การแสดงโขนโรงใน ที่มีโรงสำหรับการแสดง และมีม่านกั้น ทางด้านหลัง อย่างละครใน เป็นโขนที่ได้ รับความนิยม จากผู้ชมมาก เพราะได้ชมทั้งศิลปะ การเต้นอย่างโขน และชมกระบวน การรำฟังเพลง ร้องอย่างละครใน
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ โขนโรงใน จึงวิวัฒนาการ มาเป็นโขนฉาก โดยมี ผู้คิด สร้างฉากประกอบ การแสดงโขนบทเวที เช่นเดียวกับละครดึกดำบรรพ์ ผู้ให้กำเนิด โขนฉากเข้าใจว่า จะเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ผู้ทรงให้กำเนิดละครดึกดำบรรพ์
ศิลปะการแสดงโขนฉาก เช่นเดียวกับโขนโรงในทุกประการ แต่โขนฉากจะต้องมีบท สำหรับแสดงที่ แต่งขึ้นไว้ โดยตัดตอน ให้เรื่องกระชับขึ้น เพื่อให้พอเหมาะ กับฉากที่สร้าง ประกอบ การแสดงตาม ท้องเรื่อง นักพากย์เจรจา และนักร้อง จะพากย์และ ขับร้องตามบท ในสมัยที่ นายธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร จัดแสดง ณ โรงละครศิลปากร (ไฟไหม้แล้ว) ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น กล่าวคือ ในสมัยก่อน ตัวโขนที่เป็นนางใช้ คนพากย์ ผู้ชายเป็นผู้พากย์เจรจา ซึ่งเสียงผู้ชาย ใหญ่ และห้าวเมื่อ พากย์ เจรจาบทตัวนาง จึงไม่เหมาะสม ท่านก็กำหนดให้นักร้องหญิง ที่พากย์เจรจาโขนได้ พากย์และเจรจา ให้ตัวนางรำ ก็ได้รับความนิยม จากผู้ชมเป็นส่วนมาก
ที่มา : สำนักสังคีต