การฟิ้นตัวของภาพยนตร์ไทยเสียงในฟิล์ม

การฟิ้นตัวของภาพยนตร์ไทยเสียงในฟิล์ม
ปี ๒๔๙๖ รัตน์ เปสตันยี ได้จัดตั้งบริษัทหนุมานภาพยนตร์และสร้างโรงถ่ายภาพยนตร์เสียงมาตรฐานสากลที่ถนนวิทยุย่านเพลินจิต บริษัทได้สร้างภาพยนตร์ไทยระบบ ๓๕ มิลลิเมตร เสียงในฟิล์ม สีธรรมชาติ เรื่อง “สันติ-วีณา” ออกฉายครั้งแรกในปี ๒๔๙๗

และได้ส่งเข้าร่วมประกวดในงานประกวดภาพยนตร์แห่งเอเชียตะวันออกไกล ณ กรุงโตเกียว ได้รางวัล ๓ รางวัลคือ การถ่ายภาพ การกำกับภาพศิลป และการเผยแพร่วัฒนธรรม นับเป็นครั้งแรกที่ภาพยนตร์ไทยได้เข้าร่วมการประกวดระหว่างชาติ

ความสำเร็จของ “สันติ-วีณา” เป็นการปลุกความคิดในการสร้างภาพยนตร์มาตรฐาน ๓๕ มิลลิเมตร เสียงในฟิล์ม ให้มีชีวิตชีวาขึ้นมาอีก จอมพลแปลก พิบูลสงคราม ซึ่งกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัยหนึ่ง ได้คิดโครงการที่จะจัดตั้งองค์การผลิตภาพยนตร์แห่งชาติขึ้นในลักษณะรัฐวิสาหกิจโดยรวมผู้สร้างภาพยนตร์ระบบมาตรฐานที่เคยมีมาสมัยก่อนสงคราม คือ ภาพยนตร์เสียงศรีกรุง ไทยฟิล์ม ภาพยนตร์ทหารอากาศ รวมทั้งหนุมานภาพยนตร์ที่เกอดใหม่ เข้าร่วมเป็นหุ้นส่วน มีกรมประชาสัมพันธ์เป็นแกนจากฝ่ายราชการ มีแผนการจะสร้างเมืองศูนย์กลางผลิตภาพยนตร์ขึ้นที่จังหวัดชลบุรี แต่โครงการใหญ่โตนี้ชะงักลงเสียก่อน เพราะเกิดการรัฐประหาร เปลี่ยนรัฐบาลในปี ๒๕๐๐

You may also like...