ริค สโมแลน ผู้สร้างสรรค์ชุดภาพถ่าย ‘Day in the Life’ อันโด่งดัง เปิดตัวโครงการมัลติแพลตฟอร์ม ‘The Human Face of Big Data’ ระดมทรัพยากรจากทั่วโลก
นำเสนอแอพบนสมาร์ทโฟน, กิจกรรม “Mission Control” ในนิวยอร์ก ลอนดอน และสิงคโปร์, กิจกรรมสำหรับเยาวชนทั่วโลก, หนังสือภาพที่สวยงาม, ความเรียง และกราฟิกให้ข้อมูล, สารคดี ในปี 2556
แมวน้ำติดตั้งเสาอากาศไว้ที่ศีรษะเพื่อออกสำรวจมหาสมุทร ดาวเทียมถูกใช้ในการบอกพิกัดตำแหน่งของยุง ระบบ SMS ช่วยป้องกันการลักลอบขายยาผิดกฎหมายในกาน่า สมาร์ทโฟนที่สามารถทำนายได้ว่าคุณกำลังจะรู้สึกหดหู่ บัตรเครดิตที่รู้ล่วงหน้าสองปีว่าชีวิตคู่ของคุณจะต้องลงเอยด้วยการหย่าร้าง เม็ดยาที่ส่งข้อมูลออกมาจากร่างกายของคุณโดยตรงให้แก่แพทย์ที่ทำการรักษา
เรื่องราวทั้งหมดนี้ รวมถึงเรื่องราวอื่นๆ กำลังถูกบอกเล่าผ่าน “The Human Face of Big Data” ซึ่งเป็นโครงการที่ระดมความคิดและทรัพยากรจากผู้คนทั่วโลก ดำเนินการโดย ริค สโมแลน (Rick Smolan) ผู้สร้างสรรค์ชุดภาพถ่าย “Day in the Life” โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากอีเอ็มซี (NYSE:EMC) โดยอ้างอิงสมมติฐานที่ว่า การแสดงผลแบบเรียลไทม์สำหรับข้อมูลที่รวบรวมจากดาวเทียม เซ็นเซอร์หลายพันล้านตัว แท็ก RFID รวมถึงกล้องและสมาร์ทโฟนที่รองรับ GPS ทั่วโลก จะช่วยให้มนุษย์เราสามารถสัมผัส ตรวจวัด เข้าใจ และส่งผลกระทบต่อตัวตนของเราในลักษณะที่เกินขอบเขตจินตนาการของบรรพบุรุษในอดีตของเรา
โครงการที่ครอบคลุมหลากหลายแง่มุมนี้จะเริ่มดำเนินการในวันที่ 25 กันยายน พร้อมด้วยกิจกรรม 8 วัน ภายใต้ชื่อ “Measure Our World” โดยจะชักชวนผู้คนจากทั่วโลกให้ร่วมกันแลกเปลี่ยนข้อมูลและเปรียบเทียบชีวิตของแต่ละคนในแบบเรียลไทม์ ผ่านทางแอพที่แปลกใหม่บนสมาร์ทโฟน นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวยังประกอบด้วยกิจกรรม “Mission Control” ซึ่งจะจัดขึ้นที่นิวยอร์ก สิงคโปร์ และลอนดอน และจะมีการดำเนินโครงการ “Data Detectives” สำหรับเยาวชนทั่วโลกภายใต้ความร่วมมือกับองค์กร TED นอกจากนี้ จะมีการจัดทำสมุดภาพถ่ายขนาดใหญ่ที่รวบรวมภาพถ่ายกว่า 200 ภาพ ความเรียงจากนักเขียนชื่อดัง และภาพกราฟิกที่แสดงข้อมูล ทั้งยังมีการจัดทำแอพบน iPad และสารคดีอีกด้วย
ริค สโมแลน ผู้สร้างชุดภาพถ่าย “Day in the Life” อันโด่งดัง รวมถึงโครงการอื่นๆ จาก Against All Odds Productions
“เป้าหมายของผมสำหรับโครงการนี้คือ เพื่อจุดประกายให้มีการพูดคุยแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวางทั่วโลกเกี่ยวกับประเด็นเรื่องบิ๊กดาต้า รวมถึงศักยภาพของบิ๊กดาต้าหากมีการใช้งานอย่างชาญฉลาด และอันตรายที่จะเกิดขึ้นหากเราไม่ระมัดระวังให้มากพอ บิ๊กดาต้าก่อให้เกิดวิวัฒนาการทางด้านความรู้ที่สำคัญ ซึ่งเราแทบจะมองไม่เห็น โดยครอบคลุมทั้งในส่วนของธุรกิจ สถานศึกษา รัฐบาล การแพทย์ และชีวิตประจำวัน และนอกจากนี้ เช่นเดียวกับเครื่องมือใหม่ทั้งหมด บิ๊กดาต้าอาจก่อให้เกิดผลกระทบที่เราไม่คาดคิด แต่ถ้าเราใช้งานอย่างฉลาดและรอบคอบ ในอนาคตอันใกล้ชุดเทคโนโลยีใหม่นี้อาจส่งผลกระทบต่อมนุษยชาติได้มากเท่ากับภาษาและศิลปะเลยทีเดียว”
เจเรมี่ เบอร์ตัน รองประธานบริหารฝ่ายปฏิบัติการผลิตภัณฑ์และการตลาดของอีเอ็มซี
“บิ๊กดาต้าเริ่มต้นในห้องแล็บคอมพิวเตอร์ ด้วยนักวิทยาศาสตร์ระดับชั้นนำเพียงไม่กี่คน แต่ในไม่ช้า ทุกๆ คน ไม่ว่าเด็ก ผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุ จะได้รับผลกระทบอย่างกว้างขวางจากบิ๊กดาต้า ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับวิถีชีวิต การเมืองการปกครอง การทำงาน และความบันเทิง The Human Face of Big Data คือความพยายามครั้งสำคัญในการศึกษาและอธิบายเกี่ยวกับผลกระทบทางสังคมของบิ๊กดาต้า และผมมั่นใจว่าโครงการนี้จะก่อให้เกิดผลดีในระยะยาว”
องค์ประกอบของโครงการ: The Human Face of Big Data มีดังนี้
ภาพถ่ายที่บันทึกการทำงานของบิ๊กดาต้า
ในเดือนมีนาคม 2555 ริค สโมแลน และเจนนิเฟอร์ เออร์วิท มอบหมายให้ช่างภาพ บรรณาธิการ และนักเขียนกว่า 100 คนเดินทางไปยังทั่วทุกมุมโลก เพื่อสำรวจโลกของบิ๊กดาต้า และตรวจสอบว่าจริงหรือไม่ที่คนกล่าวกันว่าบิ๊กดาต้าคือชุดเครื่องมือใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนสำหรับมวลมนุษยชาติ โดยจะช่วยให้เราแก้ไขปัญหาท้าทายสำคัญๆ ที่เราต้องเผชิญกันอยู่ในปัจจุบัน
แอพบนสมาร์ทโฟน
ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน ถึง 2 ตุลาคม ผู้คนทั่วโลกจะได้รับเชิญให้เข้าร่วม “การตรวจวัดโลกของเรา” ผ่านทางแอพ The Human Face of Big Data (ดาวน์โหลดและติดตั้งได้ฟรีสำหรับ iOS และ Android มีให้เลือก 5 ภาษา) แอพดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ใช้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ โดยใช้เซ็นเซอร์ที่มีอยู่ในโทรศัพท์ และเปรียบเทียบคำตอบของตนเองกับคนอื่นๆ ทั่วโลกสำหรับคำถามที่จุดประกายความคิด ผู้เข้าร่วมจะสามารถสร้างแผนผังเส้นทางชีวิตในแต่ละวัน แชร์เรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งของและการกระทำที่นำโชคดีมาสู่ชีวิต ตรวจสอบสิ่งพิเศษที่คนอื่นๆ อยากจะสัมผัสในช่วงชีวิต และค้นพบความลับที่ซ่อนอยู่เกี่ยวกับโลกของแต่ละคน นอกจากนี้ ผู้ร่วมกิจกรรมจะสามารถค้นหา “เงาข้อมูลที่คอยติดตามตัวเรา” ได้
ประสบการณ์ “Mission Control”
ในวันที่ 2 ตุลาคม ตัวแทนจากองค์กรสื่อจะได้รับเชิญให้เข้าร่วมกิจกรรม Mission Control ซึ่งจะจัดขึ้นที่นิวยอร์กซิตี้ ลอนดอน และสิงคโปร์ โดยข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะถูกวิเคราะห์ แสดงผล และตีความ ผู้เชี่ยวชาญและผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมในด้านบิ๊กดาต้าจะนำเสนอตัวอย่างผลงานใน “Big Data Lab” แบบอินเทอร์แอคทีฟ และจะมีการถ่ายทอดสดผ่านเว็บคาสต์เพื่อให้ผู้คนทั่วโลกได้รับชมกิจกรรมต่างๆ
“Big Data Detectives” ภายใต้ความร่วมมือกับ TEDYouth กระตุ้นการมีส่วนร่วมของเยาวชน
ในวันที่ 8 พฤศจิกายน เด็กนักเรียนชั้นประถมและมัธยมจากทั่วโลก พร้อมด้วยอาจารย์ จะเข้าร่วมกิจกรรมเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อประเมิน วิเคราะห์ และเชื่อมโยงโลกของแต่ละคนเข้าด้วยกันภายใต้โครงการ Data Detectives กิจกรรมเหล่านี้จะเชื่อมโยงเยาวชนหลายพันคนเข้าด้วยกัน และเปิดโอกาสให้เยาวชนได้เปรียบเทียบความคิดเห็น แนวคิด ความกังวลใจ และความเชื่อ ผ่านการแสดงผลข้อมูลและภาพกราฟิกที่น่าสนใจ
หนังสือภาพประกอบขนาดใหญ่ The Human Face of Big Data
ในวันที่ 20 พฤศจิกายน จะมีการเปิดตัวหนังสือ The Human Face of Big Data และในวันเดียวกันจะมีการจัดส่งหนังสือให้แก่บุคคลที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในโลก 10,000 คน รวมถึงผู้นำประเทศต่างๆ ซีอีโอของบริษัทชั้นนำระดับโลกที่ติดอันดับ Fortune 500 และผู้รับรางวัลโนเบลในกว่า 30 ประเทศทั่วโลก หนังสือดังกล่าวประกอบด้วยภาพถ่ายที่สวยงามกว่า 200 ภาพ พร้อมความเรียงที่น่าสนใจจากนักเขียนที่มีชื่อเสียง และภาพอินโฟกราฟิกที่ยอดเยี่ยมจากดีไซเนอร์ชื่อดังอย่างไนเจล โฮมส์ นอกจากนี้ หนังสือดังกล่าวจะวางจำหน่ายทางออนไลน์และร้านขายหนังสือชั้นนำ
สารคดี
ในปี 2556 จะมีการเผยแพร่สารคดี The Human Face of Big Data
เกี่ยวกับ The Human Face of Big Data
โครงการ The Human Face of Big Data ดำเนินการโดยกลุ่มบรรณาธิการที่เป็นอิสระ และเกิดขึ้นได้ด้วยการสนับสนุนเป็นอย่างดีจาก อีเอ็มซี คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นสปอนเซอร์หลัก นอกจากนี้ยังมีผู้สนับสนุนเพิ่มเติม ได้แก่ ซิสโก้, วีเอ็มแวร์, ทาโบล และออริจิเนต
The Human Face of Big Data เป็นโครงการสื่อที่ระดมทรัพยากรจากทั่วโลก โดยมุ่งเน้นความสามารถใหม่ในการรวบรวม วิเคราะห์ เชื่อมโยง และแสดงผลข้อมูลจำนวนมหาศาลในแบบเรียลไทม์ โครงการนี้ประกอบด้วยโมบายล์แอพที่ใช้งานได้ฟรี, กิจกรรมนำเสนอข้อมูล Mission Control, กิจกรรมสำหรับเยาวชนภายใต้ชื่อ Data Detectives, หนังสือขนาดใหญ่ที่มีภาพถ่ายกว่า 200 ภาพ พร้อมด้วยความเรียงและภาพกราฟิกที่แสดงข้อมูล, แอพสำหรับ iPad และสารคดี
The Human Face of Big Data จัดทำโดย ริค สโมแลน และเจนนิเฟอร์ เออร์วิท ผู้ร่วมก่อตั้ง Against All Odds Productions ซึ่งเชี่ยวชาญในเรื่องการออกแบบและดำเนินโครงการขนาดใหญ่ที่มีการระดมทรัพยากรจากทั่วโลก โดยผสานรวมการบอกเล่าเรื่องราวเข้ากับเทคโนโลยีที่ทันสมัย ในการดำเนินโครงการเหล่านี้ สโมแลน และเออร์วิท ได้เรียนเชิญสื่อมวลชนและช่างภาพที่มีชื่อเสียง (รวมถึงประชาชนทั่วไป) ให้ร่วมกันระดมความคิดเกี่ยวกับหัวข้อใหม่ๆ เช่น ภาวะโลกร้อน ผลกระทบของอินเทอร์เน็ตที่มีต่ออารยธรรมของมนุษย์ หรือมนุษย์เราเรียนรู้ที่จะเยียวยารักษาตนเองในลักษณะใด โครงการเหล่านี้นำไปสู่การจัดทำหนังสือภาพประกอบที่ติดอันดับขายดีที่สุด รวมถึงรายการพิเศษทางโทรทัศน์ โปรแกรมต่างๆ นิทรรศการ และสื่อสิ่งพิมพ์หลายร้อยล้านชุด นิตยสารฟอร์จูน (Fortune) ได้กล่าวถึง Against All Odds Productions ว่าเป็น “หนึ่งในบริษัทที่ยอดเยี่ยมที่สุดในอเมริกา”
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : HumanFaceOfBigData.com และติดตามโครงการได้จาก Twitter @FaceOfBigData และ Facebook
ข้อมูลเกี่ยวกับอีเอ็มซี
อีเอ็มซี คอร์ปอเรชั่น (NYSE: EMC) เป็นผู้นำระดับโลกในด้านการพัฒนาและจัดหาโซลูชั่นและเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งช่วยให้องค์กรทุกขนาดปรับปรุงขีดความสามารถในการแข่งขันและใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าจากข้อมูลที่มีอยู่ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการของอีเอ็มซี คลิกไปที่ www.thailand.emc.com