Moscow Attitude

ไม่ว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่ผมอยู่กรุงเทพ ทำให้ผมระลึกถึงความทรงจำเกี่ยวกับเมืองที่ผมคุ้นเคยเป็นอย่างดี ผมเติบโตขึ้นมาในกรุงโตเกียวในช่วง ค.ศ.1980 เป็นช่วงเวลาสำคัญที่มีการคิดถึงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของญี่ปุ่น

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 วัฒนธรรมการใช้ชีวิตของคนญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลอย่างมากจากสหรัฐอเมริกา ช่วงครึ่งปีหลังของค.ศ. 1980 ได้มีการจารึกว่าเป็นจุดเริ่มต้นของญี่ปุ่นยุคใหม่ เมื่อวัยรุ่นในโตเกียวริเริ่มคิดค้นสไตล์ของตัวเองที่ผสมผสานกันระหว่างวัฒนธรรมของญี่ปุ่นและอเมริกันเข้าด้วยกัน พลังแห่งความคิดสร้างสรรค์ของวัยรุ่นเหล่านี้ทำให้กรุงโตเกียวมีสีสัน ซึ่งเห็นเด่นชัดในสังคมวัตถุนิยมที่แฟชั่นและศิลปะได้รับการผสมผสานเข้าด้วยกัน มันสะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการอันลึกซึ้งของการเปลี่ยนมุมมองทางสังคม สิ่งที่ตามมาคือ คนรุ่นหลังได้พัฒนากระแสใหม่ ๆ ส่งผลให้ญี่ปุ่นกลายมาเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง

กรุงมอสโกก็เป็นอีกเมืองหนึ่งที่ผมคิดถึง ผมใช้เวลาหลายปีที่นั่น และมีความรู้สึกพิเศษที่เกิดขึ้นผ่านกลุ่มเด็กวัยรุ่นบนท้องถนนของกรุงมอสโก มันทำให้ผมรู้สึกหลงใหล และนึกไปถึงกรุงโตเกียวยุค 80 ที่เด็กวัยรุ่นญี่ปุ่นถูกเลี้ยงดูภายใต้กฎระเบียบที่ครอบครัววางไว้อย่างเคร่งครัด ในขณะที่วัยรุ่นในมอสโกเติบโตด้วยการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมดั้งเดิมของรัสเซียและวัฒนธรรมตะวันตกเข้าด้วยกัน ซึ่งค่อย ๆ พัฒนาจนกลายมาเป็นวัฒนธรรมเฉพาะตัวของตัวเอง สิ่งเหล่านี้เป็นแรงบันดาลใจให้ผมสร้างผลงานศิลปะภาพถ่ายของวัยรุ่นในกรุงมอสโกที่ผมได้พบเห็นมา

คล้ายๆ กันกับกรุงมอสโก กรุงเทพในปัจจุบันมีกลิ่นอายของ ค.ศ.1980 ผมมองว่าวัยรุ่นในกรุงเทพได้รับอิทธิพลจากอเมริกันและญี่ปุ่นเป็นจุดที่พวกเขาจะแสดงมุมมองและรูปแบบของตัวเองออกมา พวกเขามีความคิดสร้างสรรค์ เป็นตัวของตัวเอง และมีแรงผลักดัน ในขณะเดียวกันก็ยังสามารถรักษาค่านิยมแบบเก่าไว้ได้ ผมยังมองเห็นช่วงเวลาเก่าๆ ที่ดีในเมืองไทย แต่ในกรุงโตเกียวนั้นอยู่ในจุดที่เศรษฐกิจได้พัฒนาไปถึงช่วงที่วัฒนธรรมเก่าๆ ได้สูญหายไปแล้ว

ผมวางตัวเองไว้ระหว่างกรุงเทพและกรุงมอสโก สองเมืองนี้ทำให้ความทรงจำของผมหวนย้อนไปถึงโตเกียวใน ค.ศ. 1980 ผมเน้นประเด็นไปที่กลุ่มวัยรุ่น มุมมองและทัศนคติของพวกเขาเปรียบเสมือนการเชื่อมต่ออดีตมาจนถึงปัจจุบัน และสามารถสะท้อนภาพทิศทางของอนาคตได้

นิทรรศการ : ภาพถ่าย Moscow Attitude
ศิลปิน : เคนโกะ โอทาเขะ
วันที่ : 2 เมษายน – 30 เมษายน 2557
สถานที่ : ผนังโค้ง ชั้น 3 – 4 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อสำนักงานหอศิลปกรุงเทพฯ : 02-214-6630 – 8

You may also like...