นักจิตวิทยาในช่วงศตวรรษที่ 19 หรือ 80-90 ปีที่ผ่านมา ได้ศึกษาเรื่องความฝันอย่างจริงจัง เพราะเชื่อว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับจิต ไม่ใช่ลางบอกเหตุในอนาคต กลับจะเป็นตัวบ่งชี้ความนึกคิดก่อนฝันเสียด้วยซ้ำ อย่างทฤษฎีของ ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) จิตสำนึกหรือจิตรู้สำนึก (Conscious mind) หมายถึงภาวะจิตที่รู้ตัวอยู่ได้แก่ การแสดงพฤติกรรม เพื่อให้ สอดคล้องกับหลักแห่งความเป็นจริง
หลังจากจบการศึกษาเกี่ยวกับศิลปะ นักศึกษาศิลปะส่วนใหญ่เลือกที่จะประกอบอาชีพหลักที่อาจจะเกี่ยวเนื่องกับศิลปะ บางคนเลือกที่จะทำงานที่ต่างออกไปจากสายงานที่เรียนมา เพราะความจำเป็นทางด้านการเงิน สิ่งที่ทำควบคู่ไปกับการหาเงินคือการทำงานศิลปะ หากการทำงานศิลปะเปรียบเสมือนการบันทึกช่วงเวลา แห่งความทรงจำ ทั้งในอดีตและปัจจุบันที่ควบคู่กันไป ผ่านการสร้างสรรค์ในรูปแบบต่างๆ เช่น การจดบันทึก การเขียน การถ่ายภาพ และบางครั้งการสร้างสรรค์ผลงาน ได้แรงบันดาลใจมาจากการประกอบอาชีพในปัจจุบันของตัวศิลปินเอง
การขับเคลื่อนทางศิลปะปัจจุบันอาจเกิดขึ้นจากกลุ่มคนจำนวนเล็กน้อย หรือหน่วยย่อยขององค์กร บุคคล การขับเคลื่อนเล็กๆนี้เอง ทำให้เกิดพื้นที่ทางศิลปะในกรุงเทพฯ ความหวัง ความฝัน สิ่งที่ยังคงติดอยู่ แรงขับที่เกิดจากการคั่งค้างของความคิด ศิลปะไม่ได้ดำรงอยู่เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของความดีงามแต่เพียงอย่างเดียว ศิลปะยังคงสร้างหน้าที่ของศิลปินให้เกิดขึ้น ต่อสังคม(การเมือง)และต่อวงการศิลปะเอง นิทรรศการ “สัปงก”(DROWSE) อาจจะเหมือนกับอาการอดนอนจากการทำงาน หาเงินหรือทำงานศิลปะที่บางครั้งเป็นแค่การเติมเต็มความฝันก่อนที่เราจะตื่นนอน
นิทรรศการศิลปะ “DROWSE”(สัปหงก) ประกอบด้วยศิลปินรุ่นใหม่จำนวน8คน ที่ยังคงประกอบอาชีพและทำงานศิลปะอยู่ในกรุงเทพฯ
เปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันศุกร์ที่ 14 พ.ย. 57-14 ธ.ค.57 ที่ Use Space ถนนสามเสน ใกล้ปากซอยสามเสน 24
ขอเชิญร่วมพิธีเปิดนิทรรศการวันที่ 14พ.ย.57 เวลา 18.00- 22.00 น.
นิทรรศการศิลปะ : “DROWSE”(สัปหงก)
ศิลปิน : กัมปนาท สังข์สร, ชัยวัช เวียนสันเทียะ, พรภพ สิทธิรักษ์, วิชรุตน์ สังข์สุข , สิทธินนท์ พงศ์รักธรรม, อธิธัช นิ่มมา, อธิษฐ์ ยศถามี , เอกลักษณ์ สาธิตธวัช
วันที่ : 14 พ.ย. 57-14 ธ.ค.57
สถานที่ : Use Space (ถนนสามเสน ใกล้ปากซอยสามเสน 24)
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร : 081-458-0116
เว็บไซต์ : https://www.facebook.com/UseSpaceBkk