มนุษย์กับโลก ของ ฟรานติเชค คุปก้า

มนุษย์กับโลก ของ ฟรานติเชค คุปก้า
รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐเชค ร่วมกับ นายซเด็นเน็ค สเกลน่า และนาย ยิริ ลามเมล นำผลงานจิตรกรรมอันทรงคุณค่าจำนวน 105 ภาพ ของจิตรกรชื่อดังชาวเชค ฟรานติเชค คุปก้า ( Frantisek Kupka ) ชุด “ มนุษย์กับโลก( Man and Earth ) ” มาจัดแสดงเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ณ หอศิลป์สมเด็จพระนาง เจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีและเฉลิมฉลองครบ 72 ปี ความสัมพันธ์ระหว่างสาธารณรัฐเชคกับประเทศไทย

ฟรานติเชค คุปก้า เป็นศิลปินที่มีความโดดเด่นที่สุดคนหนึ่งของสาธารณรัฐเชคเขาเป็นศิลปินร่วมสมัยเดียวกันและมีความสามารถเทียบเท่ากับศิลปินอย่าง Picasso, Kadinsky และ Mondrian เขาเกิดเมื่อปี 1871 ที่แคว้น Bohemia ชีวิตครอบครัวในวัยเด็กที่ไม่ใคร่ราบรื่นนัก ทำให้เขาตัดสินใจออกมาเผชิญชีวิต ด้วยวัย16 ปี และค้นพบประสบการณ์ใหม่เกี่ยวกับจิตวิญญาณและงานศิลปะ จากนั้นเขาจึงออกเดินทางเพื่อศึกษาและทำงานศิลปะทั้งในปรุงปราก เวียนนา และปารีส กระทั่งจัดแสดงนิทรรศการศิลปะครั้งแรกที่ Salon de Beaux-Arts กรุงปารีส ในปี 1899
ฟรานติเชค คุปก้า มีชื่อเสียงมากในฐานะผู้คิดค้นจิตรกรรมแนวนามธรรมสมัยใหม่ เขาเป็นศิลปินร่วมสมัยเดียวกันและมีความสามารถเทียบเท่ากับศิลปินอย่าง Picasso, Kadinsky และ Mondrian ผลงานของเขาอุดมไปด้วยจินตนาการ ความฝัน และความปรารถนาที่จะหลุดพ้นออกไปจากกรอบความรู้เดิมๆ ส่งผลให้เขากล้าทดลองทำสิ่งใหม่ๆ และด้วยสาเหตุนี้เองที่ทำให้เขากลายเป็นหนึ่งในผู้ปฏิวัติวงการศิลปะในศตวรรษที่ 20

ผลงานที่นำมาจัดแสดงในครั้งนี้เป็นถูกสร้างสรรค์ขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1904-1907 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เขาสร้างงานศิลปะแนวเหมือนจริง โดยเป็นภาพเขียนที่เขาสร้างขึ้นสำหรับประกอบหนังสือด้านสังคมวิทยาและภูมิศาสตร์ของนักเขียนและนักคิดชาวฝรั่งเศสชื่อ Elisee Reclus ผลงานชุดนี้จึงเป็นสิ่งพิสูจน์พรสวรรค์ด้านศิลปะ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ชีววิทยา ฟิสิกส์ และความสามารถในการมองโลกในมิติที่หลากหลาย แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมและอารยธรรมจากยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงยุคสมัยใหม่อย่างมีชีวิตชีวา

ฟรานติเชค คุปก้า สร้างสรรค์ผลงานภาพเขียนชุด “ มนุษย์กับโลก ” ด้วยการศึกษาค้นคว้าตามแบบประเพณีดั้งเดิมอันทรงคุณค่า นั่นคือการใช้หมึกจีน พู่กัน กระดาษ และก้อนหินสำหรับฝนน้ำหมึก และจัดแสดงเป็นครั้งแรกในเดือนกรกฎาคม ปี พ.ศ. 2 548 ณ หอศิลป์แห่งชาติ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน มีผู้ชมนิทรรศการมากกว่า 50,000 คน และในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2 549 ผลงานบางส่วนในชุดนี้ได้ไปจัดแสดง ณ สาธารณรัฐกัมพูชาเนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสาธารณรัฐเชคและกัมพูชา โดยกษัตริย์นโรดม สีหโมนี แห่งกัมพูชาได้เสด็จฯ ทอดพระเนตรผลงาน สำหรับประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศที่สองต่อจากจีนที่มีการจัดแสดงผลงานชุดนี้อย่างสมบูรณ์

ผลงานของ ฟรานติเชค คุปก้า เป็นผลงานสะสมถาวรของหอศิลป์ชั้นนำหลายๆ แห่งในโลก ได้แก่ Museum of Modern Art นิวยอร์ก , The Solomon R. Guggenheim Museum นิวยอร์ก , Philadelphia Museum of Art หอศิลป์แห่งชาติประจำกรุงวอชิงตัน ดี . ซี . , Musee d’Orsay ปารีส , Musee National d’Art Moderne, Centre Georges Pompidou ปารีส , Musee d’Art moderne de la ville de Paris, Museo Thyssen Bornemisza มาดริด, National Gallery ปราก และ Museum Kampa ปราก

 

You may also like...