แบตเตอร์ซี พาวเวอร์ สเตชั่น (Battersea Power Station) และมูลนิธิด้านประติมากรรมแคสส์ (CASS Sculpture Foundation) ได้ประกาศชื่อศิลปินที่ได้รับการยกย่องในระดับนานาชาติ เจสซี ไวน์ และฮาฟเฟนดิ อานัวร์ ให้เป็นผู้ชนะร่วมของโครงการ ‘Powerhouse Commission’ ครั้งแรก โดยโครงงานด้านศิลปะที่ชนะเลิศจะได้รับการเปิดตัวที่ เซอร์คัส เวส วิลเลจ (Circus West Village) ณ แบตเตอร์ซี พาวเวอร์ สเตชั่น (Battersea Power Station) ในเดือนกันยายนนี้
โครงการ ‘Powerhouse Commission’ เป็นความร่วมมือระหว่างแบตเตอร์ซี พาวเวอร์ สเตชั่น กับมูลนิธิด้านประติมากรรมแคสส์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการมอบโอกาสพิเศษให้แก่เหล่าศิลปินระดับนานาชาติ ในการก้าวสู่อีกขั้นของความสำเร็จในอาชีพ ผ่านการการสร้างสรรค์งานประติมากรรมกลางแจ้ง
ผู้ชนะเลิศในงานที่จัดขึ้นครั้งแรกนี้ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ จู๊ด เคลลี่ – ที่ปรึกษาด้านวัฒนธรรม ของแบตเตอร์ซี พาวเวอร์ สเตชั่น; แอนน์ มัลลินส์ – หัวหน้าส่วนวัฒนธรรมแห่งไนน์ เอล์มส์ วัคซ์ฮอล พาร์ทเนอร์ชิพ (Nine Elms Vauxhall Partnership);
มิชา เคอร์สัน – รองผู้อำนวยการของมูลนิธิด้านประติมากรรมซีเอเอสเอส; เฮเลน เทอเนอร์ – ภัณฑารักษ์ แห่งมูลนิธิด้านประติมากรรมแคสส์ และเดวิด ทูอิก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการพัฒนา แบตเตอร์ซี พาวเวอร์ สเตชั่น เจสซี ไวน์ และ ฮาฟเฟนดิ อานัวร์ ได้รับการคัดเลือกจากศิลปินนานาชาติ 9 คน ที่ผ่านเข้ารอบ ได้แก่ แคลร์ บาร์คเลย์ (สหราชอาณาจักร) โอลาฟ บรุนนิ่ง (สวิตเซอร์แลนด์) คอนราด เชาครอส (สหราชอาณาจักร) ยูตากะ โซเนะ (ญี่ปุ่น) นีน่า ไบเออร์ (เดนมาร์ก) ราฟาเอล เฮฟติ (สวิตเซอร์แลนด์) และเบ็ดวีร์ วิลเลียมส์ (สหราชอาณาจักร) โดยทั้ง 9 คน ได้รับเชิญให้ส่งผลงานประติมากรรมกลางแจ้ง สำหรับจัดวาง ณ แบตเตอร์ซี พาวเวอร์ สเตชั่น
เจสซี ไวน์ ศิลปินชาวอังกฤษ ที่ใช้ชีวิตอยู่ในลอนดอน งานของเขาสะท้อนพัฒนาการของแบตเตอร์ซี พาวเวอร์ สเตชั่น ผ่านวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของประติกรรมในช่วงเวลาเดียวกัน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1933 (พ.ศ. 2476) มาจนปัจจุบัน ผลงานนี้อ้างอิงถึงประวัติศาสตร์ด้านประติมากรรมของมูลนิธิด้านประติมากรรมแคสส์ของแบตเตอร์ซี พาวเวอร์ สเตชั่น โดยสร้างสรรค์และตีความใหม่จากผลงานของ เฮนรี่ มัวร์ ศิลปินที่จบการศึกษาจากรอยัล คอลเลจ ออฟ อาร์ต (Royal College of Art) และเคยนำเสนอผลงานที่แบตเตอร์ซี พาร์ค (Battersea Park) โดยผลงานยังคงเก็บสไตล์ที่เป็นลายเซ็นของไวน์ ซึ่งนำเสนอถึงวัตถุต่างๆ เช่น ถ้วยชา แซนวิช กระดาษโน้ต และหมวกทรงนักสืบ ที่โยงถึงของการหยุดพักจากงานของกลุ่มคนงานกลางวันเพื่อดื่มน้ำชา สำหรับงานประติมากรรมของศิลปินชาวมาเลเซีย ฮาฟเฟนดิ อานัวร์ ที่ได้รับการสนับสนุนให้จัดทไ คือ ผลงานชุดพิลอทิส (pilotis) ซึ่งหมายถึงเสาเชิงสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิม ที่ยกอาคารเหนือพื้นดิน หรือน้ำ โดยมักพบเห็นได้ตามบ้านเรือนที่ยกพื้นสูง เช่น กระท่อมของชาวประมงในแถบเอเชีย ภายใต้บริบทของแบตเตอร์ซี พาวเอร์ สเตชั่น ผลงานชื่อ Machines for Modern Living นี้ตั้งใจสร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของปล่องไฟ ณ แบตเตอร์ซี พาวเวอร์ สเตชั่น โดยการติดตั้งเสาเหล่านั้นที่ชั้นหนึงของเซอร์คัส เวสท์ (Circus West) โดยการติดตั้งผลงานดังกล่าวจะเป็นการดึงดูดความสนใจมายังเซอร์คัส เวสต์ และยังเป็นการการนำนำปล่องไฟอันเป็นสัญลักษณ์ของแบตเตอร์ซี พาวเวอร์ สเตชั่น ที่อยู่ห่างไกลมาให้ชมใกล้ขึ้น รูปทรงอันซับซ้อนของประติมากรรมนี้ สะท้อนถึงแนวศิลปะแบบเรียบง่าย (minimalism) แบบตะวันตก และสถาปัตยกรรมแบบมาเลย์ – อินโดนีเซียดั้งเดิม
เมื่อมีการจัดงานเปิดประติมากรรมแล้ว ผลงานของ ไวน์ และอันนัวร์ จะจัดแสดงอยู่ ณ ที่นี่เป็นเวลาสามเดือน โดยจะเป็นการเพิ่มความหลากหลายในด้านศิลปะเพือสาธารณะให้กับกรุงลอนดอน เช่นเดียวกับงานชิ้นอื่นๆ ที่แคสส์ (CASS) ผลงานประติมากรรมทั้งสองนี้ที่ได้รับรางวัลจาก ‘Powerhouse Commission’ สามารถซื้อขายได้ โดยรายได้จะนำไปลงทุนสำหรับการสนับสนุนงานศิลปะต่อๆ ไปในอนาคต
แคล์ร ฮินเดล ผู้อำนวยการบริหารของแคสส์ (CASS) กล่าวว่า “มูลนิธิด้านประติมากรรมแคสส์ ได้ริเริ่มกระบวนการสนับสนุนผลงานชื่อ Fourth Plinth ณ ทราฟาลการ์ สแควร์ (Trafalgar Square) ร่วมกับผลงาน Ecce Homo ของมาร์ค วอลลิงเกอร์ฉันรู้สึกตื่นเต้นที่จะได้สานต่อตำนานของการจัดแสดงงานประติมากรรมร่วมสมัย ณ พื้นที่สาธารณะอันทรงเกียรติที่สุดของลอนดอน ไปพร้อมๆ กับสานต่อความมุ่งหวังด้านสาธารณะกุศลของเรา เพื่อส่งเสริมศิลปินให้ได้รับโอกาสอย่างที่ไม่เคยได้รับมาก่อน”
แคล์ร ลิลลีย์ – ผู้อำนวยการโครงการสวนประติมากรรมแห่งยอร์คเชีย (Yorkshire Sculpture Park) และภัณฑารักษ์ แห่งสวนประติมากรรมไฟร์ซ (Frieze Sculpture Park) กล่าวว่า “อุตสาหกรรมด้านวัฒนธรรมของอังกฤษ เป็นภาคส่วนหนึ่งทางเศรษฐกิจของประเทศที่มีความเคลื่อนไหว และยังได้รับการยอมรับทั่วโลก ดังนั้น การมอบโอกาสให้กับศิลปินรุ่นเยาว์ และรุ่นกลาง ถือเป็นบทบาทสำคัญของสถาบันเรา นับเป็นเรื่องที่น่าชื่นชมอย่างยิ่งที่ แบตเตอร์ซี พาวเวอร์ สเตชั่น และมูลนิธิด้านประติมากรรมแคสส์ได้มาร่วมเป็นพันธมิตร เพื่อขับเคลื่อนความคิดสร้างสรรค์ที่โดดเด่น ในพื้นที่ที่โดดเด่นเป็นสัญลักษณ์แห่งนี้ และผมมั่นใจว่าทั้ง โครงการและการติดตั้งผลงานจะกลายเป็นแบบอย่างของกิจกรรมทางวัฒนธรรมให้กับกรุงลอนดอน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อศิลปินที่ประสบความสำเร็จ และสาธารณชน”
เดวิด ทูอิก หัวหน้าฝ่ายออกแบบ ของ แบตเตอร์ซี พาวเวอร์ สเตชั่น กล่าวว่า “วิสัยทัศน์ของ แบตเตอร์ซี พาวเวอร์ สเตชั่นคือการสร้างศูนย์ประจำเมืองแห่งใหม่ โดยมีผู้ใช้ที่หลากหลายไม่ว่าจะพนักงานออฟฟิศ ผู้อยู่อาศัย รวมไปถึงนักท่องเทื่ยว เพื่อที่จะเพลิดเพลินกับสถานที่ที่เต็มไปด้วยเสียงดนตรี ร้านค้า ร้านอาหาร โรงหนัง และแกลเลอรี่ แต่สิ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากันสำหรับความสำเร็จของสถานที่แห่งนี้คือการจัดการแสดง และความมีสีสันที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
“เราได้ริเริ่มโครงการนี้จากแพลตฟอร์มที่หลากหลาย ทั้งในสถานที่ และนอกสถานที่ ซึ่งเราได้เชิญครีเอทีฟ และศิลปินมาร่วมกันระดมความคิด และกิจกรรมมากมาย แบตเตอร์ซี พาวเวอร์ สเตชั่น พยายามสร้างความตื่นเต้น และรังสรรค์ความมหัศจรรย์อย่างต่อเนื่อง”
แอนน์ มัลลินส์ หัวหน้าส่วนวัฒนธรรม จากไนน์ เอล์มส์ วัคซ์ฮอลพาร์ทเนอร์ชิพ (Nine Elms Vauxhall Partnership) กล่าวว่า “ขอแสดงยินดีกับเจสซี ไวน์ และ ฮาฟเฟนดิ อานัวร์ ดิฉันมียินดีอย่างยิ่งที่จะมีโอกาสได้รับชมงานประติมากรรมที่จัดแสดง ณ แบตเตอร์ซี พาวเวอร์ สเตชั่น โดยจุดมุ่งหมายของเราคือการพัฒนา ไนน์ เอล์มส์ ให้เป็นย่านที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ และมีสีสันที่กลมกลืนและเชื่อมโยงกับชุมชนที่เป็นอยู่ และย่านอื่นๆ ในกรุงลอนดอน เรามีมรดกทางวัฒนธรรมที่มากมาย อาทิ สถานที่จัดแสดงทางสถาปัตยกรรมใหม่ ตลาดโคเวนท์การ์เด้นใหม่ สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ และแบตเตอร์ซี พาวเวอร์ สเตชั่นเอง สำหรับโครงการ “Powerhouse Commission“ คือความคิดริเริ่มใหม่ที่น่าอัศจรรย์ ซึ่งเป็นการสร้างสรรค์บนพื้นฐานอันมีคุณค่าทางวัฒนธรรมของพื่นที่แห่งนี้ อีกทั้งยังเป็นการเสริมความแข็งแกร่งให้แก่ภาคอุตสาหกรรมด้านความคิดสร้างสรรค์ของลอนดอน”
โครงการ “Powerhouse Commission” นับเป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดวิสัยทัศน์ของ แบตเตอร์ซี พาวเวอร์ สเตชั่น ที่ต้องการสร้างเขตวัฒนธรรมแห่งใหม่ในกรุงลอนดอน เพื่อสร้างความหวงแหนในชุมชน อีกทั้งเปิดโอกาสให้แก่ประชาชนในแถบตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงลอนดอนได้เข้าถึงวัฒนธรรมมากขึ้น นี่คือแผนการลงทุนทางวัฒนธรรมในระยะยาวที่จะได้รับการพัฒนาเป็นหลายๆ เฟส ในชุมชนแห่งใหม่ ซึ่งรวมถึง การเปิดตัวของวินเลจ ฮอลล์ (Village Hall) สถานที่อเนกประสงค์ ขนาด 5,000 ตารางฟุต ที่จะใช้สำหรับการแสดงงานศิลปะ โดย สร้างขึ้นจากความร่วมมือกันของกัแบตเตอร์ซี พาวเวอร์ สเตชั่น และผลงานศิลปะเพื่อสาธารณชนโดยศิลปินและนักออกแบบชาวอังกฤษชื่อโมแรก ไมเบอร์สคัฟ (Morag Myerscough) ที่เปิดให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชม ณ เซอร์คัส เวส วิลเลจ (Circus West Village) ซึ่งของเป็นการพัฒนาในเฟสแรกของ แบตเตอร์ซี พาวเวอร์ สเตชั่น
ข้อมูลเกื่ยวกับบริษัท แบตเตอร์ซี พาวเวอร์ สเตชั่น ดีเวลลอปเมนท์
แบตเตอร์ซี พาวเวอร์ สเตชั่น คือหนึ่งในบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในใจกลางกรุงลอนดอน ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลที่สุดแห่งหนึ่ง และมีโครงการพัฒนาใหม่ๆ มากที่สุด โดยมากกว่าครึ่งของการพัฒนานั้นประกอบไปด้วยแหล่งค้าปลีก ร้านค้า ร้านอาหาร และพื้นที่สำนักงาน นอกจากนี้ยังมี สวนสาธารณะขนาด 6 เอเคอร์ จัตุรัสกลางเมือง สถานีรถไฟใต้ดินใหม่ (ที่ถูกกำหนดให้อยู่ในเขต 1)
โครงการ แบตเตอร์ซี พาวเวอร์ สเตชั่น มีขนาด 42 เอเคอร์ โดยประกอบด้วยอาคารที่พักอาศัยเชิงพาณิชย์ ขนาด 3.5 ตารางฟุต พร้อมด้วย บ้านพักอาศัยใหม่กว่า 4,500 ยูนิต ความสำเร็จในการฟื้นฟูของ แบตเตอร์ซี พาวเวอร์ สเตชั่น จะสามารถสร้างงานใหม่ถึง 20,000 อัตรา โดยจะอัดฉีดเงินถึง 2 หมื่นล้านปอนด์เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของประเทศอังกฤษ อีกทั้งสร้างกลไกการระดมทุนสำหรับส่วนต่อขยายแรกของสถานีรถไฟใต้ดินนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543)
มูลนิธิ แบตเตอร์ซี พาวเวอร์ สเตชั่น ให้การสนับสนุนองค์กรการกุศล และโครงการเพื่อชุมชนโดยในปีแรกของการดำเนินงานนั้น ได้ให้เงินสนับสนุนจำนวน 1 ล้านปอนด์ และในปี ค.ศ. 2017 (พ.ศ. 2560) นี้ จะให้การสนับสนุนเป็นจำนวนเกือบ 2 ล้านปอนด์
เจ้าของบ้านรายใหม่ได้เริ่มย้ายเข้ามาอยู่ในช่วงเฟสแรกของโครงการ นั่นคือ เซอร์คัส เวส วิลเลจ (Circus West Village) โขณะที่ผู้เช่าพื้นที่เชิงพาณิชย์กลุ่มแรกจะเริ่มเปิดดำเนินกิจการในช่วงฤดูร้อนของปี ค.ศ. 2017 (พ.ศ. 2560)
แบตเตอร์ซี พาวเวอร์ สเตชั่น ดำเนินกิจการโดยกลุ่มภาคีนักลงทุนสัญชาติมาเลเชีย ที่ประกอบด้วย บริษัท S P Setia, Sime Darby และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงาน ที่บริหารงานโดยบริษัทสัญชาติอังกฤษแบตเตอร์ซี พาวเวอร์ สเตชั่น ดีเวลลอปเม้นท์
เกี่ยวกับ CASS Sculpture Foundation
มูลนิธิด้านประติมากรรมแคสส์ (CASS Sculpture Foundation) เป็นองค์กรที่ไม่หวังผลกำไรที่สร้างแรงบันดาลใจ สร้างสรรค์ และแบ่งปันผลงานประติมากรรมร่วมสมัย ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1992 (พ.ศ. 2535) โดย วิลเฟรด และ เจนเน็ต แคส (Wilfred and Jeannette Cass) เพื่อที่จะให้ศิลปินร่วมสมัยได้รับโอกาสพิเศษในการได้รับการสนับสนุนการสร้างสรรค์ผลงานและการจัดแสดงนิทรรศการ ทั้งนี้ CASS สนับสนุนศิลปินทุกขั้นตอนตั้งแต่ความคิดไปจนถึงการประดิษฐ์ การจัดนิทรรศการ และการขายผลงาน
มูลนิธิตั้งอยู่ภายในพื้นที่ขนาด 26 เอเคอร์ของบริเวณป่าไม้ที่เวสต์ซัสเซกซ์ โดยทางมูลนิธิได้เปิดให้ผู้มาเยือนได้เข้ามาเยี่ยมชม พร้อมกันนี้ยังได้จัดนิทรรศการและกิจกรรมประจำปีสำหรับสาธารณชน นับว่าเป็นสถานที่แจ้งเกิดของผลงาน ซึ่งรวมถึงประติมากรรมโดย เอดดูอาร์โด พาโอโลซซี่ (Eduardo Paolozzi), โทมัส เฮเธอร์วิค (Thomas Heatherwick), เรเชล ไวท์รีด (Rachel Whiteread), โทนี่ เครกก์ (Tony Cragg), เจค และ ดิโนส แชปแมน (Jake and Dinos Chapman) และซาร่า บาร์เกอร์ (Sara Barker) เป็นต้น CASS มีความโดดเด่นในการกำกับดูแลและสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญและงานด้านภัณฑารักษ์ โดยแหล่งเงินทุนหลักมาจากการขายผลประติมากรรม งานทั้งหมดที่จัดแสดงมีไว่เพื่อจัดจำหน่ายแล้วและเงินที่ได้จะสร้างโอกาสให้ศิลปินในอนาคต รายได้อื่น ๆ มาจากโครงการการกุศลและการให้คำปรึกษา
CASS จัดตั้งกระบวนการให้การสนับสนุนผลงานจตุรัสทราฟัลการ์ (Fourth Plint, Trafalgar Square) รวมถึงสร้างสรรค์นิทรรศการเดี่ยวขนาดใหญ่ครั้งแรกของโทนี่ เครกก์ ที่จัดแสดงทอดยาวไปบนถนนเอ็กซิบิชั่น (Exhibition Road) ในกรุงลอนดอน ร่วมกับพิพิธภัณฑ์วิคตอเรียแอนด์อัลเบิร์ต (Victoria and Albert Museum) และพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และประวัติศาสตร์ธรรมชาติ (Science Museum and Natural History Museum)
รายละเอียดการเยี่ยมชม CASS
Cass Sculpture Foundation
นิว บาร์น ฮิลล์
กู๊ดวูด ชิเชสเตอร์
เวสต์ซัสเซกซ์
PO18 0QP
เบอร์ +44 (0) 1243 538 449
อีเมล info@scupture.org.uk
www.sculpture.org.uk
เปิดตลอดทั้งปี 10.30 – 16.30
ปิด 16 ธันวาคม – 3 มกราคม
ค่าเข้าชม: ผู้ใหญ่ 12.50 ปอนด์, เด็ก (อายุ 5 ถึง 16 ปี) 6.50 ปอนด์, เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีเข้าชมฟรี, นักเรียน 10 ปอนด์, ราคาลดหย่อน 10 ปอนด์ สำหรับกลุ่มที่มีมากกว่า 10 คนขึ้นไป
สถานีรถไฟ: สถานีรถไฟที่ใกล้ที่สุดคือชิเชสเตอร์และบาร์นแฮม มีรถแท็กซี่อยู่ที่สถานีทั้งสองแห่ง
เกี่ยวกับ เจสซี่ ไวน์ (เกิดปี ค.ศ. 1983 ที่เชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ ขณะนี้อาศัยและทำงานที่บรุ๊คลิน นิวยอร์ค) เจสซี่ ไวน์ ได้ทำงานด้านเซรามิค เพื่อต่อยอดไปสู่งานประติมากรรมนับตั้งแต่จบการศึกษาจากโรยัล คอลเลจ ออฟ อาร์ต เมื่อปี 2553 ไวน์มีความสนใจอย่างมากเกี่ยวกับกระบวนการสร้าง ผลงานที่มีหลากหลายแนว สไตล์ และงานเคลือบ ตั้งแต่ การเคลือบแบบธรรมชาติ ไปจนถึงมันวาวที่มีสีสด
เกี่ยวกับ ฮาเฟนดิ อานูอาร์ (เกิดปี 1985 ที่ประเทศมาเลเซีย ขณะนี้อาศัยและทำงานที่กรุงกัวลาลัมเปอร์) ฮาเฟนดิสร้างผลงานการวาดภาพ งานศิลปะแบบจัดวาง ประติมากรรม และการถ่ายภาพ เขาศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับภาพไอคอนและสถาปัตยกรรมที่เชื่อมโยงกับความคืบหน้าและความทันสมัยของประเทศมาเลเซีย รวมทั้งศึกษาถีงความก้าวหน้าหรือพัฒนาการของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านความเจริญทางวัฒนธรรมและเทคโนโลยี เขาจบการศึกษาจากโรงเรียนออกแบบโรดไอแลนด์ และเซ็นทรัล เซนต์ มาร์ติน คอลเลจ ออฟ อาร์ต แอนด์ ดีไซน์ ที่กรุงลอนดอน