มาลา คำจันทร์

มาลา คำจันทร์  เป็นนามปากกาของ เจริญ มาลาโรจน์ นักเขียนรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์)จากเรื่อง เจ้าจันท์ผมหอม นิราศพระธาตุอินทร์แขวน

ประวัติ
เกิด 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 ที่ ต.เมืองพาน อ.พาน จ.เชียงราย ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่บ้านศาลา ตำบลยุหว่า อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่จบการศึกษาจากวิทยาลัยครูเชียงใหม่ และรับราชการเป็นครู 11 ปี และได้จบปริญญาตรีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และปริญญาโท วิชาจารึกภาษาไทย คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เคยเป็นอาจารย์ภาษาไทยที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ปัจจุบันเป็นนักเขียนอิสระ แต่งงานเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 กับนางสาวณัฐยาภรณ์ ไชยหล้า หรือ “กระถิน” ปัจจุบันมีลูก 2 คน คือ เด็กชาย รักพล มาลาโรจน์ และเด็กหญิง ภิรภรณ์ มาลาโรจน์ เคยได้รับเลือกให้เป็นประธานชมรมวรรณศิลป์ ของโรงเรียนศิริมาตย์ฯ ในขณะที่กำลังเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผลงานเขียนชิ้นแรกที่เขียนยาวคือ นิราศผาโขง งานชิ้นนี้เขียนกลอนแปดไม่ได้รับการเผยแพร่

ผลงาน
เรื่องสั้นและนวนิยาย
ทางที่ต้องเดิน (รวมเรื่องสั้น) 2523
หมู่บ้านอาบจันทร์ 2523
เด็กบ้านดอย 2524
ไอ้ค่อม 2525
ลูกป่า 2525
นกแอ่นฟ้า 2526
วิถีคนกล้า 2527
บ้านไร่ชายดง 2528
ลมเหนือและป่าหนาว (รวมเรื่องสั้น) 2529
ท้าสู้บนภูสูง (เรื่องแปล) 2531
เขี้ยวเสือไฟ 2531
หุบเขากินคน 2532
เจ้าจันท์ผมหอม นิราศพระธาตุอินทร์แขวน เขียนจากจินตนาการของผู้เขียนเอง โดยไม่ใช่นำมาจากนิทานพื้นบ้านแต่อย่างใด ผู้เขียนบอกในคำนำว่าอยากลองเขียนถึงผู้หญิงในประวัติศาสตร์ ว่าจะมีความรู้สึกนึกคิดอย่างไร เพราะบันทึกประวัติศาสตร์ไม่ได้บอกสิ่งเหล่านี้เอาไว้ หนังสือเล่มนี้ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ปี 2534
สิงหะนาคะ 2534
เหรียญเวทมนตร์ 2534
แพะขาวแพะดำ (นิทานสำหรับเด็ก) 2534
แมวน้อยตกปลา (นิทานสำหรับเด็ก) 2534
ฟ้ากว้างเท่าปากบ่อ (นิทานสำหรับเด็ก) 2534
ดงคนดิบ 2535
ไฟพรางเทียน (รวมเรื่องสั้น) 2535
ตำนานบรพพชน(เรื่องเล่าจากตำนาน) 2537
เรื่องเล่าจากดงลึก (เรื่องราวจากคำบอกเล่า) 2538
เมืองลับแล 2539
ใต้หล้าฟ้าหลั่ง 2540
ดาบอุปราช 2541
สร้อยสุคันธา 2543

หนังสืออื่น
มาลา คำจันทร์. พจนานุกรมคำเมือง. เชียงใหม่ : บุ๊คเวิร์ม, 2551. ISBN 978-974-84-1855-1

เจ้าจันทน์ผมหอม เป็นนวนิยายที่เสนอเรื่องราวเกี่ยวกับเจ้าหญิงล้านนา ฉะนั้น ภาษาที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นล้านนา เพื่อให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่อง แต่ผู้เขียน ได้บอกความหมายของคำเหล่านั้นไว้ด้วย

โครงเรื่อง เป็นเรื่องของเจ้าหญิงล้านนา ที่ต้องโดนบังคับให้แต่งงานกับผู้ชายที่นางไม่ได้รัก แต่นางมีความศรัทธา ในองค์พระธาตุอินทร์แขวน นางจึงเดินทางไปนมัสการและอธิษฐานว่า ถ้านางจะสมหวังในความรัก ก็ขอให้นางลอดพระธาตุได้ แต่ถ้านางจำเป็นต้องแต่งงานกับชายที่ไม่ได้หมายปอง ก็เป็นอันว่านางลอดพระธาตุไม่ได้  ในตอนจบนั้น นางไม่สามารถลอดได้ จึงได้ปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุนั้น และตัดสินใจแต่งงานกับชายที่ไม่ได้หมายปอง

ที่มาเกี่ยวกับหนังสือ : http://atcloud.com/stories/71612
ที่มารูปภาพ : http://kc.hri.tu.ac.th/,  http://www.dhammadhammo.com/

You may also like...