MUSEUM SIAM

ชื่อตึก : มิวเซียมสยาม (พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้)
ที่ตั้ง : อยู่บริเวณท่าเตียน ถนนสนามไชย ติดกับโรงเรียนตั้งตรงจิตพาณิชยการและสถานีตำรวจพระราชวังห่างจากวัดโพธิ์
ประเภทอาคาร :อาคารคอนกรีต 3 ชั้น ใช้การก่อสร้างแบบเสาและคาน เป็นอาคารหลังเก่าของกระทรวงพาณิชย์เดิม
ก่อตั้งเมื่อ : ตัวอาคารก่อสร้างในสมัยรัชกาลที่ 6 และเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์เมื่อ 2 เมษายน พ.ศ. 2551 มิวเซียมสยามอยู่ในการดูแลของสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

CONCEPT ของการออกแบบอาคาร : เป็นการออกแบบเพื่อเน้นการเรียนรู้ในการแสดงตัวตนหรือเอกลักษณ์ของชนชาติไทย โดยโครงสร้งอาคารและสถาปัตยกรรมยังคงไว้ในรูปแบบอาคารเดิม มีการปรับปรุงส่วนอาคารใหม่ โดยเน้นการปรับปรุง interior ภายในอาคารแต่ละห้องโดยให้มีทั้งหมด 17 ห้องโดย concept การเล่าเรื่องจะใช้การเล่าเรื่องแบบโต้ตอบโดยใช้ตัวละคร 7 ตัวเป็นตัวกลางแต่ละห้องก็จะมีการออกแบบ interior ที่เน้นความทันสมัยแตกต่างกันไป

มิวเซียมสยามหรือพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ เดิมอาคารหลังนี้เป็นอาคารเก่าของกระทรวงพาณิชย์เดิม ก่อสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 โดยตัวอาคารหลังนี้ได้รับรางวัลการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2549 จากคณะกรรมาธิการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ การจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์มีการใช้สื่อสร้างสรรค์ที่มีความทันสมัยน่าสนใจและสนุกสนาน โดยอธิบายถึงประวัติความเป็นมาของประเทศไทย ด้านเชื้อสาย ศิลปวัฒนธรรมขนบธรมเนียมประเพณีต่างๆจนกระทั่งกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของความเป็นชนชาติไทยในปัจจุบัน

โดยตัวอาคารตั้งอยู่ในพื้นที่ของเกาะรัตนโกสินทร์ ก็ยังคงรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยเก่าไว้ ตัวอาคารยังคงรูปแบบเดิมที่มีเอกลักษณ์ร่วมสมัยแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกผสมผสานอยู่ด้วย อาคารจึงมีความกลมกลืนกับพื้นที่บริเวณนั้น เพราะพื้นที่โดยรอบส่วนยังคงเป็นตึกเก่า โดยหากเรามองจากภายนอกอาคารอาจจะดูเป็นอาคารเก่าเหมือนอาคารบริเวณรอบเกาะรัตนโกสินทร์โดยทั่วไป แต่หากเราได้เข้าไปยังอาคารและพื้นที่โดยรอบจะทำให้เรารู้สึกเหมือนเป็นพื้นที่ที่มีการพักผ่อน โดยด้านหน้ามีการออกแบบอาคารโดยเน้น sculture บริเวณทางเข้าอาคารมีการจัด landscape ให้เข้ากับบริเวณโดยรอบของตัวอาคาร


เมื่อได้เข้าไปยังตัวอาคารแล้วจะทำให้รู้สึกเหมือนอยู่ในยุคสมัยเก่าเนื่องจากตัวอาคารเป็นอาคารเก่าปรับปรุงเพียงในส่วนของสถาปัตยกรรมภายในอาคารให้มีความน่าสนใจในการเรียนรู้ และมีการใช้ระบบการเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาใช่ร่วมกับการผสมผสานกับตัวอาคารแบบเก่าได้อย่างกลมกลืน พิพิธภัณฑ์หลังนี้จึงเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ได้รับความสนใจจากบุคคลจำนวนมาก พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้นี้ถือเป็นแหล่งการเรียนรู้หนึ่งที่เน้นจุดมุ่งหมายในการแสดงตัวตนของชนในชาติ ซึ่งจะทำให้ผู้เข้าชมเฉพาะอย่างยิ่งผูเข้าชมที่อยู่ในวัยเด็กและเยาวชน ได้เรียนรู้รากเหง้าของชาวไทย โดยเน้นไปที่กลุ่มชนในเขตเมืองกรุงเทพมหานครส่วนมาก
Analysis Building
การที่สถาปนิกเลือกที่จะนำตัวอาคารมาทำการปรับปรุงให้สามารถใช้งานและทำให้ดูเข้ากับสภาพแวดล้อมโดยรอบอาคารในสมัยนี้ สถาปนิกเลือกเพียงที่จะนำอาคารเก่าเพียงอาคารเดียวที่สามารถจะดัดแปลงจากอาคารราชการในสมัยเก่าจนเปลี่ยนเป็นอาคารสาธารณะ โดยตัวอาคารติดทางด้านหน้าถนน สามารถเข้าถึงได้โดยง่ายและสังเกตเห็นอย่างเด่นชัด ส่วนเรื่องโครงสร้างที่ใช้คือ ระบบเสาคานซึ่งอาคารเก่าสถาปนิกจึงไม่อยากให้มีการปรับปรุงโครงสร้างใหม่จึงใช้โครงสร้างที่มีอยู่ เพียงแค่ปรับปรุงโครงสร้างเพิ่มความแข็งแรงโดยเพิ่ม “ตง” เข้าไปช่วยรับน้ำหนัก แล้วหล่อคอนกรีตกันควมชื้นให้กับไม้ เนื่องจากต้องการที่จะใช้วัสดุเดิมแสดงความเป็นมาของชนชาติไทย จึงใช้วัสดุที่ร่วมสมัยและเป็นเอกลักษณ์ เป็น concept ของอาคาร ช่องเปิดของอาคารต่างๆก็คงเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง ในเรื่องของ circulation สถาปนิกก็ได้ใช้บันไดเดิมโดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ บันไดริม 2 ฝั่ง และมีบันไดส่วนกลางเป็นบันไดหลักที่ใช้ในการลงทะเบียนและเยี่ยมชมงาน ในเรื่องของห้องน้ำก็มีการแบ่งเป็น 2 ฝั่งตรงบันไดริมแยกห้องน้ำชายและห้องน้ำหญิงคนละฝั่งออกจากกัน ตัวอาคารใช้หลักระบายความร้อนมี 2 วิธีคือ การใช้ลมธรรมชาติและเครื่องปรับอากาศ การจัดวางห้องจะมีประตูเชื่อมกันในแต่ละห้องทำให้การชมนิทรรศการมีความต่อเนื่องและทำให้ผู้เข้าชมสามารถชมนิทรรศการโดยได้เรื่องราวที่ต่อเนื่องและน่าสนใจ

ข้อดี
• ประหยัดงบประมาณการก่อสร้าง คอ การนำอาคารเก่ามาใช้ประโยชน์
• อาคารเก่าย่อมมีการคำนวนการพักอาศัยที่เอื้อประโยชน์อยู่แล้วจึงไม่ต้องทำการ analysis ใหม่มากนัก
• โครงสร้างอาครที่มีอยู่ก็เหมาะสมกับฟังก์ชั่นที่เลือกใช้
• อาคารเดิมมีความน่าสนใจรวมไปถึงการเชื่อมต่อรอบข้างดูเข้ากันได้ดี
• เป็น จุดขาย ของงานภายใน เกี่ยวกับการบ่งบอกความเป็นมาของเมืองสยามเรา
• เดินระบบได้ง่ายและสะดวก
• Circulation ภายในจัดได้ง่ายเนื่องจากห้องเปิดทะลุถึงกันหมด
• ดูแลได้สะดวกไม่มีส่วนไหนที่ทำควมสะอาดยาก
• นิทรรศการภายในมีความน่าสนใจสูงมากต้องลองไปเยี่ยมชมดู

ข้อเสีย
• ส่วนห้องน้ำมีการแยก ชาย หญิง ไว้สองฝั่งแต่มีการจัด carculation ที่วกวนทำให้ห้องน้ำของแต่ละเพศเข้าถึงได้ยาก
• อาคารบางจุดต้องการแสงที่มากกว่านี้
• พื้นที่ไม้มีปัญหาด้านการใช้งานและความชื้นในตัวอาคาร
• อาคารหากมาจากถนนด้านหลักจะสัเกตได้ยากดูแล้วเหมือนอาคารแถวๆนั้น
• สีของอาคารดูแลรักษยาก

Interior design
ภายในตัวอาคารมีการออกแบบโครงสร้างเก่า โดยมีองค์ประกอบอาคารแบบคลาสสิคสมัยใหม่ มีการใช้ส่วนโค้งของ Arch มีการใช้ material จากไม้เข้ามาใช้ ส่วนในแต่ละห้องซึ่งมีทั้งหมด 17 ห้อง ก็ได้มีการออกแบบลักาณะของงาน interior desing ที่แตกต่างกันตาม concept ของนิทรรศการที่นำเสนอ
ภายในตัวอาคารได้มีการรักษาสีเดิมของตัวอาคารและพื้นกระบางส่วนก็ยังคงสภาพเดิมตั้งแต่เริ่มต้นการก่อสร้างมีการรักษาพื้นไม้เดิมให้คงสภาพอยู่จนถึงปัจจุบัน
อาคารพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้หลังนี้ มีบทบาทต่อกรุงเทพมหานครเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ที่มีเด็กและเยาวชนจำนวนมากต่างพากันให้ความสนใจในการเยนรู้ เนื่องจากแต่ละห้องที่จัดนิทรรศการมีการใช้สีสันและเทคโนโลยีที่มีความทันสมัยและสื่อถึงประวัติของชนชาติไทยเป็นอย่างดีทำให้เยาวชนได้รู้จักประวัติความเป็นมาของประเทศไทยมากขึ้น นอกจกนั้นยังเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ เนื่องจากมีพื้นที่ด้านหน้าอาคารเป็น landscape บรรยากาศโดยรอบมีความสงบเงียบเหมาะแก่การเรียนรู้

ผู้เขียน : น.ส.ปิยพร  ประจักษ์ทิพย์ 5016610031

 
 

You may also like...