คณะมหาอุปรากรแนวหน้าแห่งสิงคโปร์ฉลองวาระครบรอบ 27 ปีด้วย “ไอยดา” มหาอุปรากรยอดนิยม อำนวยดนตรีโดยวาทยกรไทย สมเถา สุจริตกุล นำเสนอ 5 รอบแสดงในวันที่ 1-6 พฤษภาคม 2561 หากคำนึงถึงประสบการณ์ของสมเถา สุจริตกุล ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกสังคีตศิลป์ด้านมหาอุปรากรในภาคพื้นเอเชีย อีกทั้งเป็นเจ้าของผลงานโอเปร่าที่เปิดแสดงมาแล้วในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ท่านอาจสงสัยว่าทำไมเขาจึงเพิ่งได้รับเชิญไปอำนวยเพลงมหาอุปรากรที่สิงคโปร์ คำตอบก็คือเนื่องจากมหาอุปรากรเรื่องนี้ได้รับอิทธิพลจากไทยมากกว่าผู้อำนวยเพลง
ผู้รับบท “ราดาเมส” พระเอกในเรื่องคือ อิสราเอล โลซาโน นักร้องเสียงเทนนอร์ชาวสเปน อิสราเอลรับบทเอกครั้งแรกใน “มาดามบัตเตอร์ฟลาย” ของโอเปร่าสยามที่กรุงเทพฯ เมื่อ 9 ปีมาแล้ว ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เขาได้กลายเป็นดาราเจ้าประจำของคณะมหาอุปรากรสิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย ผู้รับบท “เอมเนริส” เจ้าหญิงตัวร้ายแห่งอียิปต์ คือ เกรซ เอเชารี เจ้าของเสียงเมซโสชาวเม็กซิกัน ซึ่งเปิดตัวครั้งแรกในเอเชียกับโอเปร่าสยามเมื่อ 14 ปีก่อนในบทเดียวกัน แนนซี หย่วน ผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์แห่งคณะมหาอุปรากรลีริคสิงคโปร์และราชินีแห่งโลกโอเปร่าซึ่งรับบท “ไอยดา” ก็เคยแสดงบทนำในมหาอุปรากรที่นำเสนอโดยโอเปร่าสยามที่กรุงเทพฯ มาแล้วกว่าสิบเรื่อง รวมทั้งบท “แม่นาก” “มาดามบัตเตอร์ฟลาย” “มิมี” ใน ลาโบแอม รวมทั้ง บท “ทาอิส” และบทจักรพรรดินีใน “ดัน-โน-อุระ” มหาอุปรากรประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ประพันธ์โดย สมเถา สุจริตกุล ตลอดจนทำหน้าที่ผู้กำกับการแสดงมหาอุรากรเรื่องหนึ่งของโอเปร่าสยาม
“มันให้ความรู้สึกว่างานนี้เป็นงานของโอเปร่าสยาม” สมเถากล่าว “ยกเว้นสิงคโปร์มีทุนการผลิตเพียงพอสำหรับมหาอุปรากรระดับมาตรฐาน และเวลาเตรียมการอย่างจริงจังและเพียงพอ”
งบใช้จ่ายสำหรับ “ไอยดา” ของสิงค์โปร์มากกว่าโอเปร่าในกรุงเทพฯ ถึง 5 เท่า สมเถาจึงเห็นความแตกต่างของการทำงานในมหานครทั้งสองแห่งอย่างชัดเจน “ที่สิงคโปร์ทุกคนต้องทำงานอย่างหนัก” สมเถากล่าว “หมายถึงตารางฝึกซ้อมที่เข้มงวดซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้กำกับการแสดง แอนดรูว์ ซินแคลร์ จาก Covent Garden ล้วงลึกเข้าไปถึงลักษณะของตัวละครอย่างละเอียด ส่งผลให้การตีความหมายของเรื่องประสบความสำเร็จอย่างดีเยี่ยม”
“ไอยดา” ของโอเปร่าสยามที่กรุงเทพฯ เป็นการนำเสนอแบบนวัตกรรม ริชาร์ด ฮาร์เรล ผู้กำกับฯ รับเชิญจากซานฟรานซิสโก กล่าวว่า “เป็นผลงานชิ้นหนึ่งที่ผมภูมิใจที่สุด” แทนที่จะเป็นฉากที่เกิดในอียิปต์ตามแบบฉบับเดิม เหตุการณ์ใน “ไอยดา” ของเราเกิดขึ้นในกรุงศรีอยุธยาสมัยทำศึกกับพม่าในช่วงเวลาระหว่างเดียวกับ “สุริโยไท” และ “นเรศวร” จึงเป็นการปรับเปลี่ยนที่น่าสนใจสำหรับผู้ชม
หากพิจารณาในภาพรวม “ไอยดา” ที่สิงคโปร์มีลักษณะดั้งเดิมมากว่าของเรา ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอียิปต์ แต่ในขณะเดียวกันก็อาจมองเป็นการปฏิวัติได้เช่นกัน “หลังจากคุยกับผู้กำกับ แอนดรูว์ ซินแคลร์เพียง 5 นาที เราก็ค้นพบว่าเราอยู่ในเรือลำเดียวกัน”
สมเถา กล่าว “เราสองคนเบื่อความโบราณของ “ไอยดา” ในรูปแบบเก่าซึ่งเคยดูมาแล้วบ่อยครั้ง และเราสามารถมองเห็น “ไอยดา” ในรูปแบบอื่นที่อลังการพอกัน โดยเฉพาะในด้านความขัดแย้งส่วนตัวของสองตระกูลคู่อาฆาตซึ่งบานปลายออกไปเป็นประวัติศาสตร์ที่นอกเหนือการควบคุมของทั้งสองฝ่าย”
สมเถานำคีตนิพนธ์นี้ผ่านพื้นผิวความอลังการแบบโบราณและพยายามดึงความเป็นโศกนาฏกรรมภายในครอบครัวที่แวร์ดี้ซ่อนไว้ออกมาตีแผ่ เขาทำงานร่วมกับคณะลีริคโอเปร่าสิงคโปร์เพื่อนำมาซึ่งดนตรีและสีสันแห่งตะวันออกมาสู่ผู้ชม สมเถาเปลี่ยนความเยิ่นเย้อเกินจริงที่นักร้องยึดติดจากดนตรีของแวร์ดี้ให้กระชับและน่าสนใจยิ่งขึ้น “ผมหวังว่าผู้ชมซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองจะได้รับความบันเทิงจากความงดงามสมบูรณ์แบบในเนื้อหาสาระที่แอนดรูว์ ซินแคลร์ค้นพบจากต้นฉบับเดิม” สมเถา กล่าว
“ไอยดา” นำเสนอโดยสิงคโปร์ ลีริคโอเปร่า เปิดแสดงในวันที่ 1, 2, 3, 5 และ 6 มิถุนายน 2561 ที่เอสพลานาด สิงคโปร์ ผู้ที่สนใจสามารถสำรองบัตรได้ที่ sistic.co,.sq.
สำหรับสื่อมวลชนกรุณาติดต่อ
วารินทร์ ภัทรปทุมทอง (ออดี้)
โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด
+66 8 6568 8973
audi@tqpr.com