งาช้าง แกะสลัก หรือ งาช้างจำหลัก ปัจจุบันแทบหาไม่มีอีกแล้ว เพราะงาช้างเป็นของต้องห้าม ไม่สามารถนำมาแกะสลักได้ดังแต่ก่อน จะมีบ้างเมื่อชาวบ้านได้งาช้าง จากช้างที่ล้ม หรือ ตาย ซึ่งจะนำมาแกะสลักเป็นพระ หรือเครื่องรางของขลังเล็กๆ
งา เป็นฟันหน้า ซึ่งงอกออกจากปากช้าง มีลักษณะกลม ยาว งอน สีค่อนข้างขาว คนไทยเรียก งาที่มีลักษณะใหญ่ว่า งาปลี และงาที่มีลักษณะยาวว่า งาเครือ งาช้างขนาดใหญ่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 เซนติเมตร งาช้างนับว่าเป็นสิ่งมีค่า คนจึงนำไปตกแต่งอาคารบ้านเรือน เพื่อเสริมฐานะ และเกียรติ
สร้อยงาช้างสามเศรียร
งาช้างมีเนื้อไม่แข็งมากนัก จึงนิยมนำมาแกะสลักเป็นสิ่งต่างๆ งาช้างที่มีขนาดใหญ่มักถูกเก็บรักษาไว้ในสภาพเดิม ให้มีความเงางาม ตั้งไว้บนฐาน ส่วนงาที่มีขนาดเล็ก หรือมีตำหนิ มักนำมาแกะสลัก เป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องประดับ ตลอดจนเครื่องราง ของขลังต่างๆ เช่น นางกวัก พระพุทธรูป เป็นต้น
งาที่นำมาแกะเป็นเครื่องรางของขลัง และพระพุทธรูป มักนำไปปลุกเสกก่อนนำไปใช้ เพื่อความเป็นสิริมงคล ตามความเชื่อทางไสยศาสตร์ งาที่ใช้สำหรับแกะสลักพระพุทธรูปมักใช้ปลายงาที่ต้น ซึ่งใช้แกะเป็นพระพุทธรูปได้ดี
พระพุทธรูปงาช้าง
พระพิฆเนตรปลายงาปางลีลา
พระพิฆเนตรปลายงา
งาช้างโขลง
ชาวจีนนิยมนำงาช้างมาทำตะเกียบ เพราะนอกจากสวยงามแล้ว ตะเกียบงายังป้องกันการใส่ยาพิษในอาหารได้ด้วย โดยจะทำปฎิกิริยากับอาหารที่มีพิษเท่านั้น ชาวไทยนิยมนำงามาแกะสลัก ฉลุเป็นลวดลาย ตกแต่งสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ เช่น นำมาประดับตกแต่งเป็นเครื่องดนตรี , ทำด้ามอาวุธ ด้ามมีด กริช เป็นต้น การแกะงาแบบชาวบ้านไม่วิจิตรพิสดารเหมือนงาที่แกะสลักโดยช่างหลวงสมัยก่อน เครื่องมือที่ใช้แกะ เป็นเครื่องมือพื้นบ้านทั่วไป เช่น สิ่ว เลื่อย ตะไบ เครื่องเจาะ เป็นต้น
ปัจจุบันช่างแกะสลักงาช้างในไทยยังพอมีอยู่บ้าง เมื่อช้างตายลง เจ้าของจึงตัดงาขาย ส่วนการฆ่าช้างเอางาช้างดังแต่ก่อน คงไม่มีอีกแล้ว งาช้างจึงหาได้ยาก และมีราคาแพงยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ช่างแกะงาที่มีอาชีพนี้มาแต่โบราณอาจจะต้องไปประกอบอาชีพอื่น ช่างแกะงาที่พยุหะคีรี เป็นเพียงชาวไร่ ชาวนา ที่ใช้เวลาว่างจากการงานในไร่นา เพื่อเป็นรายได้พิเศษเท่านั้น แต่ในวันนี้ได้ค้นพบงาช้างแกะสลักที่มีความประณีต วิจิตรบรรจงของลวดลายแกะ และเนื้องา เจ้าของคือ คุณชาติชาย กุณฑล จากร้านหินสี งานแกะสลักเป็นช่างที่มีความชำนาญเชื่อใจกันได้เป็นกลุ่มช่างแกะงาจากจังหวัดสุรินทร์และมีประสบการณ์ มากกว่า 10 ปี งานแกะทีชำนาญ ก็จะเป็นกลุ่ม เครื่องราง รูปเคารพ ต่างๆ เช่น พระปางประจำวัน, ช้างสามเศียน, พระพิฆเนตรปรางต่างๆ, พระยานาคและเกจิอาจารย์ และ รูปเคารพของจีน พระสังกัจจายน์, ฮก-ลก-ซิ่ว, มังกร และ
กวนอู เป็นต้น
แหวนงาแกะดอกกุหลาบ
ปลัดมังกร
การแกะลายขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด และ ขนาดของงาที่มีอยู่ และช่างก็จะชำนาญงานแกะที่ตัวเองแกะประจำ แรงบันดาลใจอะไรที่ถ่ายทอดลงสู่งานแต่ละชิ้น ไม่ว่าจะเป็นพระหรือแหวนก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้ถามสงสัยคือ ทำไมพระพิฆเนตรต้องแกะสลักอยู่ที่ปลายงา?….คำตอบที่ได้คือสัญลักษณ์ที่สำคัญขององค์พระพิฆเนตร ก็คือปลายงาที่หักไป จึงนิยมแกะองค์พระพิฆเนตรที่ปลายงาหลายรูปแบบ
การแกะสลักงาช้างหัตถกรรมที่มีมาเนิ่นนานมีทั้งงานประณีตศิลป์ และ หัตถกรรมชาวบ้าน ที่อาจจะสูญหายไปตามกาลเวลา เช่นเดียวกับ งานฝีมือของคนไทยที่เคยมีมาในอดีต และสูญสลายไปแล้ว
คุณชาติชายกล่าวทิ้งท้ายว่า “การที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับงาช้างนี้อิงอาศัยความชอบส่วนตัวครับ หลายชิ้นงาน เห็นของเก่าที่ช่างสมัยโบราณทำเอาไว้ เราก็อยากมีไว้ก็ทำขึ้นมาไหม่ครับ”
หากท่านใดสนใจในงานแกะสลักงาช้างฝีมือดี คุณภาพเยี่ยม สามารถติดต่อได้ที่
คุณชาติชาย โทร : 081-620-0562
หรือที่ http://www.hinsee.com
เรียบเรียง : Porsche Kittisak K