Christian Louboutin

ในปี 1992 บูติกแห่งแรกของคริสติยอง ลูบูแตง ถือกำเนิดขึ้น ณ บ้านเลขที่ 19 ถนนฌอง ฌาค รุสโซ ในกรุงปารีส ปัจจุบันได้เพิ่มขึ้นกลายเป็น 83 แห่งทั่วโลก ซึ่งมีแผนกสินค้าเฉพาะสุภาพบุรุษ รวมอยู่ในบูติกจำนวนหนึ่งของเราด้วย ในหนังสือของริซโซลี กล่าวว่า สินค้าภายใต้ชื่อ คริสติยอง ลูบูแตง มียอดขายเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ นี้เป็นสิ่งที่แสดงถึงความสำเร็จของบริษัทในช่วงกว่าสองทศวรรษที่ผ่านมา และยังคงเห็นประจักษ์ได้ชัดเจนอยู่ในขณะนี้ด้วย

ที่ผ่านมาล่าสุด คริสติยอง ลูบูแตงได้ร่วมงานในโอกาสพิเศษกับคณะคาบาเร่ต์ปารีเซียง และคณะคาบาเร่ต์เครซี่ ฮอร์ส ในตำนาน รวมถึงสตูดิโอของวอลต์ ดิสนีย์ รวมถึงการร่วมงานในโอกาสพิเศษกับวงการดนตรี ศิลปะ และภาพยนตร์ ที่กลายเป็นสัญลักษณ์ด้านความชำนาญในการสร้างสรรค์ของดีไซน์เนอร์ไปแล้ว นวัตกรรมด้านการออกแบบภาพถ่ายนี้ ได้เคยจัดแสดงในนิทรรศการเมื่อปี 2012 ที่พิพิธภัณฑ์การออกแบบอันทรงเกียรติของลอนดอน และเพิ่งไปจัดแสดงที่ศูนญ์เพื่อการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนศิลปะการออกแบบเมืองโตรอนโต้ ประเทศแคนาดา

แรงบันดาลใจหลักตลอดมาของลูบูแตง คือ ความงามของหญิงสาว และในปี 2014 นี้ จะเป็นช่วงเวลาที่ได้อ้าแขนต้อนรับความงามจากคริสติยอง ลูบูแตง อีกครั้ง

คริสติยอง ลูบูแตง เปิดตัวบูติคแห่งแรกในประเทศไทย
คริสติยอง ลูบูแตง ดีไซน์เนอร์และเครื่องหนังชั้นสูงจากฝรั่งเศสเปิดบูติกแห่งแรกขึ้นที่ประเทศไทย ด้วยความภาคภูมิใจ บูติกแห่งแรกนี้ตั้งอยู่ที่ชั้น G ของ Central Embassy ห้างสรรพสินค้าสุดหรูแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ โดยเปิดตัวขึ้นพร้อมกับคอลเล็กชั่น รองเท้า กระเป๋า และเครื่องหนังของทั้งสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษประจำฟดูร้อนปี 2014

บริษัท Rooshad Shroff ซึ่งตั้งอยู่ในอินเดีย ได้รับผิดชอบงานด้านออกแบบและสถาปัตยกรรมร่วมกับดีไซน์เนอร์ เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมให้กับพื้นที่ของบูติกแห่งนี้ โดยผสานรูปลักษณ์ที่งามสง่าของอาคาร เข้ากับสิ่งรายรอบให้เกิดเป็นสัมผัสแห่งพลังอันเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ เริ่มตั้งแต่ผนังหินอ่อนสีขาวด้านหน้า จากนั้นแบ่งพื้นที่ภายในออกเป็น 3 ส่วน จัดเป็นห้องแยกเฉพาะ เพื่อนำเสนอคอลเล็กชั่นรองเท้าของสุภาพสตรี กระเป๋า และคอลเล็กชั่นรองเท้าของสุภาพบุรุษตามลำดับ บูติกของคริสติยอง ลูบูแตง คือเอกลักษณ์ของการผสมผสานระหว่างการตกแต่งภายในแบบไทยแท้เข้ากับอิทธิพลศิลปะแบบปารีส พื้นที่สำหรับคอลเล็กชั่นสุภาพสตรีนั้นเน้นความเรียบหรูด้วยผนังหินอ่อนขัดเงาสีขาวงามสง่า การตกแต่งที่เรียบโก้ ทำให้สินค้ากลายเป็นจุดเด่นที่ดึงดูดสายตา

เมื่อตรงเข้าไปด้านใน ห้องที่สองซึ่งเป็นพื้นที่ใจกลางของบูติก จัดแสดงคอลเล็กชั่นกระเป๋า พื้นที่นี้ได้นำเสนอวัสดุใหม่ๆที่มีเนื้อสัมผัสหรูหราในสไตล์การตกแต่งแบบไทยๆนั่นคือ พื้นกระเบื้องเซรามิกมันเงาแวววาวราวกับเกล็ดปลา งานฝีมือแกะหินสลัก และผ้าปักเลื่อมทองแดง

ห้องที่สามจัดแสดงคอลเล็กชั่นของสุภาพบุรุษ ลักษณะของการผสมหินสีเทาเข้ากับหนัง ช่วยสะท้อนตัวตนของหนุ่มๆได้ดี ผนังสองด้านปูกระเบื้องหนังตกแต่งลวดลายรอยสักยันต์แบบไทย ตามความเชื่อของไทย ยันต์มีอำนาจลึกลับศักดิ์สิทธิ์ ช่วยปกป้องและบันดาลให้เกิดโชคดี นอกจากนี้ ส่วนประกอบสุดพิเศษต่างๆภายในบูติก อย่างเช่น ลายสักยันต์บนกระเบื้องผนัง ก็เชื่อมโยงเข้ากับบริการตกแต่งลวดลายบนรองเท้าที่บูติกของคริสเตียน ทั่วโลก ที่เป็นเสมือนรอยสักที่ลูกค้าสามารถเลือกให้กับรองเท้าได้

บูติกแห่งนี้เปิดตัวขึ้นพร้อมกับการนำเสนอคอลเล็กชั่นฤดูใบไม้ผลิ-ฤดูร้อน 2014 ซึ่งมีตั้งแต่รองเท้าคลาสสิกของสุภาพสตรีอย่าง So Kate และรองเท้าส้นเข็มอย่าง Pigall ไปจนถึงรองเท้าที่ดูสบายๆ ผ่อนคลายมากขึ้นอย่าง Rantus Orlato และรองเท้าผ้าใบหุ้มข้อส้นสูงอย่าง Louis สำหรับสุภาพบุรุษที่ชื่นชอบสไตล์แบบดั้งเดิม คอลเล็กชั่นมาดโก้อย่าง Bruno Orlato Chorale และรองเท้าส้นแบน Dada คงจะน่าดึงดูดใจไม่น้อย ในขณะที่ถ้าต้องการลุคที่ชัดเจน แต่สบายๆไม่เป็นทางการนัก คอลเล็กชั่น Roller-boat Rantus และรองเท้าส้นแบน New Papiounet ก็น่าสนใจเช่นกัน

สำหรับคอลเล็กชั่นกระเป๋านั้น ก็นำเสนอรายละเอียดมากมายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะไม่ซ้ำใคร ตัวอย่างเช่น กระเป๋า Panettone ที่ตกแต่งด้วยหมุดตาไก่เล็กๆซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากกะลาสีเรือ ฝาปิดกระเป๋าประดับโลหะรูปร่างคล้ายแมลงปีกแข็งอย่าง Khepira และหมุดแหลมหลากสีบนกระเป๋าคลัชท์อย่าง Loubiposh สีสันใหม่ๆสร้างชีวิตชีวาให้กระเป๋าสุดคลาสสิกอย่าง Sweet Charity ในขณะที่หมุดแหลมสีพาสเทลและเม็ดประกายแวววาวได้สร้างลูกเล่นให้กระเป๋าขนาดมินิอย่าง Sweet Charity ดูแปลกตาขึ้น

สินค้าของคริสติยอง ลูบูแตง มีจำหน่ายในบูติกสาขาต่างๆทั่วโลก
Website: http://www.christianlouboutin.com
Twitter : @LoubotinWord
Facebook:@Christianlouboutin
Instagram:@Louboutinworld

อรณิชา สันทรานันท์
เบอร์โทร : 089-112-1230
อีเมล : o.suntharanund@th.christianlouboutin.com

You may also like...