A Candle in the wind, Marilyn Monroe
บทเพลง Candle in the wind ประพันธ์โดย Bernie Taupin ในปีค.ศ. 1973 ขับร้องโดยโดย Elton John รำลึกถึงการจากไปของ นอร์มา จีน มอร์เทนสัน หรือ มาริลีน มอลโล ผ่านบทเพลงและดนตรีที่ฟังแล้วสุขุมนุ่มลึก ด้วยถ้อยคำที่เทิดทูนและให้เกียรติในตัวเธอเป็นอย่างมากว่า
“นอร์มา จีน ก็เป็นผู้หญิงคนหนึ่งที่มีชีวิตทั่วไป เธอสามารถทำทุกสิ่งทุกอย่างเต็มที่ที่สุดไม่ต่างจากใครๆ หลายคนมโนภาพเธอไปไหนต่อไหนเพียงเพราะรูปลักษณ์ภายนอก แต่เมื่อคุณได้สัมผัสกับเธอแล้ว เธอคือผู้หญิงที่สวยงามทั้งกายและใจคนหนึ่ง อดีตที่โหดร้ายไม่ได้ส่งผลให้จิตใจของเธอติดลบ แต่หล่อหลอมให้เธอมองโลกและเข้าใจโลกได้อย่างชัดเจนมากขึ้น ที่น่าเสียดายคือทำไมผู้หญิงที่สวย บอบบาง และเข้มแข็งอย่างเธอต้องจบชีวิตลงด้วยการเสียชีวิตแบบเปลือยปริศนา กล่าวได้ว่าชีวิตของนอร์มา จีน เปรียบเสมือนเปลวเทียนและอุปสรรค ความเหงา โดดเดี่ยว ก็เหมือนสายลมที่เป่าจนเทียนดับลงไป”
หลายคนอาจมโนภาพของเธอในแง่คาวโลกีย์, sex symbol ดาราสาวที่มีแต่ข่าวฉาว ประวัติด่างพร้อยตั้งแต่เล็กครอบครัวของเธอแตกแยก บิดาสาบสูญ เป็นเด็กกำพร้า มารดาเป็นอาการทางประสาท ความเป็นจริงแล้วทุกคนก็อยากที่จะมีครอบครัวที่อบอุ่นและมีความสุขโดยทั่วกัน จึงไม่แปลกเลยที่นอร์มา จีน จะเป็นดาราสาวที่ไม่ได้มีชีวิตโรยด้วยกลีบกุหลาบ
นอกจากบทบาทการแสดงแล้วในภาพยนตร์แทบทุกเรื่องมักจะมีฉากที่นอร์มา จีน ร้องเพลงอยู่ด้วยเสมอและเธอมักจะถูกพูดถึงเสมอในฉากร้องเพลง นอร์มา จีน เคยให้สัมภาษณ์ว่า สิ่งที่ทำให้เธอมั่นใจที่สุดในการแสดงอย่างใดๆก็แล้วแต่ การร้องเพลงและการแสดงประกอบเป็นสิ่งที่เธอถนัดที่สุด ส่วนฉากที่เรียกได้ว่าทำให้มาริลีน เริ่มกลายเป็น “Sex symbol” ส่วนหนึ่งมาจากภาพยนตร์เรื่อง Niagara (1953) ต่อมาเธอได้ร้องเพลง Two Littles Girls From Little Rock, Bye Bye Baby และ When Love Goes Wrong (Nothing Goes Right) ในภาพยนตร์เรื่อง Gentleman Prefer Blondes และต่อมาเพลงที่ถูกมาดอนน่าเลียนแบบไปใน Diamonds Are A Girls’s Bestfriend และฉากที่ไม่มีใครลืมเธอเมื่อเธอร้องเพลง River Of No return กับเปียโนกับชื่อหนังเรื่องเดียวกันในปี 1954 และผลงานนอกจอคือการที่เธอไปร้องเพลง Happy Birthday To You ให้กับประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคเนดี ที่เมดิสันสแควร์ การ์เด็น เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2505(ค.ศ. 1962) ท่ามกลางความตกตะลึงของผู้คน
อย่างไรก็ตามผ่านไป 50 กว่าปีแล้ว การจากไปของเธอก็ยังคงเป็นปริศนาที่ FBI ไม่ยอมให้การเปิดเผยข้อมูลจวบจนปัจจุบัน
TEXT : Porsche Kittisak Kandisakunanont