Manga Hokusai Manga

เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการนำเสนอนิทรรศการที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์“มังงะ โฮะคุไซ มังงะ: ต้นกำเนิดการ์ตูญี่ปุ่น”(Manga Hokusai Manga: Approaching the Master’s Compendium from the Perspective of Contemporary Comics) เพื่อเป็นการร่วมรำลึกถึงการครบรอบ 130 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตญี่ปุ่นและไทย นิทรรศการนี้จะจัดขึ้นทั้งหมดใน 3จังหวัดได้แก่ กรุงเทพฯ เชียงราย และหาดใหญ่ ตามลำดับ ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ถึง ธันวาคม

คัทซึชิคะ โฮะคุไซ (1760-1849) เป็นหนึ่งในจิตรกรที่มีความสามารถรอบด้านและมีความริเริ่มสร้างสรรค์ที่สุดในการวาดภาพประกอบ โฮะคุไซมีชื่อเสียงไม่เพียงแต่ในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น แต่รวมถึงในยุโรปและอเมริกาเหนือในช่วงปลายศตวรรษที่19 เขาขยายขอบเขตการวาดภาพพิมพ์อุกิโยะเอะ (แปลตรงตัวว่า “ภาพโลกอันเลื่อนลอย”) โดยได้วาดภาพโสเภณีชั้น สูง และนักแสดงละครเวที ตีพิมพ์ชุดภาพวิวทิวทัศน์ วาดภาพเล่าเรื่องที่สนุกสนาน หรือแม้แต่การแสดงการวาดภาพ ผลงานที่โด่งดังและเป็นที่รู้จักมากที่สุดของเขาคือ ภาพคลื่นยักษ์นอกฝั่งคะนะงะวะ (The Great Wave [Kanagawa Oki Namiura]) ซึ่งเป็นภาพที่ 21 ของชุดภาพ 36 มุมมองของภูเขาไฟฟูจิ (Thirty-Six Views of Mount Fuji [Fugaku Sanju Rokkei]) (1830-33) Contemporary Comics)

เพื่อเป็นการร่วมรำลึกถึงการครบรอบ 130 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตญี่ปุ่นและไทย นิทรรศการนี้จะจัดขึ้นทั้งหมดใน 3จังหวัดได้แก่ กรุงเทพฯ เชียงราย และหาดใหญ่ ตามลำดับ ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ถึง ธันวาคม

คัทซึชิคะ โฮะคุไซ (1760-1849) เป็นหนึ่งในจิตรกรที่มีความสามารถรอบด้านและมีความริเริ่มสร้างสรรค์ที่สุดในการวาดภาพประกอบ โฮะคุไซมีชื่อเสียงไม่เพียงแต่ในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น แต่รวมถึงในยุโรปและอเมริกาเหนือในช่วงปลายศตวรรษที่19 เขาขยายขอบเขตการวาดภาพพิมพ์อุกิโยะเอะ (แปลตรงตัวว่า “ภาพโลกอันเลื่อนลอย”) โดยได้วาดภาพโสเภณีชั้น สูง และนักแสดงละครเวที ตีพิมพ์ชุดภาพวิวทิวทัศน์ วาดภาพเล่าเรื่องที่สนุกสนาน หรือแม้แต่การแสดงการวาดภาพ ผลงานที่โด่งดังและเป็นที่รู้จักมากที่สุดของเขาคือ ภาพคลื่นยักษ์นอกฝั่งคะนะงะวะ (The Great Wave [Kanagawa Oki Namiura]) ซึ่งเป็นภาพที่ 21 ของชุดภาพ 36 มุมมองของภูเขาไฟฟูจิ (Thirty-Six Views of Mount Fuji [Fugaku Sanju Rokkei]) (1830-33)

อีกหนึ่งผลงานที่ประสบความสำเร็จของคัทซึชิคะ โฮะคุไซ คือ รวมผลงานภาพชุด “โฮะคุไซ มังงะ”ซึ่ง ถูกกล่าวว่าเป็นหนึ่ง ในต้นกำเนิดมังงะ หรือการ์ตูนญี่ปุ่นนั้น แม้ว่าจะเป็นเวลากว่า 200 ปีแล้ว หลังจากหนังสือชุดเล่มแรกของโฮะคุไซ มังงะได้ตีพิมพ์ขึ้นครั้งแรก ผลงานการวาดที่มีค่านี้ยังคงสร้างแรงบันดาลใจให้ศิลปินมังงะญี่ปุ่นร่วมสมัยมากมาย แม้แต่ตัวโฮะคุไซเองก็ปรากฎตัวอยู่บ่อยครั้ง ในฐานะตัวละครของการ์ตูนญี่ปุ่นร่วมสมัย

ในนิทรรศการนี้ จะพาไปสำรวจไม่เพียงแค่ต้นกำเนิดของโฮะคุไซ มังงะ แต่ยังรวมถึงความเชื่อมโยงระหว่างมังงะญี่ปุ่นร่วมสมัยที่สร้างสรรค์โดยศิลปินนักวาดการ์ตูนร่วมสมัยเจ็ดท่านอีกด้วย โดยจะแสดงให้เห็นถึงความเหมือนและความแตกต่างระหว่างมังงะญี่ปุ่นร่วมสมัยและ มังงะของโฮะคุไซ

ทั้งนี้ นิทรรศการนี้จะใช้มุมมองการ์ตูนญี่ปุ่นร่วมสมัยเพื่อย้อนมองและเข้าถึงผลงานของโฮะคุไซ มังงะ โดยจะเน้นไปที่ประเภทผลงาน การใช้ภาพเล่าเรื่อง และวัฒนธรรมการมีส่วนร่วม มากกว่าจะเป็นเรื่องการรวมตัวกันของภาพและตัวอักษรของตัวละครที่มีชื่อเสียง นอกจากนี้แทนที่จะมุ่งเน้นถึงการตรวจสอบประวัติศาสตร์นิพนธ์ด้านอิทธิพลทางศิลปะ นิทรรศการนี้ต้องการให้ผู้ชมคิดไตร่ตรองเกี่ยวกับมังงะโดยการ เปรียบเทียบมังงะจากยุคสมัยที่แตกต่างกัน พร้อมกับค้นหาความหลากหลายในนั้น ด้วยตัวผู้ชมเอง

เราจึงหวังว่าผู้ชมจะได้รับความรู้ที่ลึกซึ้ง เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างคัทซึชิคะ โฮะคุไซและศิลปินมังงะญี่ปุ่นร่วมสมัย รวมถึงได้เพลิดเพลินกับโลกของมังงะ ญี่ปุ่นในฐานะที่เป็นวิชาหนึ่ง ของการศึกษาอย่างจริงจัง งานนิทรรศการนี้สามารถเข้าชม ฟรี ในทั้งสามจังหวัด โดยในกรุงเทพฯและเชียงรายจะมีการบรรยายพิเศษในวันพิธีเปิด

ติดตามและดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เฟซบุ๊ค เจแปนฟาวน์เดชนั่ กรุงเทพฯ https://www.facebook.com/jfbangkok/
เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ชั้น 72 อาคารเสริมมิตร 760 สุขุมวิท 07 กรุงเทพฯ 10110

เชียงราย
เสวนาพิเศษโดย นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
วันที่ & เวลา 14.30 น. วันเสาร์ที่ 7ตุลาคม 2560
สถานที่ ขัวศิลปะ เชียงราย
วิทยากร นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์จบการศึกษาจากโรงเรียนสหะพาณิชย์ โรงเรียนเปรมฤดีศึกษา โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลและโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา และรับราชการในตำแหน่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชศาสตร์ตั้งแต่ พ.ศ.2532-2561

มีความสนใจในการอ่านการ์ตูนตั้งแต่เล็ก เริ่มด้วยโกมินทร์กุมาร และนิตยสารการ์ตูนของวอลท์ ดิสนีย์ เล่มละ 2 บาท นิตยสารเด็กก้าวหน้า นิตยสารกองหน้าร่าเริง ก่อนที่จะมาอ่านอย่างจริงจังในนิตยสารวีรธรรมรายสัปดาห์ แต่ในวัยเด็กได้อ่านการ์ตูนญี่ปุ่นไม่มากนักเพราะหายากและราคาแพง มาอ่านจริงจังเมื่อเริ่มเรียนแพทย์แล้ว เช่น โดเรมอน หมัดเพชฌฆาตดาวเหนือ คอบร้า ดรากอนบอลล์ เป็นต้น

เริ่มเขียนบทความวิจารณ์การ์ตูนครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ 2539.ส่งให้คุณสุภาวดี หาญเมธี บรรณาธิการนิตยสารไลฟ์ แอนด์แฟมิลี่ในปี นั้น เรื่อง โคนัน และ โจโจล่าข้ามศตวรรษ ถูกแก้ไขกลับมามากมายแต่ก็รับไว้ตีพิมพ์ทุกเดือน นับจากนั้น ตั้งชื่อคอลัมน์ว่า การ์ตูนกะลูกรัก เช้ามืดวันหนึ่งหลังจากนั้นไม่กี่เดือน คุณเสถียร จันทิมาธร บรรณาธิการมติชนสุดสัปดาห์โทรศัพท์มาขอให้ช่วยเขียนต้นฉบับส่งทุกสัปดาห์ ตั้งชื่อคอลัมน์ว่า การ์ตูนที่รัก และยังคงเขียนอยู่จนถึงทุกวันนี้เป็นปี ที่ 22 รวมเล่มได้ 10 เล่มแล้ว

ผู้ประสานงาน: ศุภวัฒน์ เลาหชัยบุณย์ (suphawat@jfbkk.or.th)/ เบญยทิพย์ ถิรวิริยพล (benyatip@jfbkk.or.th)/ ฮิคารุ คุวาฮาระ (kuwahara@jfbkk.or.th) โทร 02-260-8560-4 แฟกซ์ 02-260-8565

You may also like...