นิติพงษ์ ห่อนาค

นิติพงษ์ ห่อนาค เกิดเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2503 เป็นชาวจังหวัดลพบุรี เป็นบุตรของครูสง่า ห่อนาค กับนางเปรื่อง ห่อนาค มีพี่น้องทั้งหมด 9 คน  สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษา จากโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย จังหวัดลพบุรี จากนั้นเมื่อปี พ.ศ. 2521 เข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประวัติการทำงาน

พ.ศ. 2524 เริ่มต้นการทำงานด้านวิทยุโทรทัศน์ขณะศึกษาอยู่ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ทั้งงานเขียนบทโทรทัศน์ เขียนบทละคร เป็นผู้ผลิตรายการ ผู้กำกับรายการ ทำรายการเกมส์โชว์ ทำละคร รายการเพลง จัดรายการวิทยุ ร้องเพลงโฆษณา เล่นละครเวที

พ.ศ. 2525 เป็นสมาชิกของวงเฉลียง และในปี 2529 ได้เป็นหัวหน้าวงเฉลียง โดยมีเพลงที่รู้จักคือ เพลงนายไข่เจียว อัลบั้มเอกเขนก

พ.ศ. 2527 เป็นนักแต่งเพลงในบริษัท แกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด ปัจจุบันคือ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)

พ.ศ. 2535 ดำรงตำแหน่ง ผู้จัดการฝ่ายผลิตและสร้างสรรค์เพลง บริษัท แกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด

พ.ศ. 2540 ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท แกรมมี่ แกรนด์ จำกัด (ในเครือบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)

นิติพงษ์ ห่อนาค มีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะนักดนตรีวงเฉลียง และนักแต่งเพลงในสังกัดจีเอ็มเอ็มแกรมมี่ ซึ่งผลงานทางด้านการเขียนเพลงของนิติพงษ์ห่อนาคนั้น เริ่มต้นเขียนเพลงครั้งแรกเมื่อปี 2523 คือเพลงเข้าใจของวงเฉลียง ปัจจุบันมีผลงานเพลงประมาณกว่า 350 เพลง โดยเขียนเพลงให้แก่ศิลปินระดับชั้นนำของประเทศ ได้แก่ กบ-ภัทรวรินทร์ เบิร์ด ธงไชย อัสนี-วสันต์ ไมโคร บิลลี่ คริสติน่า ใหม่ เจริญปุระ มาช่า กอล์ฟ-ไมค์ โรส ศิรินทิพย์ เป็นต้น

นอกจากนี้แล้วยังเคยลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2551 ได้เบอร์ 29 แม้ไม่ได้รับการเลือกตั้ง แต่ได้คะแนนมาเป็นลำดับสองของกรุงเทพมหานคร ด้วยคะแนนกว่า 2 แสนคะแนน

ผลงานที่สร้างชื่อเสียง
หมั่นคอยดูแลและรักษาดวงใจ (ธงไชย แมคอินไตย์)
รักปอนปอน (ไมโคร)
เธอปันใจ (อัสนี-วสันต์)
รักเธอเสมอ (อัสนี-วสันต์) ร่วมกับอัสนี โชติกุล
คิดถึงฉันไหมเวลาที่เธอ (แท๊กซี่)
เอาอะไรมาแลกก็ไม่ยอม (บิลลี่ โอแกน)
ครึ่งหนึ่งของชีวิต (เสาวลักษณ์ ลีละบุตร)
จากคนอื่นคนไกล (มาช่า วัฒนพานิช)
คาใจ (เจตริน วรรธนะสิน)
กลับคำเสีย (กัมปะนี)
เติมความผูกพัน (ปองกูล สืบซึ้ง แคลอรี่ บลา บลา)
ฯลฯ

ผลงานที่ประพันธ์ขึ้นในโอกาสพิเศษ
ส่งนางฟ้ากลับสวรรค์ ประพันธ์เนื่องในโอกาสการจัดงานพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พุทธศักราช ๒๕๕๑

รูปที่มีทุกบ้าน ประพันธ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในวโรกาส พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐

ต้นไม้ของพ่อ ประพันธ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในวโรกาส พระราชพิธีกาญจนาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๓๙

ของขวัญจากก้อนดิน ประพันธ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในวโรกาส พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒

งานของแม่ไม่เคยหมด ประพันธ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ คือสายใย ประพันธ์เพื่อถวายพระพร พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ พระโอรสในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ

ฝากส่งใจไป เพลงพิเศษเพื่อเป็นกำลังใจแก่พี่น้อง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

พรุ่งนี้ต้องดีกว่า เพลงพิเศษในช่วงรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 เพื่อเป็นกำลังใจให้คนไทยสร้างความสมานฉันท์ และความสามัคคีให้เกิดขึ้นในชาติ

อีกไม่นาน เพลงพิเศษเพื่อเป็นกำลังใจแก่ผู้ประสบธรณีพิบัติภัย

ขอความสุขคืนกลับมา เพลงพิเศษเพื่อเป็นกำลังใจแก่ชาวไทยที่มีความรู้สึกทุกข์ จากการสูญเสียสถานที่สำคัญต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร หลังเหตุการณ์ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

นามปากกาที่ใช้เขียนเพลง
นิติพงษ์ ห่อนาค

ดี้

คนเดิมเปี๊ยบเลย

จักรวรรดิ พัฒน์พิบูลย์

จักรวรรดิ พ.

เทียม จริงใจ

นาถวลี อัตเมธากุล

น้องแพ็ท กับอาดี้

น้องสีห์ ธาราสด

บดินทร์ พงศ์นาค

บางนา ท่าเรือ

ประดับ ปนทอง

ประภา จันเนิน

เพียงออ

สีห์ เทกีล่า

สีห์ ธานีเขียว

สีห์ ธาราสด

สีห์ ธาราใส

สีห์ สามัคคีประชาชื่น

หน้าสิ่ว หน้าขวาน

หมู

อำพน พันธ์เดิม

โอภาส พันธ์ดี

มวลหมู่

ผลงานหนังสือ
ปลูกรัก…สุดฟากฟ้า , กุมภาพันธ์ 2550, ISBN 9789744750082 สำนักพิมพ์ แพรวสำนักพิมพ์
ลงเอยเป็นเพลง Behind the Songs, สิงหาคม 2550, ISBN 9789748062501, สำนักพิมพ์ in publishing

รางวัล
รางวัลที่ได้รับทางด้านงานเพลง ได้แก่
ปี 2539 รางวัลพระพิฆเนศทองพระราชทาน ประพันธ์คำร้องยอดเยี่ยมจากเพลง “แค่เสียใจไม่พอ” (ศิลปิน แอม เสาวลักษณ์) และเพลง “เหนื่อยไหม” (ศิลปิน เบิร์ด ธงไชย)
ปี 2548 รางวัลชนะเลิศการประพันธ์เพลงดีเด่นด้านภาษาไทย ประเภทเพลงไทยสากล โครงการเพชรในเพลง ของกระทรวงวัฒนธรรม จากเพลง “ก้อนหินก้อนนั้น” (ศิลปิน โรส ศิรินทิพย์)

ผลงานอื่นๆ ได้แก่
ศิษย์เก่าดีเด่น โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย จังหวัดลพบุรี ประจำปี 2550
ศิษย์เก่าดีเด่น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี 2548
ร่วมแสดงคอนเสิร์ตกับศิลปิน “เฉลียง” รายได้ทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสด็จพระราชกุศลสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา
อำนวยการผลิตเพลง TO BE NUMBER ONE ซึ่งเป็นโครงการในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี

 

ที่มาข้อมูล : http://th.wikipedia.org
ที่มารูปภาพ : http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=yyswim&month=23-02-2008&group=3&gblog=163

You may also like...