หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครขอเชิญทุกท่านพบกับมิติทางดนตรีอีสาน อีกหนึ่งกิจกรรมภายใต้โครงการรายงานอีสานสามัญ ขอเชิญร่วมสัมผัส “เสียง-อีสาน” ที่เคลื่อนที่ไปปะทะผสมผสานกับดนตรีหลากหลายรูปแบบ ผ่านการตีความของศิลปินทั้ง 5 กลุ่ม ; ตุ้มเติ่นหมอลำVKL & SweedGangz ขุนนรินทร์พิณประยุกต์ RASMEE และ DJ มาฟไซ
ตุ้มเติ่นหมอลำกรุ๊ป (Toomturn Molam Group) กลุ่มศิลปินนักดนตรีพื้นบ้านของอีสานที่หลงใหลในเสียงเพลงหมอลำในช่วงปี 1960 และ 1970 นำเสนอเพลงพื้นบ้านอีสานที่บรรเลงด้วยพิณและแคนในจังหวะ “ตุ้มเติ่น” ซึ่งหมายถึงบรรยากาศของความม่วนอันเกิดจากเสียงกลองตุ้มและกลองยาวสอดประสานกันจนเป็นจังหวะของความสนุก
VKL & Sweed Gangz ชายหนุ่มผู้ผสานดนตรีอีสานเข้ากับเพลงแร๊พ และยังนำเสนอเนื้อหาของบ้านเกิดผ่านเสียงดนตรีที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว จนได้รางวัล Hometown Hero จากเพลง “ยโส”
ขุนนรินทร์พิณประยุกต์ กลุ่มศิลปินที่นำเสนอดนตรีอีสานในรูปแบบดนตรี Psychedelic จนมีโอกาสสร้างผลงานกับค่ายเพลง Innovative Leisure มาแล้วสองครั้ง
Rasmee หญิงสาวผู้สร้างสีสันและปรากฏการณ์ทางดนตรีสำเนียงอีสานในมิติใหม่ ผู้เป็นเจ้าของ 3 รางวัลจากเวทีคมชัดลึกอวอร์ด ประจำปี 2559 รางวัลศิลปินเดี่ยวหญิงยอดเยี่ยม รางวัลเพลงยอดเยี่ยม “มายา” และรางวัลอัลบั้มยอดเยี่ยม “อีสานโซล”
DJ. มาฟต์ ไซ (DJ. Maft Sai) ณัฐพล เสียงสุคนธ์ ผู้ก่อตั้งค่ายเพลงสุดแรงม้าเรคคอร์ดส (Zudrangma Records) ผู้ก่อตั้งสตูดิโอลำ (Studio Lam) และผู้ก่อตั้งวง Paradise Bangkok Molam International Band และ Duck Unit ที่รับหน้าที่ออกแบบงานสร้างในครั้งนี้ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสองสัญลักษณ์แห่งเทศกาลและงานเฉลิมฉลองในภูมิภาคอีสานและท้องถิ่น จากยุคสมัยที่แตกต่างกัน ธุงอีสานและหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์หลากสี ถ้าธุงเป็นสัญลักษณ์ของงานบุญและการเฉลิมฉลองในเวลากลางวัน หลอดฟลูออเรสเซนต์หลากสีก็ทำหน้าที่แบบเดียวกันในเวลากลางคืน
ปฏิทินข่าว
EXHIBITION EDUCATION AND ACTIVITY
กิจกรรมการศึกษานิทรรศการอีสานสามัญ (Common Exercises: Isan Contemporary Report)
ศิลปะ / การกิน / อาหาร / อีสาน
วิทยากร :
คุณเฉลิมพลโรหิตรัตนะ (เชฟแวน) ร้านราบ
คุณวีระวัฒน์ตริยเสนวรรธน์(เชฟหนุ่ม) ร้านซาหมวย&ซันส์
วันอาทิตย์ที่ 25มีนาคม 2561 เวลา15.00-18.30 น.
ณ ห้องนิทรรศการหลักชั้น 9 และ ห้อง Friend of BACC ชั้น 6หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
จากตัวตนของชาวอีสานที่ถูกถ่ายทอดผ่านนิทรรศการอีสานสามัญ บอกเล่าถึงวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ความเป็นอยู่ที่ผูกพันกับการเกษตรและใกล้ชิดกับธรรมชาติ อาหารอีสานนับเป็นสิ่งที่แสดงถึงวิถีชีวิตของชาวอีสาน การดำรงชีวิตแบบพึ่งพาตนเอง และธรรมชาติ ส่งผลให้อาหารการกินของชาวอีสานกลายเป็นวัฒนธรรมที่มีความหลากหลาย น่าสนใจ เนื่องจากแสดงให้เห็นถึงการปรับตัวของผู้คนตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน อาหารอีสานจึงเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตและวิธีคิดของชาวอีสานได้เป็นอย่างดี
“ จากนิทรรศการอีสานสามัญสู่จานอาหารอีสานร่วมสมัย ”
หอศิลปกรุงเทพฯ ขอชวนทุกท่านมาเปิดประสบการณ์รสชาติแห่งอาหารอีสานจากวัตถุดิบตามฤดูกาล ผนวกกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ผสมผสานวิธีการเล่าเรื่องจากคนรุ่นใหม่ นำเสนอผ่านสำรับอาหารอีสานทั้ง 5 อย่างในแบบฉบับของ เชฟหนุ่ม (ร้านซาหมวย&ซันส์) และ เชฟแวน (ร้านราบ) สองนักปรุงอาหารที่ให้ความสำคัญกับรสชาติที่มาจากคุณค่าของวัตถุดิบ และการนำเสนออย่างสร้างสรรค์
เชฟหนุ่มและเชฟแวน จะนำเสนอสำรับอาหารอีสานที่เรียกว่า “พาแลง” โดย พา หมายถึง พาข้าว หรือ สำรับกับข้าว ส่วนคำว่า แลง หมายถึง ตอนเย็น
พาแลง จึงหมายถึงสำรับอาหารเย็น บางทีก็เรียก พาข้าวแลง เป็นวัฒนธรรมการกินอย่างหนึ่งที่ทุกคนในครอบครัวมาร่วมกันรับประทานอาหารพร้อมหน้าพร้อมตา ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ภายในครอบครัวและผู้ร่วม “พา”
โดยกิจกรรมแบ่งเป็น 2 ช่วง
15:00 – 16:00 พูดคุยเรื่องอาหารอีสาน จากภูปัญญาและวัตถุดิบสู่การเล่าเรื่องผ่านจานอาหารของ
เชฟแวน และเชฟหนุ่ม
ห้องนิทรรศการหลักชั้น 9 (ไม่มีค่าใช้จ่ายในการร่วมกิจกรรม)
17:30 – 18:30 กินข้าวพาแลงอีสานร่วมสมัยที่ประกอบไปด้วย เครื่องจิ้ม ปิ้ง/ย่าง แกง ลาบ และหมก
ด้วยฝีมือการรังสรรค์ จากเชฟแวน และเชฟหนุ่ม
ห้อง Friend of BACC ชั้น 6 (รับจำนวนจำกัด และมีค่าใช้จ่ายในการร่วมกิจกรรม 1,000 บาท)
ลงทะเบียนและติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายการศึกษาหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
โทรศัพท์ 02-214-6630-8 ต่อ 519 Email : education@bacc.or.th
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทร.0 2214 6630 ต่อ 501-503
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.bacc.or.th/facebook.:baccpage /instagram: baccbangkok
ติดตามข่าวสารงานเทศกาลดนตรีและศิลปะได้ที่ www.bacc.or.th และwww.facebook.com/baccpage
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ผู้แทนประชาสัมพันธ์ บริษัท เอฟวายไอ จำกัด
กุลยา กาศสกุล (ยิ้ม) 096 449 9516 yim@fyibangkok.com, line id : yimfyi