป็นโฆษกให้แก่ »Notational Iconicity« Research Training Group ชองสถาบัน German Research Foundation ตั้งแต่ปี 2551และเมื่อปี 2553 ได้รับแต่งตั้งเป็นสภาผู้ทรงคุณวุฒิของ German Research Foundation
กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน
Freie Universität Berlin
www.fu-berlin.de
11. Oliver Linke (*พ.ศ. 2514)
WORKSHOP:
วันพุธที่ 24 ก.ค. 2556 Cadson Demak ทองหล่อ 4
หัวข้อ: การผลิตฟ้อนท์ จากร่างไปสู่แบบที่สมบูรณ์
Oliver Linke ศึกษาด้านกราฟิกดีไซน์ที่ University of Applied Sciences Augsburg ประเทศเยอรมัน และที่ University of Missouri เมืองแคนซัส เขาศึกษาต่อด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ ศิลปศึกษา และปรัชญาที่ University of Augsburg. ปัจจุบันทำงานเป็นนักออกแบบ ที่ปรึกษา อาจารย์ และนักเขียน นอกจากนี้ ยังเป็นเจ้าของสตูดิโอออกแบบ เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Lazydogs Typefoundry สอนหนังสือที่ Munich Designschool สถาบันการศึกษาอีกหลายแห่ง รวมทั้งจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการระหว่างประเทศ เขายังเขียนงานด้านวิชาการสองชิ้นคือ Renaissance writing master (2007) และ 20th century Munich sign painter (2013) และเขียนบทความให้กับนิตยสารออกแบบของเยอรมัน PAGE อย่างต่อเนื่อง ในปี 2555 เขาได้รับคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถาบัน Typographische Gesellschaft München
เมืองมิวนิค ประเทศเยอรมัน
Lazydogs Typefoundry
www.lazydogs.de
12. Gerard Unger (*พ.ศ. 2485)
CONFERENCE:
วันศุกร์ที่ 26ก.ค. 2556 สถานที่ TCDC, โรงภาพยนต์ ที่ 5 SFX ดิ เอ็มโพเรียม
หัวข้อ: Legibility in the modern world How do I orient myself in a world with many languages and scripts?
WORKSHOP:
วันพุธที่ 24 ก.ค. 2556 :10.00-15.00 น. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หัวข้อ: สัญลักษณ์ขนาดเล็กเพื่อการสื่อสาร – การออกแบบอักษรสำหรับสมาร์ทโฟน
Gerard Ungerศึกษาด้านกราฟิกดีไซน์ การออกแบบตัวพิมพ์และอักขระจากสถาบัน Gerrit Rietveld Academy อันทรงเกียรติในกรุงอัมสเตอร์ดัมจนถึงปี 2510 ต่อมาในปี 2515 นักออกแบบผู้ได้รับรางวัลมากมายผู้นี้ ได้ออกแบบแสตมป์ เหรียญ นิตยสาร หนังสือพิมพ์ หนังสือ โลโก้ แบบอัตลักษณ์สำหรับองค์กร รายงานของธุรกิจต่างๆ และอีกมากมาย เขาได้ออกแบบอักษรมากกว่า 20 แบบ ซึ่งรวมถึง Swift, Capitolium, และ Paradox ปัจจุบันเขาสอนหนังสือที่ University of Reading ภาควิชา Department of Typography and Graphic Communication และเป็นศาสตราจารย์ด้านการออกแบบตัวอักษรที่ Leiden University ประเทศเนเธอร์แลนด์ ด้วย หนึ่งในผลงานชิ้นล่าสุดของเขาคือ หนังสือ »Wie man’s liest« (แปลตรงตัวว่า ขึ้นอยู่กับว่าเราจะมองมันอย่างไร) จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Niggli
Bussum, NL
University of Reading, Universität Leiden
www.gerardunger.com
13. Robert Bringhurst (*พ.ศ. 2489)
CONFERENCE:
วันศุกร์ที่ 26ก.ค. 2556 สถานที่ TCDC, โรงภาพยนต์ ที่ 5 SFX ดิ เอ็มโพเรียม
หัวข้อ: The Ecosystem of Meaning
Robert Bringhurs เป็นทั้งกวี นักภาษาศาสตร์ และนักออกแบบอักษรที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งในโลก เขาเป็นผู้แต่งหนังสือบทกวีมากกว่ายี่สิบเล่ม ซึ่งรวมถึงหนังสือรวมบทกวีเด่นของ Jonathan Cape ที่ตีพิมพ์ที่ลอนดอนเมื่อเร็วๆ นี้ หนังสือเรื่อง The Elements of Typographic Style ของเขาได้รับการยอมรับและอ้างอิงจากวิทยาลัยด้านการออกแบบและสำนักพิมพ์ทั่วโลก ปัจจุบันตีพิมพ์ครั้งที่ 4 ในปี 2555 และได้รับการแปลเผยแพร่ราว 10 ภาษา การศึกษาวรรณกรรมปากเปล่าของชาวอเมริกันดั้งเดิมเรื่อง A Story as Sharp as a Knife: The Classical Haida เป็นงานวิจัยที่สร้างความตื่นตัวในวงการอย่างมาก
หนังสือเรื่อง Mythtellers and Their World และหนังสือแปลจากชุดวรรณกรรมปากเปล่า Haida อีกสองเล่มได้รับรางวัล Edward Sapir Prize จากสมาคม Society for Linguistic Anthropology และได้รับเลือกให้เป็นวรรณกรรมดีเด่น Literary Editor’s Book of the Year จาก Times of London สำหรับงานเขียนล่าสุดของเขาคือเรื่อง The Surface of Meaning: Books and Book Design in Canada (2008) เรื่อง The Solid Form of Language: An Essay on Writing and Meaning (2004) และหนังสือรวมบทความและบทบรรยายอีกสองชุดคือ เรื่อง The Tree of Meaning (2006) และ Everywhere Being Is Dancing (2007)
14. MyungJin Kim (*พ.ศ. 2508)
WORKSHOP:
วันพฤหัสบดีที่ 25 ก.ค. 2556 : ห้อง 985 ตึก 9 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (วิทยาเขต กล้วยน้ำไทย)
หัวข้อ: 2-dimensional elements in Korean Typography (by Joseph Albers way)
MyungJin Kim (*พ.ศ. 2508) เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัย University of Illinois at Urbana-Champaign ในประเทศสหรัฐฯ ภายหลังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านวรรณกรรมฝรั่งเศสในเกาหลี ขณะกำลังศึกษาที่สหรัฐฯ เธอได้เรียนรู้เรื่องกราฟิกดีไซน์ผ่านการเรียนออกแบบตัวอักษรกับ David Colley และ Ken Carls การศึกษาระดับปริญญาโทด้านมัลติมีเดียศิลปะจาก San Jose State University ที่ซิลิคอนวัลเล่ย์ทำให้ฐานความรู้ด้านมัลติมีเดียดีไซน์มีความครอบคลุมมากขึ้น หลังจากที่สำเร็จการศึกษาไม่นาน จึงได้เปิดสตูดิโอของตัวเองที่กรุงโซล และสอนหนังสือที่ Samsung Art and Design Institute (SADI) ไปด้วย
ปัจจุบันเธอเป็นศาสตราจารย์ประจำภาควิชาที่สถาบัน SADI ทำหน้าที่สอนเรื่ององค์ประกอบมิติในเทอมแรก และสอนเรื่องสีในเทอมสอง ให้แก่นักศึกษาสาขาแฟชั่นดีไซน์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ และการออกแบบเพื่อการสื่อสาร มาตั้งแต่ปี 2544 เธอได้รับรางวัล Excellence Award (1996) จาก American Corporate Identity และได้จัดแสดงงานศิลปะที่แกลเลอรี่หลายแห่งเช่น Stenerson Museum ณ กรุงออสโล ประเทศนอรเวย์ และ Chicago Cultural Center ประเทศสหรัฐฯ รวมทั้งที่เม็กซิโก ญี่ปุ่น และเกาหลี
เขตกังนัม สาธารณรัฐเกาหลี
Samsung Art and Design Institute, SADI
www.sadi.net
15. Hrant Papazian (*พ.ศ. 2511)
SYMPOSIUM:
วันเสาร์ 27 ก.ค. 2556 สถานที่ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หัวข้อ: Tourists, natives and immigrants in Non-Latin Typeface design
Hrant Papazian (*พ.ศ. 2511) เป็นชาวเลบานอน เชื้อชาติอาร์เมเนีย เขามีความสนใจในการสื่อสารผ่านภาษาเขียนในช่วงส่งผลงานออกแบบเข้าประกวดสามรายการ ปัจจุบันเขาอาศัยอยู่ที่ลอส แองเจลิส มีความสุขกับสลัดในแบบอาร์เมเนีย ปัจจุบันเป็นนักออกแบบมัลติมีเดีย เขาหลงใหลในโทนสีขาวดำ แต่กลับชื่นชอบการออกแบบตัวพิมพ์ที่ไม่ใช่ละติน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีสีสันอย่างมาก
Hrant ได้รับรางวัลการออกแบบตัวอักษรจากนิตยสาร Critique, Granshan และ Creative Review และเป็นวิทยากรในงานสัมมนานานาชาติด้านการออกแบบตัวอักษรหลายแห่ง ตั้งแต่ San Francisco ถึง Thessaloniki เขาทำงานให้กับหลายองค์กร ได้แก่ Agfa, Unitype, IKEA, the Narod Cultural Institute, Disney, UCLA, the Israel Postal Authority, Microsoft, TeX Users Group และมหาวิทยาลัย Liverpool
ลอสแองเจลิส สหรัฐฯ
The MicroFoundry
themicrofoundry.com
16. Edik Ghabuzyan (*พ.ศ. 2495)
SYMPOSIUM:
วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม 2556
สถานที่: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
Topic: History of Creating and Develpoment of Armenian Scripts
Edik Ghabuzyan ได้ทำงานในการสร้างตัวอักษรอาร์เมเนียตั้งแต่ปี 1987 อัลบั้มแบบอักษรอาร์เมเนียของเขาได้ถูกตีพิมพ์เมื่อปี 2004 และรูปแบบตัวอักษรของเขาถูกจัดแสดงในงานนิทรรศการในลิงคอล์ ลอนดอน นิวแฮมป์เชียร์ เซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก มอสโก มิวนิก อเล็กซานเดรีย เยเรวาน และ Oshakan บทความของเขาเกี่ยวกับศิลปะการออกแบบอาร์เมเนียได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสารและได้กล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมนานาชาติด้วย แบบอักษรของเขา คือ Marium และ Grapalat ได้รับการรับรองโดยรัฐบาลของสาธารณรัฐอาร์เมเนียว่าเป็นแบบอักษรที่เป็นทางการสำหรับใช้ในสำนักงานของรัฐ Edik Ghabuzyan เป็นผู้ริเริ่มและก่อตั้งการแข่งขันการออกแบบนานาชาติ : Granshan ตอนนี้เขาทำงานให้กับสภาหนังสือแห่งชาติของอาร์เมเนียในตำแหน่งผู้บริหารฝ่ายสร้างและรักษาตัวอักษรอาร์เมเนียและสอนการออกแบบใน State Academy of Fine Arts ที่อาร์เมเนียอีกด้วย
Yerevan, AM
Department of National Book Chamber
www.book-chamber.am
17. Paul D. Hunt
SYMPOSIUM:
วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม 2556
สถานที่: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Topic: Typography enablement for emerging markets
Paul D. Hunt เริ่มต้นทำงานการออกแบบตัวอักษรในปี 2005 เขาเริ่มต้นโดยเป็นพนักงานฝึกงานที่ P22 type foundry ในที่นี้เขาได้รับประสบการณ์ในการแปลงดิจิทัลและขยายการออกแบบตัวพิมพ์ รวมถึงได้รับการสนับสนุนในบางการออกแบบด้วย ในขณะที่ยังศึกษาที่ University of Reading ซึ่งเป็นที่เดียวกับที่เขาได้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้านการออกแบบตัวอักษรในปี 2008 ด้วย ตั้งแต่นั้นมา Paul ทำงานให้กับ Adobe โดยมุ่งเน้นในการพัฒนาและออกแบบตัวอักษรสำหรับตะวันออกกลางและระบบการเขียนแบบอินเดีย เขามุ่งมั่นที่จะพัฒนาตัวอักษรให้ได้รับความนิยมมากที่สุดในระบบการเขียนของอินเดีย Paul เป็นนักออกแบบของ Adobe เปิดตัวครั้งแรกกับ source type families, Source Sans และ Source Code เขาได้ออกแบบร่วมกับ Adobe Gurmukhi
San Jose, USA
Adobe
www.adobe.com
18. Adam Twardoch (*พ.ศ. 2518)
SYMPOSIUM:
วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม 2556
สถานที่: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Topic: Beyond outlines. What Non-Latin Type can learn from the emoji
Adam Twardoch อยู่เบอร์ลิน ทำงานด้านของเทคโนโลยีแบบตัวอักษร, Non-Latin typography, CSS Wwbfonts, Unicode และ Opentype ในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์และการตลาดที่ Fontlab Ltd. เขาร่วมสร้างเครื่องมือซอฟต์แวร์ที่นักอออกแบบตัวอักษรใช้ในชีวิตประจำวัน และยังเป็นผู้รับผิดชอบในการตอบคำถามทั้งหมดเกี่ยวกับตัวอักษร Non-Latin และที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคอีกด้วย นอกจากนี้เขายังทำงานเป็นที่ปรึกษาด้านตัวอักษรและผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์ทั่วโลก Adam Twardoch ได้ทำการสอนและฝึกอบรมเกี่ยวกับการสร้างตัวอักษรในอังกฤษ อเมริกา เยอรมัน รัสเซีย โปแลนด์และอีกหลายประเทศ ทั้งนี้เขายังเป็นคณะกรรมการของ ASSociation Typographique Internationale (Atypl)
Berlin, D
Fontlab
www.fontlab.com
19. Ahn Sang-Soo
SYMPOSIUM:
วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม 2556
สถานที่: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Ahn Sang-Soo เป็นหนึ่งในนักออกแบบผู้ทรงอิทธิพลในเอเชียตะวันออกมายาวนาน เขาพัฒนางานด้านการออกแบบตัวอักษรในประเทศบ้านเกิดที่เกาหลี ซึ่งเขามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป เขาเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงของอักขระฮันกุลของเกาหลี เขามีประสบการณ์การทำงานด้านออกแบบและการสอนหนังสือมาอย่างยาวนาน Ahn Sang-Soo จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย Hongik ในกรุงโซลที่ซึ่งปัจจุบันเขาสอนหนังสืออยู่ นอกจากนี้ เขายังทำงานแปลงานสัมมนาด้านการออกแบบตัวอักษรของ Jan Tschichold และ Emil Ruder เขาได้รับรางวัลและเกียรติยศมากมาย รวมทั้งการยกย่องจากสถาบัน Korean Language Academy ในฐานะผู้พัฒนาภาษาฮันกุล เมื่อต้นปีพ.ศ. 2526 เขาได้รับคัดเลือกเป็นนักออกแบบแห่งปี โดยนิตยสาร Design และได้รับรางวัลจากในและต่างประเทศอีกมากมาย เขาเป็นทั้งบรรณาธิการและผู้กำกับศิลป์ของนิตยสารศิลปะใต้ดินที่มีชื่อว่า Report ในช่วงปี 2540-2544 เขาดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถาบัน Icograda ต่อมาในเดือนตุลาคม 2543 เขาเป็นประธานงานประชุมสุดยอดของ Icograda »Oullim 2000« ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงโซล นอกจากนี้ เขายังทำโครงการเผยแพร่ความรู้ด้านศิลปะของ Icograda ในปี 2544 เขาจัดงานประชุมนานาชาติด้านการออกแบบตัวอักษร »Typojanchi« ที่กรุงโซล
กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี
Hongik University
www.ssahn.com