“ประเทศจะดีขึ้นเยอะถ้าเลิกมีคำขวัญ มันสะท้อนอาการเก็บกดของผู้ใหญ่” สุชาติ สวัสดิ์ศรี ศิลปินแห่งชาติ
เพราะบทบาทและชื่อเสียงของ สุชาติ สวัสดิ์ศรี นักเขียนเจ้าของนามปากกา สิงห์สนามหลวง ผู้ก่อตั้ง รางวัลช่อการะเกด นั้นไม่ใช่แค่บุคคลสำคัญผู้ได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์เมื่อปี พ.ศ. 2554 หากแต่เป็นหนึ่งเสาหลักของวงการวรรณกรรมไทยร่วมสมัย ในฐานะบรรณาธิการสื่อวรรณกรรมระดับตำนาน ที่สร้างนักเขียนชั้นนำมาประดับบรรณพิภพมาแล้วมากมายนับไม่ถ้วน
ทีมงานของเราได้มีโอกาสสนทนากับ คุณสุชาติ สวัสดิ์ศรี ในวันงานแถลงข่าวของสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่
ในแต่ละปีจะมีหน่วยงาน องค์กร หรือบุคคลสำคัญๆอย่างคุณ มาช่วยทำกิจกรรมดีๆเพื่อดูแลสังคม เยาวชน อยู่อย่างไม่ขาดสาย เพื่อดูแลโลกของการอ่าน เพื่อดูแลสังคม ในทางกลับกัน ถ้างานเหล่านี้ ไม่มีคนทำ จะเกิดอะไรขึ้น หากปล่อยให้สังคมโลก-สังคมไทยเคลื่อนหมุนไปตามยถากรรม โดยปราศจากคนอย่างคุณหรือองค์กรเกี่ยวกับหนังสือลุกขึ้นมาทำสิ่งเหล่านี้ คุณคิดว่าสังคมไทย เยาวชนไทยหรือโลกการอ่าน จะมีโฉมหน้าแบบไหน จะเกิดหายนะหรืออย่างไร
สุชาติ : ผมคนเดียวไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงโลกได้ ยังคิดเรื่องนี้อยู่แต่ไม่ได้เรียกร้อง เพราะเรียกร้องมาจนเบื่อแล้วในเรื่องว่ามันต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้
เดี๋ยวนี้มันก็หายนะแล้วในเรื่องการอ่าน อย่างที่คุณว่า…เรียนเยอะมากเด็กไทย กระเป๋าหนักมาก ผลปรากฎว่ามีงานวิจัยในแง่ภาพรวมของคำว่าการอ่านอยู่อันดับท้ายๆของอาเซียน มันสะท้อนอะไร มันสะท้อนว่าเรามีปัญหาเชิงโครงสร้าง ก็เกี่ยวข้องกับสองกระทรวง หรืออาจจะเกี่ยวข้องทั้งหมด อย่างเช่นรัฐประหารทีก็ทำข้อต่อหายไปที 1984 ก็มีปัญหาแค่นี้เองเรื่องแค่นี้ เรามีบทเรียนแต่ไม่รู้จักที่จะเข้าใจมัน แต่มักจะเรียกร้องคนอื่นโดยเฉพาะเด็กเป็นเครื่องมืออย่างดีที่สุดของผู้ใหญ่
เพราะฉะนั้นถ้ามันตะโกนบอกมาได้มันก็จะตะโกนบอกว่า เจ็บปวด สิ่งเหล่านี้มันสะท้อนมาจากผู้ใหญ่ เก็บกดในลักษณะว่า ลูกจะต้องได้เท่านั้นเท่านี้ หมายความว่าค่านิยม จบปริญญาตรีไม่พอต้องปริญญาโท ปริญญาเอก เอกไม่พอในประเทศก็ต้องไปต่างประเทศ หรือมีค่านิยมทำตามๆกัน ว่าคนนั้นทำได้เราต้องทำได้ ทำได้มากกว่าด้วย
สิ่งเหล่านี้ผู้ใหญ่เรียกร้อง น่าจะคุยกับเขาแล้วถามเค้าว่าบ้านของพรุ่งนี้ อนาคตหรือบ้านของพวกเขาจะสร้างบ้านแบบไหน เค้าจะบรรจุอะไรเข้าไปในบ้านนั้น เขาต้องการอะไร เราไม่ค่อยได้คิด เราปั้นความฝันให้เขาได้ แต่เขาต้องฝันของเขาเอง
ฟังเพลงหนังเรื่องเมโลดี้ Teach Your Children มันบอกไว้ชัดเลยว่าถึงมันจะห่ามยังไงมันก็รักคุณ เพียงแต่คุณต้องให้เขาเป็นตัวของเขาเอง
เพราะฉะนั้นบ้านของพรุ่งนี้ก็ยืนอยู่กับเขาเพียงแต่อย่าใกล้เขานัก ใกล้ขนาดเอารองเท้าไปลูบหน้าเขาตามที่เป็นข่าวก็ไม่ไหวนะ คือเรียนหนักแต่การอ่านในระดับอุดมศึกษามันถดถอยเพราะมันไม่เข้มแข็งไปพร้อมกับหนังสือประเภทซีเรียสริ้ดดิ้งทั้งหลาย เพราะถ้าหากทุกคนจบในชั้นอุดมศึกษาในสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ทั้งหลาย ได้อ่านหนังสือ 2,000 เล่มไม่น่ามีปัญหา หรือถ้าสังคมมีโครงสร้างว่าห้องสมุดสนใจหนังสือเชิงคุณภาพ 2,000-4,000 เล่ม ห้องสมุดในเมืองไทยน่าจะมีมากกว่านั้นไม่ต้องวางขายเลย ต่างประเทศหนังสือบางประเภทเขาไม่ได้วางทั่วไป เขาทำเพื่อชุมชน ทำเพื่ออะไรก็แล้วแต่ตามแบบที่ศิลปินต้องการ เขาก็มีเสรีภาพของเขา
ส่วนหนังสือในเชิงทั่วไปก็ไม่มีปัญหา คือมันมีความหลากหลายแต่ต้องมาพร้อมคุณภาพด้วย คุณภาพนี่จะมาเรียกร้องให้มันเท่ากันไม่ได้ แต่ว่าเราเรียกร้องจากคนที่มีโครงสร้างที่ผ่านจากสิ่งเหล่านี้มาได้ แต่ว่าของเราไม่ได้เลย
แล้วถ้าสิ่งที่คุณพยายามเรียกร้องและทำให้เกิดขึ้นประสบผลสำเร็จ คิดว่าประเทศไทยเราจะดีขึ้นอย่างไร
สุชาติ : ตัวอย่างคุณไม่ได้ให้มา ถ้าหากเขามีความเข้าใจอยู่บ้างต้องไม่ให้เด็กท่องค่านิยมสิบสองประการทุกเช้า เด็กมาบ่นกันเยอะ คำขวัญวันเด็กก็เลิกเสีย ประเทศไทยเราเต็มไปด้วยคำขวัญ
ประเทศจะดีขึ้นเยอะถ้าเลิกมีคำขวัญ มันสะท้อนอาการเก็บกดของผู้ใหญ่ อันที่จริงคนที่เจ็บปวดน่าจะเป็นผู้ใหญ่
ถ้าผู้ใหญ่เก็บกดมากเด็กมันก็เจ็บปวด
Interview : วรรณศิริ ศรีวราธนบูลย์ / พรทิพย์ ทองขวัญใจ
ArtMaster@ArtBangkok.com
Tel. 089 1132305