ผลการประกวด โมเดอร์นฟอร์มดีไซน์คอนเทสต์ ครั้งที่ 16

บริษัทโมเดอร์นฟอร์มกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จัดงาน โมเดอร์นฟอร์มดีไซน์คอนเทสต์ อย่างต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 16 ภายใต้โจทย์ “Functional Art” เพื่อชิงรางวัล M Design Award ซึ่งในปีนี้โมเดอร์นฟอร์มครบรอบ 35 ปี

จึงได้จัดการแข่งขันแบบ Reality Showcase ภายในระยะเวลา 35 ชั่วโมง ในวันที่ 12 – 13 มีนาคม 2558 มีนักศึกษาได้ผ่านการคัดเลือกจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศเข้าร่วมการประกวดจนเข้ารอบสุดท้าย 9 ทีม ได้แก่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก และมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยประกาศผลวันที่ 17 มีนาคม 2558 ณ โมเดอร์นฟอร์ม คริสตัลดีไซน์เซ็นเตอร์

ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานที่ผ่านมา โมเดอร์นฟอร์มให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคคลากรนักออกแบบไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับนักศึกษาให้มีเวทีในการสร้างสรรค์ผลงานเฟอร์นิเจอร์ จึงได้จัดงานโมเดอร์นฟอร์มดีไซน์คอนเทสต์ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการออกแบบของนักศึกษาไทยในเรื่องของการออกแบบผลิตภัณฑ์ เป็นเวทีที่สร้างความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาไทยในการพัฒนาความคิดในเชิงวิสัยทัศน์ทางธุรกิจ เพื่อสนับสนุนนักออกแบบไทยรุ่นใหม่ และร่วมพัฒนาการศึกษากับสถาบันการศึกษา เพื่อสร้างโอกาสให้กับนักศึกษาในการพัฒนาความสามารถสู่โลกการทำงานจริงในอนาคต

สำหรับโจทย์ในปีนี้เป็นการออกแบบ Functional Art โดยมีพื้นที่ในการติดตั้งผลงาน กว้าง 2 เมตร ยาว 2 เมตร และ สูง 3 เมตร เป็นการสร้างสรรค์งานศิลปะเพื่อประโยชน์ใช้สอย ติดตั้งกลางแจ้ง (สามารถอยู่ได้ 1 ปีในทุกสภาพอากาศ) สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ที่พบเห็นได้ และติดตั้งผลงานภายในระยะเวลา 35 ชั่วโมง

การตัดสินพิจารณาจาก การสร้างสรรค์ผลงานเพื่อประโยชน์ใช้สอยและสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้พบเห็น ความน่าดึงดูใจ / น่าสนใจ ความเป็นไปได้ทางการตลาด และความคิดสร้างสรรค์

รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 มูลค่า 250,000 บาทต่อทีม ( มหาวิทยาลัย 100,000 บาทและนักศึกษา 150,000 -) ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

ชื่อผลงาน : THE OBELISK :A PIECE OF RELAXATION

LET’S HAVE A BREAK ปัจจุบัน มนุษย์เรามุ่งที่จะเดินตามให้ทันกับเวลาที่หมุนไปอย่างรวดเร็วจนถูกกำหนดด้วยตัวเลขที่สมมุติขึ้นทั้งที่จริงแล้ว “เวลา” เป็นสิ่งที่ถูกกำหนดและเคลื่อนไปตามความสัมพันธ์ของธรรมชาติ “The Obelisk” จึงต้องการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับผู้ใช้งาน ผ่านการเคลื่อนที่ของเงาซึ่งเปรียบเสมือนจังหวะการเต้นของแสงอาทิตย์ ด้วยการนำแนวคิดการบอกเวลาของนาฬิกาแดดมาถ่ายทอดผ่านรูปทรงเข็มนาฬิกาสั้น-ยาว งาน Functional Art ชิ้นนี้ นอกจากจะป็น Landmark และบอกเวลาได้แล้ว ยังมีพนักพิงหลังซึ่งให้การพักผ่อน และให้ร่มเงาแก่ผู้ใช้งานรอบบริเวณในช่วงเวลาพักเที่ยงอีกด้วย

1.นายอัฑฒ์ สุพรชัย
2.นายณภัทร พงษ์พนัสนุกุล
3.นายวงศธร ชัยเชิดชูวงศ์
4.นายชิษณุ นูพิมพ์
5.นางสาวชัญญา ศุภวงศ์

รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 มูลค่า 100,000 บาทต่อทีม ( มหาวิทยาลัย 50,000 บาทและนักศึกษา 50,000 -) ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

ชื่อผลงาน : Rhythm

“สัมผัสแห่งความงาม”
สัมผัสแห่งความงาม คือ การรับรู้อันได้มาซึ่งการรับรู้นั้นๆ หากได้มีแต่การรับรู้ซึ่งความงามเพียงแต่วัตถุซึ่งอยู่นิ่ง การรับรู้ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอันเกิดจากเคลื่อนไหวของผู้รับรู้จะสามารถทำให้ผู้รับรู้นั้นเป็นหนึ่งเดียวกับ functional art นั้นๆ ดังนั้น functional art ชิ้นนี้จึงไม่ใช่เพียงการรับรู้อันเกิดจากผัสสะทั้ง 5 ทั่วไป แต่เกิดจากความเป็นหนึ่งเดียวกัน ระหว่างผู้รับรู้และ functional art นั้นๆ ซึ่งจะได้รับสุนทรียแห่งความงามอย่างแท้จริง

“Rhythm”
จึงนำเรื่องของ “จังหวะ” เข้ามาใช้ในการออกแบบผลงานนี้ขึ้นมาเพื่อต้องการเล่นในเรื่องของ Form ของตัวชิ้นงาน เพื่อให้ชิ้นงานมีความน่าสนใจ และดึงดูดผู้ที่เดินผ่านไปผ่านมา ซึ่งจังหวะจะเกิดขึ้นได้นั้นต้องมีตัวกระทำกับวัตถุ จึงจะสามารถเกิดจังหวะได้ ดังนั้น Functional art ชิ้นนี้จึงกำหนดให้ผู้ใช้งานเป็นตัวกระทำที่จะทำให้ Functional art ชิ้นนี้เกิดจังหวะขึ้นมา ซึ่งจังหวะของงานชิ้นนี้จะประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ จังหวะที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของชิ้นงานเมื่อผู้ใช้งานเข้าไปใช้ และจังหวะอีกส่วนหนึ่ง คือ เสียงที่เกิดขึ้นเมื่อผู้ใช้งานเข้าไปใช้งานกับตัว Functional art ชิ้นนี้ ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้ผู้ใช้งานคือสิ่งสำคัญที่จะมีส่วนช่วยทำให้พื้นที่ที่ใช้งานและชิ้นงานมีชีวิต และจะได้รับสุนทรียแห่งความงามอย่างแท้จริง การติดตั้งนั้น เราได้ยึดที่นั่งเป็นช่วงๆเพื่อให้ผู้ที่มาใช้งานนั้นสามารถใช้งานได้สะดวกและง่ายขึ้น อีกทั้งยังง่ายต่อการประกอบและการขนย้ายอีกด้วย ซึ่งเราได้คำนวนพื้นที่ที่เหมาะกับการนั่งของผู้ใช้งาน 1 คนเท่ากับซี่ไม้จำนวน 5 ชิ้น ซึ่งทั้งหมดจะประกอบไปด้วย 4 ส่วนที่นำมาต่อกันให้กลายเป็นผลงาน 1 ชิ้นงาน

1.นายทัศสิยะ ปัดน้อย
2.นายอภิชาต มีศรี
3.นางสาวสุกานดา ถิ่นฐาน
4.นางสาวกัญญารัตน์ คึงจันทึก
5.นายณัฐพงศ์ กงแก้ว

รางวัลยอดนิยม (จากยอดโหวต) 20,000 บาทต่อทีม ( มหาวิทยาลัย 10,000 บาทและนักศึกษา 10,000 -) ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก

ชื่อผลงาน : Moving Life

อิสระภาพทางความคิดและศิลปะผสมรวมกัน ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนรูปทรงไปตามความต้องการของผู้นั่งอีกทั้งยังสามารถสร้างจินตนาการและความสร้างสรรค์ในการใช้งาน

แนวคิดการออกแบบเฟอร์นิเจอร์
เฟอร์นิเจอร์มีการพัฒนาให้ตอบสนองทั้งการใช้งานและความสวยงามตามมุมมองทางด้านศิลปะของแต่ละบุคคลซึ่งมีความชอบและการแสดงออกทางด้านศิลปะที่ต่างกัน ดังนั้นจึงได้นำเสนอเฟอร์นิเจอร์ชิ้นนี้ที่มีการพัฒนาทั้งการใช้งานและศิลปะประติมากรรมที่ทีมเราได้มีแนวความคิดมาจาก Rubik’s Snake ที่เราเล่นกันทั่วไป จึงทำให้จากรูบิคธรรมดาๆกลายมาเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่มีรูปทรงแปลกใหม่ขึ้น เพื่อตอบสนองคนในยุคปัจจุบันที่มีอิสระและมีแนวคิดที่เปิดกว้างตามจินตนาการของแต่ละคน

1.นายนฤเบศร์ คำษา
2.นางสาวชาริณี ต่อสุวรรณ
3.นายอนุวัฒน์ แสงสี
4.นายธนาวุฒิ กุลนิธิรัตน์
5.นายธนารักษ์ จักรนันท์

 

กรรมการตัดสินมี 5 ท่าน ซึ่งได้รับเกียรติจาก
1. คุณชัยรัตน์ สุระจรัส ประธานกรรมการบริหาร จาก บริษัท สำนักงานออกแบบระฟ้า จำกัด และอดีตนายกสมาคมภูมิสถาปนิกแห่งประเทศไทย
2. คุณกิจพจน์ จันทร์ทัสโต VP – Architecture Design จาก Crystal Design Center
3. คุณกิตติพงษ์ วนภิญโญศักดิ์ Chief Designer จาก Modernform
4. คุณชิตพล ชูชัยชาตรี ผู้ช่วยผู้อำนวยการสายการผลิต จาก Modernform
5. คุณสุธีรา บุษยโภคะ ผู้จัดการสาย Corporate Communication Strategy จาก Modernform

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท โมเดอร์นฟอร์มกรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
มันทนา สุจิตจร(อ๋อ)
เบอร์โทร : 02-708-9907,081-645-1010
อีเมล : mantana_s@modenform.co.th

You may also like...