นิทรรศการครั้งนี้ประสานงานโดยโครงการศิลปะชุมชุน เกิดขึ้นภายหลังจากกลุ่มศิลปินและช่างภาพ ทั้ง 7 คน มีความเห็นร่วมกัน ที่จะไปหาแรงบันดาลใจ และวัตถุดิบ ที่จังหวัดกระบี่เมื่อปลายปี 2560 จากชุมชนที่จะถูกผลกระทบจากการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน และนักกิจกรรม ที่ต่างร่วมกันต่อต้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินดังกล่าวจากการศึกษาเบื้องต้น พบว่าพื้นที่ทางทะเล บริเวณที่จะสร้างโรงไฟฟ้า ตลอดจนเส้นทางขนถ่ายถ่านหิน ที่เดินทางมาจากต่างประเทศทางทะเล อยู่ในบริเวณที่ถือว่าเป็นหัวใจของระบบนิเวศวิทยาทางทะเลของอันดามันตอนใต้ ครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่ ระนอง นครศรีธรรมราช พังงา กระบี่ ตรัง สตูล ไปจนถึงเกาะลังกาวี ของประเทศมาเลเซีย และหมู่เกาะทั้งหมดในชายฝั่งอันดามัน ที่จะได้รับผลกระทบทั้งหมด
ระบบนิเวศวิทยาทางทะเลในบริบทนี้ หมายถึงแหล่งกำเนิดและรักษาความมั่นคงของระบบธรรมชาติพื้นฐานของทะเล อันได้แก่ คลองเชื่อมน้ำกร่อย ป่าโกงกาง หญ้าทะเล แนวปะการัง กัลปังหา แนวเกาะหินใต้ทะเล ที่เป็นแหล่งกำเนิดชีวิต และอาหารของทะเล ทั้งหมด ได้แก่ ปลากว่า 360 ชนิด พยูน ปู กุ้ง เคย กั๊ง และหอย ต่าง ๆ นิทรรศการครั้งนี้จะมุ่งความสนใจไปที่ชาวบ้านที่อาศัยโดยรอบทั้งบนเกาะและบนบก จะเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธ์อุรักลาโว้ย ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมมาตลอด จนถึงขั้นสูญเสียที่ทำกิน แหล่งอาหาร แหล่งรายได้ และความสูญสลายทางสังคม, พื้นที่ศักดิ์สิทธิ และวัฒนธรรมพื้นฐานของชาวเล
โรงไฟฟ้าถ่านหินทั้ง 2 ในกระบี่และเทพา ได้รับเสียงคัดค้าน และการต่อต้านอย่างกว้างขวางจากกลุ่มชาวบ้าน และองค์กรต่างๆที่ได้ทำการศึกษาและค้นพบว่ามันเป็นภัยอย่างรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อม และการทำมาหากินของประชาชนในบริเวณดังกล่าว ที่ขึ้นอยู่กับการประมงและการท่องเที่ยวในทั้งสองจังหวัด ผลการต่อต้านได้ช่วยให้กระทรวงพลังงานตัดสินใจหยุดการเริ่มดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเป็นเวลา 3 ปี เพื่อทำการดำเนินการศึกษาและประเมินผลทางสิ่งแวดล้อมใหม่อีกครั้ง ถึงแม้ว่าจะดูเหมือนเป็นขัยชนะครั้งสำคัญของฝ่ายต่อต้าน ชุมชมและนักเคลื่อนไวต่างก็รู้สึกว่ามันเป็นเพียงความพยายามที่จะการประวิงเวลาออกไปชั่วคราว เนื่องจากผู้เสนอโครงการโรงไฟฟ้านี้ยังเป็นบุคคลสำคัญที่มีอำนาจผลักดันในระดับการเมืองอยู่ดี ศิลปินและนักกิจกรรมทั้ง 7 ท่านเชื่อว่าเรายังคงต้องร่วมกันสร้างความรู้ความเข้าใจ และร่วมถกเถียงประเด็นสำคัญนี้กันต่อไป
จากการศึกษาและประสบการณ์การทำงานศิลปะกับชุมชนของศิลปินกลุ่มนี้ ได้ตั้งข้อสังเกตุว่า ปัจจัยหลักสำคัญที่ช่วยให้การต่อสู้กับผู้มีอำนาจและปกป้องตัวเองจากการถูกเอารัดเอาเปรียบกจากนักการเมือง หรือระบบทุนนิยม คือการต่อสู้และรวมตัวกันอย่างเข้มแข็งของกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ชุมชนและผู้นำต้องมีความหนักแน่น ต้านทางแรงซื้อหรือการทุจริตจากกลุ่มภายนอก นอกจากนี้ยังต้องมีความรู้ความเข้าใจอย่างลึก เกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับพื้นที่อาศัยชุมชนของตนเองในระยะยาว
นิทรรศการครั้งประกอบไปด้วย ศิลปะวีดีโอ ศิลปะจัดวาง ภาพวาด ภาพถ่าย งานกวี งานสื่อผสม และการแสดงสด
เกี่ยวกับศิลปิน
นิทรรศการครั้งนี้ประสานงานพิ่นที่โดยโครงการศิลปะชุมชน โดยศิลปิน 7 ท่าน ที่มีทั้งศิลปินอาวุโสและศิลปินรุ่นใหม่ หลายท่านเป็นศิลปินที่ทำงานศิลปะเกี่ยวกับการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นสังคมและการเมืองมานาน โดยเป็นผู้ริเริ่มการทำงานที่เป็นการเปลี่ยนแปลงรากฐาน ใช่สื่อทางเลือกอันหลากหลาย และมีการทำงานร่วมกับศิลปินท่านอื่นที่ทำงานสายเดียวกันมาตลอด ศิลปินกลุ่มนี้ได้ใช้การแสดงศิลปะ งานกวี ศิลปะจัดวาง สื่อผสม งานเขียน งานวีดีโอและภาพถ่าย เพื่อบ่งชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมมาตั้งแต่ยุค 70 บางท่านได้รวมตัวทำงานเป็นกลุ่ม อาทิเช่น Asiatopia และยังได้มีส่วนร่วมในการประท้วงชุมนุม เพื่อสร้างประเด็นเรียกร้องความสนใจจากสาธารณะชนหรือภาครัฐ ไปถึงการลุกขึ้นสู้ต่อต้านเผด็จการที่ผ่านมาหลายครั้ง เป็นบุกเบิกเริ่มนำประเด็นสังคมและการเมืองเข้าสู่ขอบเขตของศิลปะ
ตัวอย่างประเด็นโครงการทางสังคมที่ศิลปินหลายท่านจากกลุ่มนี้ได้เคยร่วมสนับสนุนคือ ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม สิทธิของผู้ทำงานค้าประเวณี ปัญหารากหญ้าอันเนื่องมาจากระบบทุนนิยม ผลกระทบจากการพัฒนาและการสร้างความเจริญที่มีต่อชุมชน หรือชนพื้นเมืองกลุ่มน้อย รวมไปถึงการทุจริตของนักกางเมืองเป็นตัน ซึ่งอาจมองได้ว่ากระบวนการทางความคิดของศิลปินกลุ่มนี้ นำไปสู่การร่วมแนวความคิดริเริ่มอย่างเป็นธรรมชาติ
งานเปิดและเสวนา วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน 2561 เวลา 19.00 น.
ศิลปิน
จิตติมา ผลเสวก
สมพงษ์ ทวี’
ชิตะวา มุนินโท
สาธิต รักษาศรี
วิชชุกร ตั้งไพบูลย์
วิชัย จันทวาโร
จุมพล อภิสุข
WTF แกลลอรี่ร่วมกับ กรีนพีช เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประสานงานโดยโครงการศิลปะชุมชนมีความยินดีขอเชิญท่านเข้าร่วมงานนิทรรศการกลุ่ม “โลกไร้ถ่านหิน ” ที่จะเกิดขึ้นในวันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน 2561 เวลา 19.00 น.
โปรแกรมกิจกรรม
1900น. เป็นต้นไป งานเปิดนิทรรศการ
1930-2030น กิจกรรมเสวนาในหัวข้อผลกระทบของถ่านหินในระดับชาติและชุมชน
ดำเนินรายการโดย นางสาวจิตติมา ผลเสวก, ศิลปินและนักกิจกรรมโครงการศิลปะชุมชน
ผู้ร่วมเสวนา :
นายเดียว ทะเลลึก, ชาวบ้านอุรัก ลาโว้ย เกาะลันตา จังหวัดกระบี่
นาย อัครเดช ฉากจินดา, นักกิจกรรมเคลื่อนไหวต้อต้านโรงงานถ่านหิน จังหวัดกระบี่
นางสาว จริยา เสนพงศ์, ประสานงานด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
2030-2300น การแสดงสดของ จิตติมา ผลเสวก, สมพงษ์ ทวี’, ชตะวา มุนินโท, สาธิต รักษาศรี, วิชชุกร ตั้งไพบูลย์, จุมพล อภิสุข
(การแสดงสดของศิลปินทั้งหมดจะเกิดขึ้นในบริเวณพื้นที่ใดที่หนึ่งทั้งหมดของ WTF คาเฟ่ และ แกลลอรี่โดยไม่มีหมายกำหนด)
ข้อมูลอื่นๆเกี่ยวกับ WTF Cafe’ & Gallery เปิดให้เข้าชม ทุกวันอังคาร – วันอาทิตย์ เวลา 16.00-22.00น. ไม่เสียค่าใช้จ่าย
WTF Gallery & Cafe
7 สุขุมวิท 51 คลองตันเหนือ วัฒนา
กรุงเทพฯ 10110
โทร/เเฟกซ์ 02 662 6246
สถานีรถไฟฟ้า BTS ทองหล่อ
www.wtfbangkok.com
ติดต่อ
สมรัก ศิลา – ผู้จัดการ WTF Cafe & Gallery
โทร (66) 2 62 6246, (66) 89 926 5474
Email: somrak@wtfbangkok.com